คุณหมอผิวหนังแนะ วิธีรับมือกับ "สิวฮอร์โมน"

07 Feb 2022

คุณหมอผิวหนังแนะ วิธีรับมือกับ "สิวฮอร์โมน"

คุณหมอผิวหนังแนะ วิธีรับมือกับ "สิวฮอร์โมน"

"สิวฮอร์โมน" มีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้นเกิดขึ้นได้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ในช่วงวัยหนุ่มสาว ระหว่างตั้งครรภ์ ขณะมีประจำเดือน หรือช่วงวัยทอง การมีสิวฮอร์โมนในช่วงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติ

โดยในช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยรุ่นนั้น มักก่อให้เกิดสิวในช่วงทีโซน (T-Zone) ได้แก่ บริเวณหน้าผาก จมูก และคาง ส่วนในวัยผู้ใหญ่มักพบสิวฮอร์โมนบริเวณใบหน้าส่วนล่าง เช่น แก้ม คาง และแนวสันกราม นอกจากนี้ บริเวณอื่นๆ ก็อาจมีสิวฮอร์โมนขึ้นได้เช่นกัน เช่น ตามลำคอ แผ่นหลัง ไหล่ หน้าอก โดยสิวที่เกิดขึ้นอาจอยู่ในรูปสิวอักเสบ สิวหัวดำ สิวหัวขาว หรือสิวผดเล็กๆ ก็ได้

สิวฮอร์โมน เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและรับมือให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นหนุ่มสาว เพราะถ้าหากเป็นสิวฮอร์โมนแล้วปล่อยให้ลุกลาม ผลเสียที่ตามมาไม่ใช่แค่เรื่องบุคลิกภาพที่ดูไม่ดี แต่ยังทำลายความมั่นใจส่งผลต่อโอกาสในการพัฒนาตัวเองด้านต่างๆ อีกด้วย

ดังนั้นการใส่ใจดูแลผิวหน้าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยหากเป็นสิวฮอร์โมนแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้ * ล้างหน้าให้สะอาดด้วยสบู่หรือโฟมล้างหน้าที่อ่อนโยนและมีคุณสมบัติในการรักษาสิววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

  • ระหว่างที่เป็นสิว ให้เลี่ยงการขัดหน้าหรือใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าแบบสครับ เพราะจะเพิ่มการเสียดสีทำให้เกิดการระคายเคือง ทำให้สิวเห่อ หายยากขึ้น
  • ทายารักษาสิวที่มีคุณสมบัติช่วยลดอาการอักเสบ หรืออาจทานยาที่มีส่วนช่วยปรับระดับฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ ยาในกลุ่มวิตามินเอ หรือยาแก้อักเสบช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว จะช่วยบรรเทาให้สิวยุบลงได้ การใช้ยาหรือเวชสำอาง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • ใช้เลเซอร์รักษาสิว หรือทำทรีทเมนท์รักษาสิว ตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อลดอาการหน้ามัน ลดการอักเสบลดรอยดำรอยแดงจากสิวให้จางหายไป
  • ออกกำลังกายเป็นประจำควบคุมน้ำหนักและสัดส่วนให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมนให้เข้าสู่ภาวะปกติ
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดฝุ่นควัน ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ งดทานอาหารรสจัด อาหารหมักดอง อาหารหวาน ของมันของทอดไขมันสูง เพราะจะกระตุ้นการเกิดสิวและทำให้สิวเห่อได้ง่าย
  • หันมาทานผักและผลไม้สดๆ อาหารที่มีกากใย มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวไรซ์เบอรี่ งาดำดื่มเปล่าน้ำวันละ 2-3 ลิตร เพื่อช่วยเรื่องการขับถ่ายชะล้างของเสียที่ตกค้างภายในร่างกาย ทั้งยังช่วยยับยั้งและลดความรุนแรงของสิวอักเสบ
  • ไม่เครียดเกินไป นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน เพราะความเครียดและการอดนอน นอกจากจะเป็นการกระตุ้นต่อมไขมันทำให้สิวแย่ลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ ทำให้สิวและรอยสิวหายช้าลง

** แม้จะดูแลผิวอย่างดีที่สุดแล้วหากสิวที่เป็นอยู่ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit