บริติช เคานซิล ประเทศไทย ร่วมกับ เมืองนวัตกรรมอาหาร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ต่อยอดโครงการการใช้ศาสตร์คาดการณ์อนาคตในอุตสาหกรรมบีซีจี (Foresight into the BCG Economy) ดึงผู้เชี่ยวชาญด้านการคาดการณ์อนาคต (Foresight) จากสหราชอาณาจักร ร่วมเวิร์คช็อปกับนักวิจัย ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้กำหนดนโยบายชาวไทยในอุตสาหกรรมบีซีจีด้านอาหารและการเกษตร พบ 5 ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกับอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรในระยะยาว ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 2) ความสนใจเรื่องสุขภาพของผู้บริโภค 3) ทิศทางและนโยบายระดับประเทศ 4) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และ 5) ความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงได้วางร่างกรอบวิสัยทัศน์การดำเนินงานอุตสาหกรรมบีซีจีด้านอาหารและการเกษตรในประเทศไทย 5 ข้อ ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระดับโลกด้านอาหารแห่งอนาคต 2) ภายใต้เศรษฐกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม งดการปล่อยคาร์บอน 3) มุ่งหน้าสร้างตลาดผู้บริโภคใหม่ ๆ ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4) ในขณะเดียวกันก็เพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค และ 5) ดำเนินการผ่านการใช้ประโยชน์สูงสุดของผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและเกษตรกรรมท้องถิ่นในระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยผลของการโครงการนี้จะถูกส่งต่อไปยัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการการกำหนดนโยบายและกรอบงานวิจัยและนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจบีซีจีของประเทศไทย ในขณะเดียวกันผลของโครงการยังจะถูกแชร์ในระดับอาเซียนเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างการทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำหนดนโยบายในประเทศ ภาคอุดมศึกษา ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักรอีกด้วย
นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรที่หลากหลายที่สามารถนำพาประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เมื่อประกอบกับทิศทางของรัฐบาลที่ได้สนับสนุนการใช้โมเดลบีซีจี (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) ให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืน แต่การที่จะไปสู่จุดนั้นได้ บุคลากรจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของอุตสาหกรรม เพื่อที่จะสามารถดำเนินงานไปอย่างถูกทิศทาง ซึ่งในฝั่งของสหราชอาณาจักรเองนั้น ได้มีการนำเอาทักษะการคาดการณ์อนาคต (Foresight) มาเป็นเครื่องมือหลัก เพื่อวิเคราะห์ถึงเทรนด์ และตัวแปรต่าง ๆ ก่อนที่จะทำการกำหนดวิสัยทัศน์และสร้างแผนงานโรดแมปของประเทศ
ในปี 2561 - 2563 ที่ผ่านมา บริติช เคานซิล ได้ร่วมมือกับเมืองนวัตกรรม (Food Innopolis) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัย Cranfield University จากสหราชอาณาจักร เพื่อดำเนินโครงการ Foresight for Food และได้ข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นโรดแม็ปการจัดการอาหารของประเทศไทยไปแล้วนั้น ปัจจุบันได้ต่อยอดมาเป็นโครงการ Foresight into the BCG Economy เพื่อขยายผลไปสู่ 4 ภาคส่วน ได้แก่ 1) อาหารและการเกษตร 2) สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 3) สิ่งแวดล้อม และ 4) การท่องเที่ยว เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านทักษะการคาดการณ์อนาคต พัฒนากรอบการทำงาน และแผนกลยุทธ์สำหรับผู้กำหนดนโยบาย มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยของไทย ใน 4 อุตสาหกรรม นางเฮลก้า กล่าวเพิ่มเติม
ด้าน ศ.โรนัลด์ คอร์สตานจ์ หัวหน้าศูนย์สารสนเทศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแครนฟิลด์ กล่าวว่า ในครั้งนี้เราได้ผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 60 คนที่เป็นนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ และผู้กำหนดนโยบาย ที่ทำงานในอุตสาหกรรมบีซีจีในประเทศไทย โดยการเวิร์คช็อปเริ่มต้นด้วยการแนะนำ 3 กระบวนการหลักของการคาดการณ์อนาคตจากสหราชอาณาจักร ได้แก่ การสำรวจสภาพแวดล้อม (Horizon scanning) การกำหนดวิสัยทัศน์ และการสร้างโรดแมป ซึ่งหลังจากการทำเวิร์คช็อปนั้นได้ระบุออกมาเป็น 5 ตัวแปรสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมด้านอาหารและการเกษตร ซึ่งเป็นตัวที่เชื่อมโยงธุรกิจภายใต้ BCG ทุกสาขาเข้าไว้ด้วยกัน คือ 1) การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 2) ความสนใจเรื่องสุขภาพของผู้บริโภค 3) ทิศทางและนโยบายระดับประเทศ 4) เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาหาร และ 5) ความมั่นคงทางอาหาร
นอกจากนี้ผู้ที่เข้าร่วมเวิร์คช็อปยังได้นำองค์ความรู้ด้านศาสตร์การคาดกาณณ์อนาคต มาเป็นหลักในการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) ของอุตสาหกรรมบีซีจีในประเทศไทย ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระดับโลกด้านอาหารแห่งอนาคต 2) ภายใต้เศรษฐกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม งดการปล่อยคาร์บอน 3) มุ่งหน้าสร้างตลาดผู้บริโภคใหม่ ๆ ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 4) ในขณะเดียวกันก็เพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค และ 5) ดำเนินการผ่านการใช้ประโยชน์สูงสุดของผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและเกษตรกรรมท้องถิ่นในระบบอาหารที่ยั่งยืน ศ.โรนัลด์ กล่าวต่อ
ด้าน ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบัน และความท้าทายต่าง ๆ ของประเทศไทยที่นำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี มาจากการที่ประเทศไทยยังคงติดอยู่ในกับดับรายได้ปานกลาง และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ผ่านมาอาศัยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่ปราศจากความยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และสร้างความเหลื่อมล้ำ จึงทำให้การเติบโตที่ยั่งยืน กลายเป็นเป้าหมายที่สำคัญของแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี พ.ศ. 2564 - 2570
สำหรับการต่อยอดโครงการ Foresight for Food ไปสู่ Foresight into the BCG Economy ในครั้งนี้ หากพิจารณาถึงผลของโครงการในระดับผู้กำหนดนโยบาย ผลสรุปที่ได้จากโครงการนี้ จะถูกนำไปเรียบเรียงเป็นเอกสารเพื่อส่งมอบให้กับ สกสว. ดำเนินการต่อในการผลิตงานวิจัย และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย รวมถึงใช้เป็นกรอบทิศทางสำหรับหน่วยหนุนทุนวิจัย (พีเอ็มยู) ในการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนวิจัยที่ตอบโจทย์กับทิศทางของประเทศอีกด้วย ผศ.ดร.อัครวิทย์ กล่าวเพิ่มเติม
นางเฮลก้า กล่าวทิ้งท้ายว่า โครงการ Foresight into the BCG economy นี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่บริติช เคานซิล ในฐานะองค์กรเพื่อความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมจากสหราชอาณาจักร ได้ดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ระดับนานาชาติ Going Global Partnerships ที่เน้นสร้างความสัมพันธ์ระดับนานาชาติที่เข้มแข็งและเท่าเทียมของภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา และเน้นสร้างระบบอุดมศึกษาที่แข็งแรง สามารถสร้างงานวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงทั้งในการวางกรอบการทำงานระดับประเทศ และการต่อยอดเป็นธุรกิจสำหรับภาคเอกชน โดยผลของโครงการในครั้งนี้จะถูกนำไปแชร์เป็นกรณีศึกษาในระดับอาเซียน ถึงการทำงานระหว่างผู้กำหนดนโยบายในประเทศ ภาคอุดมศึกษา ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักรต่อไป
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมตลอดทั้งปีของบริติช เคานซิล ได้ที่เว็บไซต์ www.britishcouncil.or.th หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ British Council Thailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มมูลค่าสมุนไพร "ใบเตย" โดยการวิจัยและพัฒนาเป็น "สารสกัด" นำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในระบบกระดูกและข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย มุ่งเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค พร้อมเสริมแกร่งผู้ประกอบการด้วยผลงานมาตรฐานสากล ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย
กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform
—
กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...
สคทช. จับมือ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีรับรองพื้นที่ปลอดการตัดไม้ รองรับกฎ EUDR ดันแพลตฟอร์มตรวจสินค้าโภคภัณฑ์ก่อนส่งออก EU
—
(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลง...
นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025
—
นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...
วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า"
—
โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...