แอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 5.3 ล้านโดส ให้กับประเทศไทยในเดือนสิงหาคม

แอสตร้าเซนเนก้า เปิดเผยวันนี้ว่า ตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทฯได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 5.3 ล้านโดส ให้กับกระทรวงสาธารณสุข รวมยอดส่งมอบวัคซีน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 16.6 ล้านโดส ตามแผนการจัดหาวัคซีนให้กับประเทศไทย โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบวัคซีนจำนวน ทั้งหมด 61 ล้านโดส ได้ภายในสิ้นปีนี้

แอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 5.3 ล้านโดส ให้กับประเทศไทยในเดือนสิงหาคม

จำนวนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ส่งมอบในเดือนสิงหาคมนั้นเป็นไปตามแผนงานที่แอสตร้าเซนเนก้าได้ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะสามารถจัดสรรและส่งมอบวัคซีนให้กับประเทศไทยได้ 5-6 ล้านโดสต่อเดือน แอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 5.3 ล้านโดส ให้กับประเทศไทยในเดือนสิงหาคม

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า "แอสตร้าเซนเนก้าตระหนักถึงหน้าที่สำคัญในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยสิ่งที่เราให้ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดในขณะนี้ คือ การผลิตและส่งมอบวัคซีนที่มีคุณภาพ เพื่อปกป้องประชาชนชาวไทยและช่วยยังยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความร่วมมือจากสยามไบโอไซเอนซ์ เราจึงสามารถผลิตวัคซีนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงส่งมอบวัคซีนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสูงได้ตามกำหนด ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าจะพยายามอย่างสุดความสามารถในการจัดหาวัคซีนให้กับประเทศไทยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้"

นับตั้งแต่มีการเริ่มใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครั้งแรกในช่วงต้นปี 2564 วัคซีนได้สร้างประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการช่วยชีวิตผู้คนมากมายและป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล1

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในทุกกลุ่มอายุได้มากถึง 80%-90%2,3 และยังมีประสิทธิผลครอบคลุมไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ต่างๆ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ รวมถึงสายพันธุ์เบต้าและสายพันธุ์เดลต้า2,3

ผู้รับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถทนต่อผลข้างเคียงของวัคซีนได้ดี มีการรายงานภาวะที่พบได้ยากคือลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia Syndrome หรือ TTS) เกิดขึ้นในระดับที่น้อยมากในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกภายใน 14 วัน และมีอัตราลดลงหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ซึ่งไม่แตกต่างจากอัตราที่พบในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน4

แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรผู้ผลิตได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 กว่าหนึ่งพันล้านโดสให้แก่ประเทศต่างๆ กว่า 170 ประเทศทั่วโลก โดย 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เดิมเรียก AZD1222 ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.azcovid-19.com/asia/th/th.html


ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+แอสตร้าเซนเนก้าวันนี้

สธ. ลงพื้นที่เฝ้าระวังสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก จังหวัดเชียงใหม่

วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พลโทณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ดร.นายแพทย์นิธิรัตน์ บุญตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ และหน่วยงานในพื้นที่ เฝ้าระวังสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ดำเนินการเฝ้าระวังประเด็นการปนเปื้อนสารหนูในแหล่งน้ำ

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... 'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกระ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคั... กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. แนะ 4 วิธี 'ปลอดโรค ปลอดภัย สุขอนามัยดี' เตรียมพร้อมก่อนเที่ยวสงกรานต์ — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์...