จะต้องมีทั้งความรู้และทักษะฝีมือ และเป็นอาชีพที่น่าสนใจ เพราะรายได้สูง นอกจากนี้ในประเทศไทยเองกลุ่มสมาคมที่เกี่ยวข้องด้านมวยไทย ให้ความสำคัญและต้องการรักษามาตรฐานมวยไทยด้วย จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเดินหน้าทำมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย เพื่อใช้เป็นหลักฐานการันตี ในการประกอบอาชีพ และผลักดันให้เกิดการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อรักษาเอกลักษณ์มวยไทยให้มีมาตรฐาน จึงจำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติที่จำเป็นของผู้ฝึกสอนมวยไทย โดยมีผู้ประกอบอาชีพ และผู้เกี่ยวข้องกับมวยไทย มาร่วมเป็นคณะทำงานกำหนดมาตรฐานดังกล่าว
นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงแรงงานทำงานแบบบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มาตรฐานฝีมือแรงงาน ผู้ฝึกสอนมวยไทยมีมาตรฐานจริง ๆ เรามุ่งมั่นให้ความสำคัญกับมาตรฐานผู้ฝึกสอนมวยไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น ครูฝึกสอนมวยไทย ที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงาน ถือได้ว่ามีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้มวยไทย เป็น Soft Power สู่เวทีโลก และพัฒนามวยไทยให้สามารถสร้างรายได้ให้กับคนไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่อไป
นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเสริมว่า การจัดทำประชาพิจารณ์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ร่างการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน และร่างคุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบ สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นที่ยอมรับและมีความน่าเชื่อถือ ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ความเห็นชอบและประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยในวันนี้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบไปด้วย คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ อาทิ นายสมพร ใช้บางยาง ประธานอนุกรรมการ นายเกียรติ จันทร์ชุม รองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ผศ จินตนา เทียมทิพร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง สถานประกอบกิจการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน ณ โรงแรม เดอะ พาลาสโซ กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆ ในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงาน เช่น กำหนดระดับความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ทัศนคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ต่ออาชีพ เป็นต้น และได้ร่างคุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบ สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย ระดับ 1 เบื้องต้นคือ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี มีประสบการณ์การทำงาน การปฏิบัติงาน หรือประกอบอาชีพเกี่ยวกับการฝึกสอนมวยไทย ไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยมีใบรับรองการทำงานหรือประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการหรือสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือฝึกอบรมในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสอนมวยไทย ไม่น้อยกว่า 72 ชั่วโมง โดยได้รับใบรับรองหรือวุฒิบัตรการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่จัดฝึกอบรมหรือหน่วยงานการศึกษาหรือสมาคมวิชาชีพ หรือ จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย ซึ่งคาดว่ามาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย จะแล้วเสร็จภายในเดือน ตุลาคม 2565
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit