ศูนย์จุลินทรีย์
(Biobank) เก็บรวบรวมสายพันธุ์จุลินทรีย์ 10,000 สายพันธุ์ ให้บริการการจำแนกสายพันธุ์จุลินทรีย์ และตรวจสอบ/ควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ผ่านการดำเนินงาน โดย ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม : ICPIM 2 มีภารกิจให้บริการโรงงานต้นแบบผลิตสารชีวภัณฑ์และห้องปฏิบัติการด้านสารชีวภัณฑ์บริการผลิตชีวภัณฑ์ มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์สายพันธุ์ใหม่ วิจัยและพัฒนารูปแบบชีวภัณฑ์ สนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ พัฒนาบุคลากรรองรับงานวิจัยและอุตสาหกรรมชีวภาพศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานตาม OECD GLP GUIDLINE ในการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบความเป็นพิษของจุลินทรีย์จุดเด่นของสารชีวภัณฑ์ที่ วว. ผลิต 1.ผ่านการวิจัยและพัฒนาในเรื่องของประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช2.มีการทดสอบความเป็นพิษในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตามหลัก OECD GLP GUILDLINE 3.ผ่านการผลิตในโรงงานด้วยเครื่องจักรระดับกึ่งอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน กระบวนการผลิตสะอาด ปราศจากเชื้ออื่นปนเปื้อนนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานด้านชีวภัณฑ์ โดยมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา รับน้องๆในระดับอุดมศึกษามาเรียนรู้ ฝึกงาน รวมถึงทำวิจัยในด้านต่างๆ ของการพัฒนางานด้านชีวภัณฑ์ ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการ โรงงาน และภาคสนาม เพื่อเป็นแรงงานรองรับการพัฒนาของอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพต่อไปในอนาคตจากการที่ วว. นำสารชีวภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์ ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานจำนวน 33.3418 ล้านบาท ดังนี้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานพื้นที่ "กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด" รวมจำนวน 1.3 ล้านลิตร เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีทางการเกษตร ลดสารพิษตกค้าง เพิ่มความปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสารชีวภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และอยุธยา ครอบคลุม 4 กลุ่มพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ผล พืชไร่ (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง) พืชสมุนไพรและพืชผัก รวมทั้งได้พัฒนากระบวนการขยายชีวภัณฑ์ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อขยายสู่การผลิตเชิงพาณิชย์และระดับชุมชนนอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมดำเนิน โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใน "โครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตก ด้วย BCG โมเดล" ของปีงบประมาณ 2564 จากการดำเนินงานส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้ มีเกษตรกรกว่า 200 ราย นำเทคโนโลยีไปใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการพัฒนาปัจจัยการผลิตหมุนเวียนสำหรับเกษตรกรแปลงใหญ่เพิ่มขึ้นได้ 5 ปัจจัยการผลิต จำนวน 6 เทคโนโลยี ดังนี้ เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก เทคโนโลยีการผลิตข้าวเสริมซีลีเนียม เทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุเพาะเห็ด (ฟางข้าวเสริมซีลีเนียม กากมันสำปะหลัง) เทคโนโลยีเพิ่มคุณภาพผลผลิตอ้อยด้วยปุ๋ยอินทรีย์เคมีเสริมจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต เทคโนโลยีเพิ่มคุณภาพและเพิ่มผลผลิตพืซด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต (มันสำปะหลัง กล้วย) และเทคโนโลยีขยายชีวภัณฑ์ในถังชุมชนโมเดล วว.สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร โดยมีเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และบริษัท รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต functional food และบรรจุภัณฑ์มีผู้ประกอบการร่วมลงทุนด้าน R&D ภายใต้ BCG Modelเกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์ functional food และเวชสำอาง จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ต้นแบบ "...จากการดำเนินงานของ วว. พบว่าประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของการใช้สารชีวภัณฑ์ซึ่งมีต่อภาคเกษตรกรรม คือ เป็นการยกระดับผลิตผลทางการเกษตรในการรองรับนโยบายของรัฐบาล มุ่งสู่ระบบการผลิตพืชปลอดภัย และระบบการผลิตพืชอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตร ลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ลดการตกค้างของสารเคมีในพืชผลการเกษตร ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ต่อสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรไทย..." ศ.(วิจัย)ดร.ชุติมา เอี่ยวโชติชวลิต กล่าวสรุปสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ "สารชีวภัณฑ์" หรือขอรับบริการจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. (ติดต่อ ICPIM 2) ได้ที่ โทร. 0 2577 9016, 02-577 9021 โทรสาร 0 2577 9009 E-mail : [email protected]
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit