วันที่ 22 เมษายน 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือพัฒนาบุคลากรและคู่มือประกอบการสอน ด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง (2565-2567)
ความร่วมมือครั้งนี้ เนคเทค สวทช. โดย ห้องปฏิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ (SQUAT) ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ Train the Trainer : การทดสอบซอฟต์แวร์ ขั้นพื้นฐาน (Train the Trainer : Software Testing - Foundation level) ให้กับอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของ มทร. อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ซึ่งเป็นสถาบันนำร่องที่มีความพร้อมรอบด้าน ให้ได้ความรู้ในด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ระดับสากล สำหรับระดับพื้นฐาน และระดับสูง เพื่อพัฒนาศักยภาพการทดสอบซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ตลอดจนยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรที่จะเป็นผู้ทดสอบซอฟต์แวร์ ตามหลักการของมาตรฐานสากลที่จะช่วยให้ระบบซอฟต์แวร์มีคุณภาพและได้มาตรฐานในระดับสากล ภายใต้โครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากร และพัฒนาคู่มือประกอบการสอนของสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดความตระหนักในการทดสอบซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานระดับชาติ และนานาชาติของภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ และมีผู้ผ่านหลักสูตรการทดสอบซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูงจำนวนมากขึ้น โดยโครงการได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติกล่าวว่า กระผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานของเราซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงเดียวกัน คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กระทรวง อว. มีโอกาสทำงานร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เนคเทค
โดยเนคเทค มีวิสัยทัศน์ ในการสร้างฐานรากสำคัญด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศขั้นสูงของประเทศ มีพันธกิจ เพื่อผลักดันให้เกิดระบบนิเวศน์ของการใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศขั้นสูง ผ่านโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติและเครือข่ายพันธมิตรภาคการศึกษา และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่มาตรฐานระดับสากล เนคเทค จึงได้จัดตั้งให้มีห้องปฏิบัติการทดสอบซอฟต์แวร์ (SQUAT) ขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)
การทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing) เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ นั่นคือการตรวจสอบและตรวจทาน ว่าซอฟต์แวร์ที่ส่งมอบนั้น มีความถูกต้อง สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพตามที่ผู้ใช้งานคาดหวังไว้ และให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์มีความปลอดภัยและมีฟังก์ชันการทำงานตรงตามที่ออกแบบคุณลักษณะไว้ รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานสากล เนคเทค จึงเปิดให้บริการทดสอบซอฟต์แวร์ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่
และการให้บริการเครื่องมือ Hardware in the loop เพื่อใช้ในการทดสอบโดยการจำลองยานยนต์และสภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์สำหรับการตรวจทาน (validating) ชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical control unit - ECU) เป็นต้น
โดยเมื่อปี 2562 เนคเทคได้นำร่อง จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การทดสอบซอฟต์แวร์ระดับสากล สำหรับระดับพื้นฐาน รุ่นที่ 1 (Software Testing Boot Camp: Foundation Level)" เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะ เพิ่มขีดความสามารถให้แก่กลุ่มวิศวกรทดสอบซอฟต์แวร์ให้ได้ตามหลักมาตรฐานสากล (International Software Testing and Qualifications Board: ISTQB) โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรม จำนวนกว่า 40 คน โดยรูปแบบการอบรม มีการบรรยายให้ความรู้ Exercise และ Workshop ในหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งจำลองการสอบ เสมือนจริงหลังการอบรม และมีผู้ไปสอบ ISTQB-CTFL ผ่าน จำนวน 3 คน ซึ่งทำให้ได้รับการปรับตำแหน่งและขึ้นเงินเดือน อีกทั้งผู้เข้าอบรมยังได้นำความรู้ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในงานทดสอบซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการยกระดับมาตรฐานซอฟต์แวร์อีกทางหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังมีความต้องการบุคลากรทางด้าน Software Testing เป็นจำนวนมาก
การให้บริการทดสอบซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ ตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดของระบบที่มีซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบ โดยการทดสอบคุณภาพในด้านต่างๆ ตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดของระบบ ซึ่งจะเป็นการยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ เป็นการลดค่าใช้จ่ายการทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ เมื่อเทียบกับการส่งไปทดสอบในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้างทั้งส่วนความตระหนักในการทดสอบซอฟต์แวร์ของภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้มีผู้ผ่านหลักสูตรการทดสอบซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูงจำนวนมากขึ้น เพื่อรองรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ซึ่งในปี 2565 นี้ เนคเทค สวทช. มีความสนใจที่จะขยายผลการดำเนินงานโครงการไปยังพื้นที่สถาบันการศึกษา และได้เล็งเห็นแล้วว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เป็นสถาบันนำร่องที่มีความพร้อมรอบด้าน เพื่อสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษาและร่วมกันพัฒนาคู่มือประกอบการสอนการทดสอบซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง โดย เนคเทค สวทช. มีบทบาทในการจัดเตรียมข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการอบรมการทดสอบซอฟต์แวร์ รวมทั้งจัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิคในการอบรเชิงปฏิบัติการ เพื่อขยายผลไปสู่การสนับสนุนอาจารย์แกนนำที่ผ่านการอบรมให้ร่วมจัดทำคู่มือประกอบการอบรมทดสอบซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการทดสอบซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานระดับสากล ขยายผลเป็นรูปธรรมในภูมิภาคอีสาน ผ่านสถาบันการศึกษาที่สนใจรวมถึงเนคเทคพร้อมสนับสนุนงานด้านอื่นๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาทักษะของบุคลากรในระดับอุดมศึกษาอันเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาดา รัยมธุรพงษ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กล่าวถึงความร่วมมือ ต้องขอขอบคุณทางเนคเทค สวทช.ที่ให้การสนับสนุนความร่วมมือกัน สืบเนื่องจากมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบซอฟต์แวร์และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ต่อครั้งในการทดสอบ อีกทั้งภาวะการปัจจุบัน มีระบบซอฟต์แวร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยต่างๆ และมีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกหน่วยงาน ทำให้นักวิจัย มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และโอกาสที่จะหาเครือข่ายและสร้างความร่วมมือในด้านนี้ จึงได้เกิดโครงการความร่วมมือพัฒนาบุคลากรและคู่มือประกอบการสนอด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง (2565-2567) ขึ้น ความร่วมมือที่ผ่านมา ระหว่าง มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และเนคเทค สวทช. นั่นก็คือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Train the Trainer : การทดสอบซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งอบรมเมื่อวันที่ 30-31 มีนาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์
โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม คืออาจารย์ จำนวน 32 คน วัตถุประสงค์ของความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายสถาบนการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดคู่มือประกอบการสอนการทดสอบซอฟต์แวร์พื้นฐานและขั้นสูงเป็นสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความตระหนักในการทดสอบซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติของภาคอุตสาหกรรม และสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษา ขยายความร่วมมือด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ในอนาคตต่อไป
วันที่ 14 16 กุมภาพันธ์ 2568 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย คณะระบบรางและการขนส่ง นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชิต คำภาหล้า คณบดีคณะระบบรางและการขนส่ง พร้อมด้วย ดร.ไพลิน หาญขุดทดหัวหน้าสาขาระบบราง อาจารย์กฤษฎิ์ ต.ศิริวัฒนา และ ดร.กฤษฎา มงคลดี ผู้ควบคุมทีม พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาสาขาระบบราง มทร.อีสาน นครราชสีมา เข้าร่วมการแข่งขันออกแบบหัวรถจักรไฟฟ้า TRRN RAILWAY CHALLENGE 2025 ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มทส. ต.คลองไผ่ อ
บางจากฯ บีเอสจีเอฟ ธนโชคฯ ร่วมกับ มทร. อีสาน ประสาน 17 หน่วยงาน สร้างความตระหนักอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ สนับสนุนนำน้ำมันใช้แล้วผลิต SAF
—
นายธรรมรัตน์ ประย...
บางจากฯ ร่วมมือ กองทัพอากาศ เตรียมต่อยอดเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) สำหรับอากาศยานกองทัพ
—
เมื่อเร็วๆ นี้ นายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการให...
CHO จับมือ มทร.อีสาน และภาคีเครือข่าย ยกระดับมาตรฐานระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าและการเดินทางอัจฉริยะ นำร่องพื้นที่เมืองโคราช
—
นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้...
CHO ร่วมกับ มทร.อีสาน เปิดศูนย์แปลงยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะเมืองโคราช
—
บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช...
พัฒนาฝีมือแรงงานโคราชจับมือ มทร.อีสาน ร่วมขับเคลื่อนการเพิ่มทักษะ ให้แรงงานทุกระดับให้สอดคล้องกับจุดเน้นของจังหวัดนครราชสีมา
—
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 5 นค...
กรมพัฒน์ ชวนชมงาน Skill Expo ขอนแก่น อัพสกิลแรงงานไทย สู่โลกยุคใหม่ในอนาคต
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนชมงานมหกรรม Skill Expo Thailand ที่ขอนแก่น 19 22 มกราค...
ขอนแก่นพร้อมต้อนรับทัพนักกีฬาทั่วโลก มข. ผนึกภาคี แถลงข่าวขอนแก่นมาราธอนนาชาติครั้งที่ 18 "Khon Kaen International Marathon 2023"
—
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่ว...
สุดยอดเกมเมอร์ทรู 5G อีสปอร์ตระดับมาสเตอร์จากอีสาน และใต้ พร้อมชิงแชมป์ "True 5G Thailand Master 2022" ระดับประเทศแล้ว
—
เกมเมอร์ระดับไทยแลนด์มาสเตอร์ประ...