กลุ่มธุรกิจ พลังงานดิจิทัล (Digital Power) บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด แบรนด์ผู้นำด้านการผลิตโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดตั้งสถาบันการศึกษาพลังงานสีเขียว (Green Energy Academy) แห่งแรกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังความรู้ความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานดิจิทัลและพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์แก่เยาวชน เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงานและส่งเสริมความยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย
นายโลแกน ยู กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจ พลังงานดิจิทัล บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ ผศ. ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) เพื่อจัดตั้งสถาบันการศึกษาพลังงานสีเขียวในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นความร่วมมือระยะยาวระหว่าง บริษัท หัวเว่ย และ มจธ. และเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ยุคความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)
ภายใต้ความร่วมมือนี้ ทั้งสองฝ่ายจะให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาอุปกรณ์การเรียนการสอนและบทเรียนทั้งหมด 3 ระดับ โดยจะนำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ไปจนถึงความรู้ด้านการติดตั้งและการออกแบบโซลาร์รูฟท็อปในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรม เช่น โซลาร์ฟาร์ม และโซลาร์ลอยน้ำ เป็นต้น โดยการจัดตั้งสถาบันการศึกษาพลังงานสีเขียวแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปูเส้นทางสายอาชีพในอนาคตให้แก่นักศึกษา และพัฒนาบุคคลากรจากผู้สำเร็จการศึกษามาเป็นหัวหน้าด้านเทคนิคที่มีประสบการณ์
"หัวเว่ย ดิจิทัล เพาเวอร์ มุ่งมั่นที่จะผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและสร้างอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบัน โซลูชันของเราได้ถูกติดตั้งอยู่บนโซลาร์รูฟท็อปและโซลาร์ฟาร์มรวมกว่า 2.4 จิกะวัตต์ (GW) และยังมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศไทยกว่า 6.72 ล้านตัน ด้วยประสบการณ์และนวัตกรรมที่เรามี เราหวังที่จะมอบความรู้และโซลูชัน FusionSolar Smart PV เพื่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างเทคโนโลยีไอซีทีและสถาบันการศึกษา โดยหัวเว่ยและ มจธ. ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาบุคคลากรที่มีความสามารถผ่านโครงการนี้ เพื่อตอบสนองเทรนด์พลังงานสะอาดและความต้องการของบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพนี้ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะนำความอัจฉริยะเข้าสู่ทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กรมาโดยตลอด เพื่อสร้างประเทศไทยในยุคดิจิทัลที่ชาญฉลาด ยั่งยืน ทและเชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ" นายโลแกน ยู กล่าว
ผศ.ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ กล่าวเพิ่มเติม "เราหวังอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกันครั้งนี้จะนำมาซึ่งบทเรียนเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ครอบคลุม โดยจะเปิดสอนแก่นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปที่มีความรู้เทียบเท่าระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ในชั้นปีที่ 3 รวมทั้งมอบประสบการณ์ตรงให้กับผู้เข้าเรียนผ่านห้องเรียนพลังงานสีเขียวแห่งแรกในประเทศไทยที่มาพร้อมกับโซลูชัน FusionSolar Smart PV รุ่นล่าสุดจากหัวเว่ย นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาพลังงานสีเขียวยังพร้อมมอบโอกาสการฝึกงานภายใต้แผนก พลังงานดิจิทัล บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษากว่า 200 ท่าน ในอีก 3 ปีข้างหน้า และช่วยพัฒนาบุลคลากรที่มีความสามารถให้แก่ประเทศไทยที่กำลังมุ่งสู่ยุคปลอดคาร์บอนในอนาคต"
หัวเว่ยและ มจธ. หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ด้านพลังงานสีเขียวแก่นักเรียนให้มากที่สุดก่อนจะก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน และมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการนี้ต่อไปตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัล ของ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ช่วยนำทางประเทศไทยเข้าสู่ระบบพลังงานยุคอนาคตที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งความบริสุทธิ์ ใช้งานได้ง่ายกว่า และประหยัดต้นทุนยิ่งกว่าเดิม
สอวช. ร่วมกับ มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 7 มุ่งผลิตนักออกแบบนโยบายตอบโจทย์ประเทศ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง หนุนสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นได้จริง ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 7 (STI Policy Design: STIP07)
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
ไดกิ้นเดินหน้าพัฒนา "ห้องเรียนปลอดฝุ่น" ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้คุณภาพอากาศภายในอาคาร ระดับภาคเหนือ ยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพของเด็กเล็ก
—
ไดกิ้นจับมื...
สวทช. จับมือ มจธ. เปิดรับสมัคร SMEs เพื่อยกระดับเทคโนโลยี พัฒนาโรงงาน และปรับปรุงการผลิตใน 4 จังหวัดภาคกลาง
—
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ...
65 ปี มจธ. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Lifelong Learning University) ตลอดชีวิตเต็มรูปแบบ
—
ในวาระครบรอบ 65 ปี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า...
TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้งที่ 15
—
TCI จัดยิ่งใหญ่ ประชุมวิชาการเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทยครั้...
จีเอเบิล ร่วมผลักดันเยาวชนไทย คว้าชัยบนเวที PDPA Hackathon 2024
—
จีเอเบิล เดินหน้าสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันศักยภาพเยาวชนไทย สู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี...
ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คว้าแชมป์รับถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี ในงาน PDPA Hackathon 2024 สคส. พร้อมต้อนรับร่วมองค์กรในอนาคต
—
มหาวิทยาลัย...
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
—
ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที...
ทีมมิตรภาพแห่งม้าโพนี่ จาก มจธ. ดึงกลุ่มสตาร์แห่งวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เป็นเครือข่ายสื่อสารพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่
—
ทีมมิตรภาพแห่งม้าโพนี่ จากมหาวิทยาลั...