นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า หากกล่าวถึงประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีโอกาสเติบโตสูง เวียดนามจะเป็นประเทศที่ถูกจัดอยู่ในลำดับต้นๆ โดยองค์ประกอบสำคัญที่เป็นแรงผลักดันคือ เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงเติบโต โครงสร้างประชากรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 63 อยู่ในช่วงวัยทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (Rising Middle Income)
ด้านสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เวียดนามมีการรับมือที่ดี ทั้งการใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ผนวกกับการเร่งระดมฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชากร ทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเป็นบวกได้ในปี 2563 โดย GDP เติบโต 2.91% ต่อเนื่องมาในปี 2564 ที่หลายภาคส่วนทยอยกลับเข้าสู่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นภาวะปกติ ผู้คนเริ่มกลับมาใช้จ่าย อันเป็นสัญญาณการฟื้นตัว จึงคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาเติบโตได้ในอัตรา 6.5 - 7% ต่อปี ในระยะยาว
ในส่วนของการลงทุน มี 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เวียดนามโดดเด่นและมีความน่าสนใจมากที่สุดในภูมิภาค ได้แก่ โอกาสลงทุนในเศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูง เป็นเป้าหมายของฐานการผลิตจากทั่วโลก และมูลค่าตลาดหุ้นมีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมูลค่าหุ้นเวียดนามอยู่ในระดับราคาหุ้นที่ถูกที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปี 2565 คาดการณ์ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้นหรือ P/E หุ้นขนาดใหญ่อยู่ที่ 13.2 เท่า หุ้นขนาดกลางอยู่ที่ 9 เท่า ในขณะที่ค่าเฉลี่ยตลาดหุ้นเอเชีย P/E อยู่ที่ 14 - 15 เท่า และตลาดหุ้นไทย P/E อยู่ที่ 16 เท่า
นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นหรือ EPS Growth Rate ของหุ้นเวียดนาม เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกัน ยังเป็นอัตราที่สูงกว่าเกือบทุกประเทศยกเว้นฟิลิปปินส์ โดยในปี 2565 คาดการณ์ EPS Growth Rate หุ้นขนาดใหญ่อยู่ที่ 20% หุ้นขนาดกลางอยู่ที่ 25% และ VN Index อยู่ที่ 25%
กองทุนบัวหลวงเห็นถึงโอกาสและช่วงจังหวะเวลาที่ดีสำหรับการเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามที่เปี่ยมด้วยศักยภาพ จึงจัดตั้งกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเวียดนาม หรือ B-VIETNAM ซึ่งมีจุดเด่นคือ สามารถลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจหรือได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม และ/หรือหุ้นเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นประเทศอื่น รวมทั้งหน่วย CIS และ/หรือกองทุน ETF ที่เน้นลงทุนในหุ้นเวียดนาม โดยผู้จัดการกองทุนมีความยืดหยุ่นในการบริหารกองทุน
ในส่วนของหุ้นเวียดนามที่ผู้จัดการกองทุนตั้งเป้าคัดเลือกลงทุนจะอยู่ภายใต้ 3 Theme เด่น ได้แก่ การเติบโตของสังคมเมือง การเติบโตของกลุ่มดิจิทัล และการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยเน้นมองหาหุ้นขนาดกลาง ที่มีเรื่องราวการเติบโตทางเศรษฐกิจและยังมีระดับ P/E ที่น่าสนใจ เพื่อโอกาสในการเพิ่มผลตอบแทนให้กองทุน
B-VIETNAM เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ สามารถลงทุนระยะยาวได้ 3 - 5 ปีขึ้นไปและไม่มีความต้องการผลตอบแทนระหว่างทาง รวมถึงยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้น ความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศได้ โดย B-VIETNAM เตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ช่วงวันที่ 14 - 20 ตุลาคม 2564 ในราคาหน่วยลงทุนละ 10 บาท มูลค่าการซื้อขั้นต่ำ 500 บาท พิเศษในช่วง IPO ลดค่าธรรมเนียมการขายเหลือ 0.75% จากปกติ 1.50%
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดกองทุน B-VIETNAM หรือติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนและคู่มือการลงทุนได้ที่กองทุนบัวหลวง โทร. 02-674-6488 กด 8 ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง บล.เอเซีย พลัส บมจ.หลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี บลน.ฟินโนมีนา บล.ไทยพาณิชย์ และ บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) นอกจากนี้ ท่านสามารถทำรายการซื้อในช่วง IPO ผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking ได้ตั้งแต่เวลา 8.30 - 16.00 น.
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจ ลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 มีกำไรสุทธิจำนวน 838.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 212.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.9 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2567 สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 22.1 ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.2
CIMB THAI posts net profit of THB 838.1 million for 3M2025
—
Mr. Paul Wong Chee Kin, President and Chief Executive Officer, CIMB Thai Bank PCL (CIMB Thai)...
กรุงศรีเปิดตัวกองทุน KF-EMXCN โอกาสเติบโตไปพร้อมกับ Emerging Market
—
บลจ.กรุงศรี เปิดตัวกองทุนใหม่ KF-EMXCN ฝ่าความผันผวนจากสงครามการค้า ด้วยโอกาสลงทุนใน...
Bangkok Bank reports a net profit of Baht 12,618 million for the first quarter of 2025
—
In the first quarter of 2025, the Thai economy began to exhibit s...
ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2568 จำนวน 12,618 ล้านบาท
—
เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2568 เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว โดยมีสาเหตุหลักจากการลงทุนภาค...
บล.เกียรตินาคินภัทร คว้า 2 รางวัลใหญ่ ด้านการบริหารพอร์ตและการลงทุนทางเลือกในประเทศไทยจาก Euromoney Private Banking Awards 2025
—
บริษัทหลักทรัพย์ เกียรติ...
กลุ่มทิสโก้ แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1/2568 กำไรสุทธิ 1,643 ล้านบาท ลดลง 5.2%
—
กลุ่มทิสโก้ เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2568 กำไรสุทธิ 1,643 ล้านบาท ลดลง 5.2% จาก...
KTC Reveals Insurance as Top Trend, Meeting Cross-Generational Demand for Value and Investment Opportunities
—
KTC reveals that insurance has consistently...
เคทีซีเผยเทรนด์ซื้อประกันครองแชมป์ ตอบโจทย์คนทุกเจนที่มองหาโอกาสการลงทุนและความคุ้มค่า
—
เคทีซีเผยหมวดประกันมีการใช้จ่ายสูงสุดในพอร์ตตลาดบัตรเครดิตอย่างต่...
ธนาคารไทยพาณิชย์คว้าแชมป์ธนาคารแห่งปีต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน
—
ธนาคารไทยพาณิชย์ สร้างความสำเร็จต่อเนื่องด้วยการครองตำแหน่ง "ธนาคารแห่งปี 2568" ตามการประกาศผลกา...