ถอดรหัสยานแม่ "เอสซีบี เอกซ์" ย้อนรอย 5 เดือน กับภารกิจทรานส์ฟอร์มองค์กรครั้งใหญ่ เผย 3 รูปแบบลงทุน มุ่งสร้างธุรกิจใหม่ โฟกัสเทคโนโลยีการเงินและแพลตฟอร์ม

หลังการประกาศปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 และได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ภายใต้ยุทธศาสตร์ยานแม่ "กลุ่มเอสซีบี เอกซ์" (SCBX) มีความเคลื่อนไหวที่สะท้อนแนวทางการสร้างธุรกิจเทคโนโลยีการเงินและแพลตฟอร์มออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดตัวบริษัทลูกใหม่ ๆ เช่น AISCB, SCB TechX, Alpha X เป็นต้น รวมถึงการขับเคลื่อนผ่านรูปแบบการลงทุน อาทิ การจัดตั้งกองทุนร่วมทุน หรือ Venture Capital ที่มุ่งเน้นการลงทุนใน Disruptive Technology ด้านบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีด้านการเงิน และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลก

ถอดรหัสยานแม่ "เอสซีบี เอกซ์" ย้อนรอย 5 เดือน กับภารกิจทรานส์ฟอร์มองค์กรครั้งใหญ่ เผย 3 รูปแบบลงทุน มุ่งสร้างธุรกิจใหม่ โฟกัสเทคโนโลยีการเงินและแพลตฟอร์ม

จากยุทธศาสตร์ "ตีลังกา" สู่ "ยานแม่ SCBX" ถอดรหัสยานแม่ "เอสซีบี เอกซ์" ย้อนรอย 5 เดือน กับภารกิจทรานส์ฟอร์มองค์กรครั้งใหญ่ เผย 3 รูปแบบลงทุน มุ่งสร้างธุรกิจใหม่ โฟกัสเทคโนโลยีการเงินและแพลตฟอร์ม

ย้อนกลับไปเมื่อ 5 - 6 ปีก่อน ธนาคารไทยพาณิชย์ เริ่มกลยุทธ์ "ตีลังกา" จากมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน เกิดเป็นกระแส Digital Disruption ที่หลายบริษัทชั้นนำทั่วโลกต่างตระหนักและเร่งปรับตัวให้ทันเพื่อพาองค์กรให้อยู่รอด รวมถึงธุรกิจธนาคารที่ต้องเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เพื่อต่อกรกับผู้เล่นหน้าใหม่จากบริษัท Tech Company ทั้งในประเทศและต่างชาติ เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จนมาสู่ยุทธศาสตร์ "ยานแม่" ด้วยการจัดตั้ง "SCBX" เพื่อนำบริษัทในกลุ่มไทยพาณิชย์ ซึ่งประกอบไปด้วย ธนาคาร ไทยพาณิชย์ และบริษัทต่าง ๆ ให้มุ่งเน้นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง และตอบรับโลกแห่งอนาคต มุ่งสู่การเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงินระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยมีเป้าหมายสู่การเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านล้านบาท และฐานลูกค้ากว่า 200 ล้านคน

แตกธุรกิจใหม่ ผ่าน 3 รูปแบบลงทุน

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่วันที่ประกาศยุทธศาสตร์องค์กรครั้งสำคัญ กับการสร้าง "ยานแม่" ของกลุ่ม สิ่งที่ "SCBX" ได้ขับเคลื่อนแสวงหาโอกาสใหม่กับธุรกิจที่มีผลกำไรสูง และมีอนาคต ด้วยการลงทุนใน 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. บริษัทที่ SCBX จัดตั้งขึ้นมาเองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจการเงินส่วนบุคคลและสินเชื่อ โดยการจัดธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น Auto X เพื่อทำธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ และ Card X เพื่อดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล
  2. บริษัทใหม่หรือธุรกิจใหม่ที่เกิดจากการลงทุนของบริษัทในเครือ เช่น SCB 10X ที่จัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์ม หรือสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Robinhood แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย และ Token X ให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร
  3. SCBX ร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ เช่น AISCB บริษัทร่วมทุนกับเอไอเอส เพื่อให้บริการด้านการเงินดิจิทัล Alpha X บริษัทร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจ มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) เพื่อให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ ลีสซิ่ง และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ รองรับลูกค้ากลุ่มพรีเมียม-ลักชัวรี่ และ SCB TechX บริษัทร่วมทุนกับปับลิซีส เซเปียนท์ เพื่อให้บริการธุรกิจในรูปแบบพัฒนาระบบดิจิทัลเทคโนโลยี และธุรกิจด้านแพลตฟอร์ม เป็นต้น

ซึ่งการลงทุนทั้ง 3 รูปแบบจะโฟกัสที่เทคโนโลยีการเงิน แพลตฟอร์ม และสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นหลัก รวมถึงธุรกิจใหม่ที่มีอนาคตภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานกำกับทางการ โดยไม่ได้จำกัดตัวเองว่าจะต้องเป็นธุรกิจที่อยู่ในประเทศไทยหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น เพราะโลกแห่งเทคโนโลยีดิจิทัลในยุคนี้ทำให้มีลูกค้าเป้าหมายของกลุ่มไทยพาณิชย์กระจายอยู่ทั่วโลก"

ซึ่งแผนการขยายตัวไปยังธุรกิจใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 5 เดือนที่ผ่านมานั้น SCBX ยังทำหน้าที่เป็น "ยานแม่" ที่ดูแลการทำ Business Development และการทำ Merger an Acquisition ของกลุ่มฯ พร้อม ๆ ดำเนินการคู่ขนานไปพร้อม ๆ กับกระบวนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มไทยพาณิชย์ โดยกระบวนการถัดไป ผู้ถือหุ้นทุกรายจะสามารถทำการแลกหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นหุ้นของบริษัท SCBX ได้ และภายหลังการแลกหุ้นดังกล่าว หุ้นของบริษัท SCBX จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่จะเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน


ข่าวo:editor+o:finวันนี้

บลจ.กสิกรไทย คว้า 5 รางวัลยอดเยี่ยม Best of the Best Awards 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกองทุนของไทย

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติถึง 5 รางวัล จากงาน Best of the Best Awards 2025 ได้แก่ รางวัล Best Asset Management Company (30 Years), Best Asset Management Firm for Digital Marketing, Best Alternatives Manager, Best ESG Manager และ Best Multi-Asset Manager ทั้งนี้ รางวัลที่ บลจ.กสิกรไทย ได้รับทั้ง 5 สาขา แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ บลจ.กสิกรไทย ในการพัฒนาและนำเสนอบริการด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ รวมถึงการปรับตัว

บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกาศแป... TEGH ประกาศแปรสภาพ "TEBP" ขึ้นแท่น บ.มหาชน เดินหน้าเข้าตลาด mai เสริมทัพธุรกิจสร้างการเติบโต — บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกาศแปรสภาพบริษัทย่อย คื...

ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบ... ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 — ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 หนุนโดยการบริหารจัดการด้าน...

หลายคนที่กำลังมองหาแหล่งเงินก้อน อาจกำลัง... ตอบให้หายสงสัย รถมอเตอร์ไซค์ติดไฟแนนซ์อยู่ กู้ได้หรือเปล่า — หลายคนที่กำลังมองหาแหล่งเงินก้อน อาจกำลังสงสัยว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่ยังผ่อนอยู่กับไฟแนนซ์ สามารถ...

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประ... ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2568 จำนวน 838.1 ล้านบาท — พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็ม...