บมจ. สแกน อินเตอร์ SCN คาดงบ Qสแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์/65 ทะยานทำสถิติสูงสุดใหม่ หลังบันทึกรายได้พิเศษ 3สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์3 ลบ. จากขายหุ้น TJN ในสัดส่วน 49% ให้กับ Shizuoka Gas หนุนชื่อเสียง-เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น พร้อมเตรียมนำเงินแปลงสภาพ SCN-Wสแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ราว สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์2ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลบ. ลงทุนในบ. ย่อย "สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์" ลุยโครงการผลิตไฟฟ้า หวังเป้า COD เพิ่มเป็น 3ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย-4ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมกะวัตต์ ในปี 66 และแต่งตัวเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แย้มธุรกิจกัญชง ปัจจุบันเตรียมโครงสร้างบริษัทเสร็จแล้ว พร้อมรับใบอนุญาตปลูกแบบ Indoor รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน และขนส่งแบบครบวงจร เปิดเผยว่า ว่า บริษัทฯคาดผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2565 จะทำสถิติสูงสุดใหม่ จากการเตรียมบันทึกรายได้พิเศษมูลค่า 313 ล้านบาท หลังขายหุ้นของบริษัท ก๊าซ ไทย-ญี่ปุ่น จำกัด (Thai-Japan Gas Network หรือ TJN) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการพัฒนาคุณภาพและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ รวมถึงก๊าซธรรมชาติอัดสำหรับอุตสาหกรรม (iCNG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SCN ให้กับ บริษัท Shizuoka Gas Company Limited หรือ SZG ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของ ประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน 49%
ขณะเดียวกันการเข้ามาถือหุ้นของ SZG ส่งผลดีต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ ให้มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ขณะที่ลูกค้ารายเดิมยังมีความต้องการใช้ก๊าซ ICNG เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีลูกค้ารายใหม่เข้ามาเพิ่มเติม อาทิ ผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่น และผู้ประกอบการจากสหภาพยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลูกค้าเตรียมเซ็นสัญญาเข้ามาเพิ่มเติมอีกหลายราย และมีความต้องการใช้ก๊าซ ICNG มากกว่า 2,000 ล้านบีทียู (MMBTU) จากปัจจุบันที่มีปริมาณการขายก๊าซ ICNG มากกว่า 5,000 ล้านบีทียู (MMBTU) ต่อวัน ประกอบกับราคาพลังงานยังคงทรงตัวในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาพรวมของธุรกิจมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าซ NGV แบบครบวงจร และใช้ในกลุ่มลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรม (iCNG) และธุรกิจพลงังานทดแทน
"หลังจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศยูเครน และประเทศรัสเซีย เป็นแรงผลักดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นแรงหนุนให้ผู้ใช้รถ ทั้งในกลุ่มรถบรรทุก ผู้ประกอบการการขนส่ง และผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติอัดแรงดันสูง NGV และ iCNG มากยิ่งขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาทุกสถานีให้บริการเติมก๊าซ NGV ขยายตัวมากว่า 20% เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุด" ดร.ฤทธีกล่าว
ส่วนโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มมินบูในเมียนมาร์ที่อยู่ภายใต้การบริหารของ บริษัท กรีน เอิร์ธ พาวเวอร์ ไทยแลนด์ จำกัด (GEP Thailand) SCN ถือหุ้นใน GEP Thailand ราว 40% มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากำลังการผลิตรวม 220 เมกะวัตต์ โดยเริ่มรับรู้รายได้จากการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) จากเฟสแรก กำลังผลิตอยู่ที่ 50 เมกะวัตต์ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ด้านเฟสที่ 2 กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค. 2565 ก่อนที่จะเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ภายในไตรมาส 4/2565 อย่างแน่นอน
สำหรับธุรกิจด้านกัญชง เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา SCN มีนักลงทุนใหม่เข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯที่เกี่ยวข้องกับกัญชงอย่างมหาศาล แสดงถึงความสำเร็จ และความน่าสนใจในธุรกิจกัญชงเพื่อการแพทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นกัญชงเกรดการแพทย์ มีพื้นที่ปลูก 3,000 ตารางเมตร โดยมีพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปลูกกัญชงถือหุ้นในสัดส่วน 40% ปัจจุบันเริ่มดำเนินการปลูกล็อตแรกไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วงของระยะเริ่มต้น และคาดว่าหากปลูกได้เต็มพื้นที่จะสามารถสร้างรายได้ 200-300 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีการวางแผนทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยแผนการใช้เงินลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้านั้น จะมาจากการแปลงสภาพตามใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ บมจ.สแกน อินเตอร์ ครั้งที่ 1 (SCN-W1) ราว 120 ล้านบาท โดยบริษัทฯ คาดหวังว่าผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิแปลงสภาพตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญทั้งหมด โดยมีจำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 119,996,757 หน่วย โดยมีอัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ราคาใช้สิทธิ 2.50 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 13 ม.ค. 2566
พร้อมกันนี้บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะนำเงินไปลงทุนใน บริษัท สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ จำกัด (SAP) ที่ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) สัญญาซื้อขายไฟภาคเอกชน (Private PPA) และสัญญาเช่าโซลาร์รูฟท็อปทั้งกลุ่มลูกค้ารายย่อยและลูกค้าภาคธุรกิจ เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงแรม เป็นต้น โดยปัจจุบันมีสัญญาซื้อขายไฟ 20 เมกะวัตต์ และมีการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 10 เมกะวัตต์ โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มขึ้นเป็น 30-40 เมกะวัตต์ ในปี 2566 ก่อนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีเป้าหมายที่จะมีศักยภาพในการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็น 100 เมกะวัตต์
"ปัจจุบันได้เริ่มกลับมาเดินหาลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจเริ่มกลับมา ซึ่งยอมรับว่ากระแสตอบรับค่อนข้างดี และได้รับความสนใจจากลูกค้าใหม่ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้การหันมาใช้ไฟฟ้ารูปแบบการประหยัดพลังงาน จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งในการที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงได้ค่อนข้างมาก ทำให้มองว่า SAP ที่เป็นผู้ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ยังมีโอกาสและศักยภาพในการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน" ดร.ฤทธีกล่าวในที่สุด
สำหรับการคาดการณ์ผลประกอบการไตรมาสใน 2/2565 เชื่อว่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย แม้ว่าจะมีตัวเลขผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและประชาชนมีความเข้าใจมากขึ้น ประกอบกับอัตราการเสียชีวิตปรับตัวลดลง ขณะที่ภาครัฐบาลยังได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 มาต่อเนื่อง ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ทั้งการเติบโตของกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ, ธุรกิจผลิตไฟฟ้า, ธุรกิจให้บริการบำรุงรถเมล์ NGV และธุรกิจใหม่ในส่วนของกัญชง เป็นปัจจัยบวกและทำให้บริษัทฯ มั่นใจในเป้าหมายรายได้ปี 2565 ที่คาดจะทำได้ประมาณ 2.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนที่มีรายได้ 1.75 พันล้านบาท
บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดย คุณมิ่งขวัญ ประเสริฐศิวพร (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการ งานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเงิน ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม "Happy Money Sharing: Financial Well-Being Journey 2025" จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ส่งเสริมความรู้ทางการเงินในองค์กร แก่ผู้แทนองค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ทั้งหมด 28 องค์กร ให้สามารถไปปรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับพนักงานในองค์กร สมาชิกในชุมชน หรือประชาชนทั่ว
เปิดตัวโครงการ 'THE INFLUENCER : FINANCIAL & INVESTMENT' ครั้งแรกในไทย ยกระดับการเผยแพร่ข้อมูลการเงินการลงทุนผ่านอินฟลูเอนเซอร์คุณภาพ
—
"ออนไลน์ แอสเซ็ท" ...
"จรูญพันธ์ วัฒนวงศ์ จาก Liberator" ร่วมเวทีสัมภาษณ์ในงานสมาคมนักวิเคราะห์ฯ 2568 ตัวแทนเสียงนักวิเคราะห์ไทย
—
"น้าแดง" จรูญพันธ์ วัฒนวงศ์, หัวหน้าฝ่ายวิจัย...
THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล
—
มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...
RBF โชว์ศักยภาพธุรกิจ-แผนขยายตลาด ตปท. งาน "Thailand Earning Call" ปังธง ปี 68 รายได้รวม โต 10-15%
—
นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและก...
"FTI" Opportunity Day Year End 2024 สรุปผลงานปี 67 ฉายภาพธุรกิจปี 68 เดินหน้าขยายธุรกิจทั้ง Offline และ Online
—
ดร. วิกร ภูวพัชร์ (คนกลาง) ประธานเจ้าหน้า...
"MEDEZE" โชว์ศักยภาพธุรกิจ ในงาน Opp Day Year End 2024
—
นางสาวสุภากาญจน์ กิจโกศล ประธานเจ้าหน้าที่สายบัญชีและการเงิน บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรื...
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จับมือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมลงนาม MOU โครงการ Family Business Thailand
—
4 เสาหลักอง...
SAFE โชว์กำไรฯปี 67 แตะ 167.09 ลบ. จ่ายปันผล 0.62 บ./หุ้น
—
นพ.วิวัฒน์ กว้างคณานุรักษ์ (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นางสาวชนิดา พัธโนทัย (ขวา) ประธา...
"SNPS" ฉายภาพธุรกิจ งาน Opp Day โชว์กำไรปี 67 โตแรง 169%
—
ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นายอชิตเดช อาชาไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่...