ในยุคการเปลี่ยนแปลงพลังงานอย่างก้าวกระโดด (Energy Disruption) พลังงานไฟฟ้าจะมีบทบาทและทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต ทางมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และความเชื่อมโยงทั้งทางด้านพลังงานและทางด้านสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทางมหาวิทยาลัยพะเยา ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ในการจัดทำงานวิจัยด้านระบบสมาร์ตกริด ภายใต้โครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานราชการ (Campus Power) ขนาด 500 กิโลวัตต์ (kW) ซึ่งตอนนี้กำลังเข้าสู่การดำเนินการ ระยะที่ 2 เป็นการขยายพลังงานไฟฟ้าระบบสมาร์ตกริด สู่ชุมชน จังหวัดพะเยา
โดยมหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ได้มีความร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการบริหารจัดการเพื่อประหยัดพลังงานในมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นการติดตั้งงระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (เซลล์แสงอาทิตย์) ขนาด 2.9 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งมีระบบการบริการจัดการพลังงาน (Energy Management System) พร้อมระบบตรวจวัดการใช้พลังงานของอาคาร (Energy Monitoring System) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะเป็นผู้สนับสนุนด้านเทคนิค และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ
ด้วยการพัฒนาที่ก้าวไปไกลของเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ที่มีข้อดีคือ การปลอดคาร์บอนหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หรือก็คือ รถยนต์ที่ปราศจากการปล่อยมลพิษนั่นเอง เพื่อให้เราก้าวไปสู่ในยุคของเทคโนโลยีที่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์และโลกได้อย่างยั่งยืนทางมหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับการชาร์จประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ (EV Charging Station) เพื่อรองรับระบบสมาร์ตกริดและการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง
นอกจากนี้ ทางคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ คณบดีคณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้ จึงได้จัดทำหลักสูตร "สาขาวิชาการจัดการพลังงานและนวัตกรรม" ในระดับปริญญาโทและเอก เพื่อปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ทางพลังงานและทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
การเคหะแห่งชาติร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดโครงการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการพลังงาน หัวข้อ "วิกฤตโลกร้อนและการปรับตัวสู่ทศวรรษพลังงานสีเขียวระดับองค์กรและผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ" โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และประธานคณะกรรมการด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการอบรม พร้อมด้วย ดร.พระนาย กังวานรัตน์ กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
สถาพร เอสเตท (SE) กวาด 4 รางวัล จากเวที Thailand Energy Award 2023
—
สุนทร สถาพร (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สถาพร เอสเตท จำกัด (SE) ผู...
ผู้บริหารบางจากฯ ร่วมผลักดันนวัตกรรมด้านพลังงานรุ่นเยาว์ ผ่านเวทีการประกวด The Young Energy Designer 2023
—
เมื่อเร็วๆ นี้ นางนฤพรรณ สุธรรมเกษม ผู้ช่วยกรร...
TPCH ปลื้ม! โรงไฟฟ้า PTG รับรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน
—
คุณประเสริฐ สินสุขประเสริฐ (ซ้าย) ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานมอบรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแท...
"อาคาร เดอะ ธารา ซีพี ออลล์" คว้า 2 รางวัลใหญ่ด้านอนุรักษ์พลังงาน ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคเอเชีย
—
เมื่อเร็วๆนี้ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวง...
กรีนเวฟ คว้ารางวัล Thailand Energy Awards 2023 ตอกย้ำคลื่นวิทยุหนึ่งเดียวเพื่อสิ่งแวดล้อม
—
ถือเป็นอีกหนึ่งกำลังใจดีดี วันนี้ ดีเจเฟี้ยต ธัชนนท์ จารุพัชนี...
CMAN คว้ารางวัลสถานประกอบการประหยัดพลังงานดีเด่น
—
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (ซ้าย) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบโล่รางวัลสถา...
"SYS" โรงงานเหล็กรายแรกที่คว้ารางวัลเกียรติยศโรงงานที่มีการประหยัดพลังงานดีเด่น สะท้อนความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
—
SYS เหล็กดีที...
เชลล์คว้า 2 รางวัลดีเด่นระดับประเทศและระดับอาเซียน จากอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
—
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โดย นางสาวอรอุทัย ณ เชียงให...
"SYS" คว้ารางวัลเกียรติยศด้านการจัดการพลังงานในโรงงานดีเด่น จากกระทรวงพลังงาน
—
นายสุรศักดิ์ พูลเกิด ผู้จัดการโรงงานห้วยโป่ง บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด...