หัวเว่ย คลาวด์แคมปัส 3.0 กำหนดนิยามใหม่ของเครือข่ายแคมปัส ด้วยการใช้งานและการเข้าถึงคลาวด์แบบซูเปอร์ฟาสต์

17 Mar 2022

ในมหกรรมโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ประจำปี 2565 (Mobile World Congress 2022) บริษัทหัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวโซลูชันคลาวด์แคมปัส 3.0 (CloudCampus 3.0) เวอร์ชันอัปเกรดใหม่ ในระหว่างการจัดกิจกรรมไอพี คลับ คาร์นิวัล (IP Club Carnival) นับเป็นก้าวสำคัญในการกำหนดนิยามใหม่ของเครือข่ายแคมปัส โดยคลาวด์แคมปัส 3.0 กำหนดนิยามใหม่ของการเข้าถึงเครือข่ายแคมปัส ด้วยการมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อระดับ 300 เมกะบิตต่อวินาทีทุกที่ หรือ "300 Mbps @ Everywhere" รวมถึงออกแบบใหม่ด้วยการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครือข่ายแคมปัสจากเลเยอร์สามชั้นเหลือสองชั้น ตลอดจนคิดใหม่ในเรื่องของการเข้าถึงระบบคลาวด์สำหรับสาขาต่าง ๆ ขององค์กร ผ่านสายวงจรเช่าระหว่างไซต์กับคลาวด์ จนเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงคลาวด์ได้เป็นสองเท่า

หัวเว่ย คลาวด์แคมปัส 3.0 กำหนดนิยามใหม่ของเครือข่ายแคมปัส ด้วยการใช้งานและการเข้าถึงคลาวด์แบบซูเปอร์ฟาสต์

เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น คลาวด์, อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IOT) และบิ๊กดาต้า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรจึงขยายจากสถานที่ทำงานไปยังส่วนของการผลิตและการดำเนินงาน รวมถึงจากสำนักงานใหญ่ไปยังสาขาต่าง ๆ และระบบคลาวด์ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดความคาดหวังว่าแคมปัสขององค์กรจะเอื้ออำนวยให้เกิดสภาพแวดล้อมในส่วนของการผลิตและสำนักงานอัจฉริยะที่ทำงานร่วมกันได้ดี เพื่อยกระดับความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานและการทำงานร่วมกันที่คล่องตัวยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น แคมปัสขององค์กรจำเป็นต้องช่วยให้เข้าถึงบริการบนคลาวด์ได้เร็วขึ้น เพื่อปูทางไปสู่บริการร่วมกันทั่วโลก ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เครือข่ายแคมปัสซึ่งเชื่อมต่อเทอร์มินอลที่ปลายทางด้านหนึ่งเข้ากับระบบคลาวด์ที่ปลายทางอีกด้านหนึ่งนั้น  เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการสร้างแคมปัสดิจิทัล โดยในสถาปัตยกรรมเครือข่ายแคมปัสแบบดั้งเดิมนั้น เครือข่ายแคมปัสจะเชื่อมต่อเฉพาะแอปพลิเคชันสำนักงานภายในองค์กรเข้ากับเทอร์มินอลสำนักงานแบบมีสาย ขณะที่เครือข่ายไร้สายจะเป็นเพียงส่วนเสริมของเครือข่ายแบบมีสายเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์แบบขาดตอน ขาดการเชื่อมต่อบ่อยครั้ง ตลอดจนเฟรมค้าง ที่แย่ไปกว่านั้นคือ สายวงจรเช่าแบบเดิมทำให้สาขาต่าง ๆ ขององค์กรไม่สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสตีเวน จ้าว รองประธานสายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า "เครือข่ายแคมปัสมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในด้านหนึ่ง เทอร์มินอลประเภทต่าง ๆ เชื่อมต่อผ่าน LAN เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในทุกสถานการณ์ ในอีกด้านหนึ่ง SD-WAN ก็จำเป็นต่อการเข้าถึงระบบคลาวด์ ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จึงต้องรีบมีเครือข่ายแคมปัสที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์ได้แบบซูเปอร์ฟาสต์และมอบประสบการณ์ผู้ใช้แบบซูเปอร์ฟาสต์"

คลาวด์แคมปัส 3.0 ใหม่ล่าสุดของหัวเว่ยตอบโจทย์เรื่องนี้ได้เต็มรูปแบบด้วยการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง ทำให้โซลูชันนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเครือข่ายแคมปัสที่เน้นประสบการณ์การใช้งาน

และเช่นเคย หัวเว่ยได้สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในด้านสวิตช์และ WLAN เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์แบบซูเปอร์ฟาสต์ในแคมปัสสำนักงานขององค์กร

เพื่ออธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์หัวเว่ย แอร์เอนจิน วาย-ฟาย 6 (Huawei AirEngine Wi-Fi 6) ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเสาอากาศอัจฉริยะและโรมมิ่ง AI เพื่อให้ได้เครือข่ายไร้สายที่ต่อเนื่องกันอย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เครือข่ายได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีฟีเจอร์มากมายดังกล่าวยังใช้อัลกอริทึมตั้งเวลามัลติมีเดียอัจฉริยะเพื่อการันตีคุณภาพของการประชุมทางไกลผ่านภาพและเสียงระดับพรีเมียม ส่วนไฮไลต์อื่น ๆ ประกอบด้วย หัวเว่ย แอร์เอนจิน 6761-21 เอพี (Huawei AirEngine 6761-21 AP) ที่มีเสาอากาศอัจฉริยะแบบไดนามิกซูมครั้งแรกในอุตสาหกรรม และหัวเว่ย แอร์เอนจิน 6761-22ที เอพี (Huawei AirEngine 6761-22T AP) ที่รองรับ Wi-Fi 6E

ในส่วนของสวิตช์ หัวเว่ยได้คิดค้นเทคโนโลยี PoE แบบออปติคอล-ไฟฟ้า ที่ช่วยให้สามารถจ่ายไฟ PoE ได้ในระยะไกลเป็นพิเศษ เทคโนโลยีนี้ทำให้ AP ไม่ได้รับผลกระทบแม้จะเกิดไฟดับโดยไม่คาดคิดในเครือข่ายแคมปัสก็ตาม ทำให้พนักงานในองค์กรเข้าถึงระบบไร้สายได้ตลอดเวลา

หัวเว่ย คลาวด์เอนจิน เอส8700 (Huawei CloudEngine S8700) เป็นสวิตช์แบบโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่โดดเด่นด้วยนวัตกรรมสถาปัตยกรรมแบบเรียบง่าย โดยสวิตช์ที่พร้อมรองรับการใช้งานในอนาคตตัวนี้สามารถทำงานร่วมกับหน่วยรีโมต (RU) เพื่อสร้าง "หนึ่งอุปกรณ์ หนึ่งเครือข่าย" (One Device, One Network) ซึ่งกำหนดนิยามใหม่ของสถาปัตยกรรมเครือข่ายแคมปัส จึงทำให้การวางแผน ใช้งาน และจัดการเครือข่ายแคมปัสง่ายกว่าเดิมมาก

โซลูชันของหัวเว่ยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี PoE แบบออปติคอล-ไฟฟ้า, สายเคเบิลไฮบริด และโมดูลไฮบริด เพื่อจ่ายไฟ PoE++ ในระยะไกลพิเศษถึง 300 เมตร ขณะที่ RU รองรับ PoE สำรองไปยังเทอร์มินอลปลายทาง วิธีนี้ทำให้เครือข่ายทั้งหมดมีแหล่งจ่ายไฟจากส่วนกลาง จึงมั่นใจได้ว่าเครือข่ายจะมีความต่อเนื่องแม้จะไม่มีแหล่งจ่ายไฟหลักในพื้นที่ก็ตาม

ในขณะที่บริการต่าง ๆ ย้ายไปอยู่บนคลาวด์มากขึ้นเรื่อย ๆ SD-WAN ของหัวเว่ยก็เจาะลึกเข้าสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้เข้าถึงระบบคลาวด์ได้แบบซูเปอร์ฟาสต์ เช่น ในภาคการค้าปลีก SD-WAN ของหัวเว่ยก็รองรับการจัดเตรียมแบบซีโร่ทัช (Zero-Touch Provisioning หรือ ZTP เป็นวิธีการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่กำหนดค่าอุปกรณ์โดยอัตโนมัติโดยใช้ฟีเจอร์สวิตช์) สำหรับการปรับใช้อัตโนมัติและการจัดเตรียมลิงก์บนระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้ารายย่อยลดระยะเวลาจัดเตรียมเครือข่ายร้านค้าจากหลายสัปดาห์เหลือเพียง 1 วัน ส่วนในภาคการเงินนั้น SD-WAN ของหัวเว่ยช่วยให้สามารถควบคุมทราฟฟิกได้แบบอัจฉริยะ พร้อมนำเสนอลิงก์แบบอัลตราบรอดแบนด์สำหรับการเข้าถึงระบบคลาวด์ ช่วยให้มั่นใจได้ว่าบริการธุรกรรมหลักจะมีความเสถียรและเชื่อถือได้ ดังนั้น เราเตอร์ SD-WAN ใหม่ล่าสุดอย่างเน็ตเอนจิน เออาร์6710 (NetEngine AR6710) ของหัวเว่ย ซึ่งรวมการเราติ้งและสวิตชิ่งเข้าไว้ด้วยกันนั้น จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการเข้าถึงระบบคลาวด์แบบซูเปอร์ฟาสต์สำหรับสาขาขององค์กร

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลาวด์แคมปัสของหัวเว่ยได้ที่ https://e.huawei.com/en/solutions/business-needs/enterprise-network/campus-network

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1768457/image_1.jpg