นายสุรศักดิ์ บุณยะชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคพีเอ็ม จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่าย หุ้นกู้ บริษัท ภัทรเฮ้าส์ แอนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การเสนอขายหุ้นกู้ "ภัทรเฮ้าส์" ในครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับการสนับสนุนจากผู้ลงทุนเป็นอย่างดี ส่งผลให้สามารถปิดยอดจองได้เต็มจำนวนที่วางไว้
ทั้งนี้การออกและเสนอขายหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ์ มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ มูลค่าการเสนอขายรวม ไม่เกิน 320 ล้านบาท อายุ 1 ปี 10 เดือน ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2566 อัตราดอกเบี้ย คงที่ ร้อยละ 6.35 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ มีหลักประกันเป็นโฉนดที่ดินจำนวน 8 แปลงเนื้อที่ดินรวม 18-2-68.3 ไร่ (7,468.3 ตารางวา) ราคาประเมิน 522,781,000 บาท โดยต้องดำรงอัตราส่วนมูลค่าของหลักประกันต่อหนี้เงินต้นหุ้นกู้ไม่น้อยกว่า 1.50:1 เท่า ซึ่งวัตถุประสงค์การออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อชำระคืนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนด
ทางด้าน นางสาวอรอนงค์ อินทรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม สายธุรกิจหลักทรัพย์ตราสารหนี้ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่หุ้นกู้ "ภัทรเฮ้าส์" ได้เสียงตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุนนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนต่อการบริหารธุรกิจของ บริษัท ภัทรเฮ้าส์ แอนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ในปี 2565 บล.เคพีเอ็มยังมีแผนที่จะจัดจำหน่ายและเสนอขายผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ที่หลากหลายกว่า 10 บริษัท รวมถึงการเตรียมความพร้อมที่จะขยายธุรกิจไปสู่โลกดิจิทัลเพื่อรองรับธุรกรรมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ปัจจุบัน บริษัท ภัทรเฮ้าส์ แอนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง มีลักษณะผลิตภัณฑ์ตามประเภทธุรกิจได้แก่ ธุรกิจจัดสรรบ้านและที่ดิน, ธุรกิจอาคารชุดพักอาศัยรวมถึง ธุรกิจจัดสรรอาคารประเภทพาณิชยกรรมและที่ดิน สำหรับการเสนอขายและออกหุ้นกู้ "ภัทรเฮ้าส์" ในครั้งนี้มี บริษัทหลักทรัพย์ เคพีเอ็ม จำกัด เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นนายทะเบียนหุ้นกู้
กลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เข้มข้นขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวาระที่สอง ประกาศใช้มาตรการภาษีแบบตอบโต้ (reciprocal tariffs) โดยตั้งเป้าเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสูงสุดถึง 130% ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1890 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศพุ่งสูงขึ้นทันที โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ
JMART เคาะดอกเบี้ยหุ้นกู้ชุดใหม่ 5.50% ต่อปี ยันแผ่นดินไหวและสงครามการค้าไม่กระทบ ย้ำความมั่นใจเติบโตต่อเนื่อง
—
JMART เสนอขายหุ้นกู้ 2 ปี 6 เดือน เคาะดอก...
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
—
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณกา...
Standard Chartered Bank lowers Thailand's 2025 growth forecast, anticipates policy rate cut in April meeting
—
Standard Chartered Bank has lowered Thailan...
finbiz by ttb แนะ 5 เทรนด์การจ้างงานยุคใหม่ที่ตรงใจทั้งองค์กรและพนักงาน
—
ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความต้องการพนักงานที่มีพรสวรรค...
ผู้ถือหุ้นไฟเขียว AUCT จ่ายเงินปันผลปี 2567 รวม 368 ล้านบาท
—
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท สหการประมูล จำกัด (มหาชน) หรือ AUCT เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่ผ...
SCAP สุดปลื้ม! ฟิทช์จัดอันดับเครดิต 'A-(tha)' สะท้อนฐานะการเงินมั่นคง เพิ่มศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินต้นทุนต่ำ ช่วยเสริมแกร่งกลุ่ม SAWAD
—
บริษัท ศรีสวัสดิ์ ...
KGI เตรียมออก 3 DR ใหม่ โอกาสลงทุนหุ้นเทคจีนยักษ์ใหญ่ เทรด 17 เม.ย.นี้
—
KGI ปล่อย DR 3 หลักทรัพย์ใหม่ อ้างอิงหุ้นเทคฯ ยักษ์ใหญ่จากจีน ซึ่งมีศักยภาพการเติ...
ผอ.ใหญ่ ดีป้า แนะไทยเดินหน้าหาตลาดใหม่ เตรียมการรับมือมาตรการภาษีทรัมป์
—
ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของ...