สถานการณ์การระบาดของโควิดเริ่มมีทิศทางผ่อนคลายลงโดยเฉพาะในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้ว ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้นกลับมาฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญและเติบโตเหนือระดับก่อนโควิด ตลาดแรงงานที่เริ่มกลับสู่ระดับปกติมากขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อมีสัญญาณเร่งตัวเป็นปัจจัยที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของตลาดการเงินโลกรวมทั้งตลาดการเงินของอาเซียนอีกครั้ง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มส่งสัญญาณพิจารณาถึงการปรับลดขนาดของมาตรการ QE ที่น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้และนำไปสู่คาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้นนโยบายสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2565 ในทำนองเดียวกัน ธนาคารกลางยุโรปก็ได้ส่งสัญญาณที่จะลดขนาด QE ลงในการประชุมรอบล่าสุดที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้เป็นธนาคารกลางแรกๆ ที่เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงินเดือนสิงหาคม 2564 จากหลังเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาสู่ระดับ 2.6% ในเดือนสิงหาคม 2564 อันเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี ตลอดจน การปรับขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือนที่เป็นผลจากการระบาดของโควิดที่ส่งผลให้ระดับหนี้ครัวเรือนทะลุระดับ 100% ของจีดีพีเป็นครั้งแรก ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ธนาคารกลางยุโรป ตลอดจน ธนาคารกลางเกาหลีใต้ อาจเป็นภาพสะท้อนถึงทิศทางของคลื่นการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงินที่กำลังเข้าใกล้เศรษฐกิจอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ หากพิจารณาการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางของประเทศในอาเซียนจะพบว่า กรอบในการดำเนินนโยบายการเงินของแต่ละธนาคารกลางอาจมีความแตกต่างกันตามน้ำหนักปัจจัยในประเทศ อาทิ ระดับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พัฒนาการเงินเฟ้อ และปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ตลอดจน ประเด็นด้านเสถียรภาพต่างๆ ซึ่งอาจมีผลต่อจังหวะในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจของทิศทางนโยบายการเงินของอาเซียนในระยะข้างหน้า ดังนี้
โดยสรุป ประเทศสิงคโปร์น่าจะเป็นผู้นำของเศรษฐกิจกลุ่มอาเซียน-6 ที่เริ่มปรับท่าทีการดำเนินโนยายการเงินให้เข้มงวดขึ้นผ่านการปรับความชันของอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนฟิลิปปินส์คงจะเป็นประเทศที่เผชิญกับแรงกดดันในการขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นรายต่อไป ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การไหลออกของเงินทุน ตามมาด้วยเศรษฐกิจเวียดนามที่คงมีปรับท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินหลังจากที่เศรษฐกิจกลับมาเติบโตตามระดับศักยภาพมาระยะหนึ่งแล้วเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจตลอดจนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เวียดนามอาจถูกจัดในกลุ่มประเทศที่แทรกแซงค่าเงิน ขณะที่มาเลเซียและอินโดนีเซียคงเลือกจังหวะในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สอดคล้องกับเฟดเนื่องจากตลาดการเงินของอินโดนีเซียและมาเลเซียมีระดับของการพึ่งพิงเงินทุนต่างชาติที่ค่อนข้างสูงโดยเปรียบเทียบ โดยช่วงเวลาดังกล่าวเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศกลับมาฟื้นตัวเหนือระดับก่อนโควิดไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไทยคาดว่าจะเป็นประเทศท้ายๆ ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิดมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน-6 อย่างมีนัยสำคัญ จึงต้องอาศัยการดำเนินโยบายการเงินผ่อนคลายที่นานกว่าประเทศอื่นๆ
เปรียบเทียบกรอบการดำเนินโยบายการเงินและเครื่องชี้เศรษฐกิจการเงินของประเทศกลุ่ม ASEAN-6
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม กรอบการดำเนินนโยบายการเงิน เป้าหมายเงินเฟ้อ เป้าหมายเงินเฟ้อ เป้าหมายเงินเฟ้อ เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน เป้าหมายเงินเฟ้อ ผสมผสานระหว่างเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนและเป้าหมายปริมาณเงิน ปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจปี 65-66 ต่ำ-ปานกลาง ปานกลาง ต่ำ-ปานกลาง ต่ำ-ปานกลาง สูง ต่ำ-ปานกลาง GDP ปี 2563 -2.1% -9.6% -5.6% -5.4% -6.1% +2.9% ขนาดของ GDP 4 ไตรมาสล่าสุดเทียบกับ GDP ปี 2562 -0.6% -7.9% -2.0% -1.9% -5.2% +5.4% บทบาทในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน OJK ธนาคารกลาง ธนาคารกลาง ธนาคารกลาง ธนาคารกลาง ธนาคารกลาง เป้าหมายเงินเฟ้อ 2.0-4.0% 2.0-4.0% 2.5-4.0% n.a. 1.0-3.0% น้อยกว่า 4% ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.50% 2.00% 1.75% n.a. 0.50% 4.00% อัตราเงินเฟ้อล่าสุด 1.59% 4.87% 2.16% 2.52% -0.02% 2.82% การเปลี่ยนแปลงราคาอสังหาสินทรัพย์ 1Q64 (%YoY) 1.35% -4.20% 0.30% 6.64% 2.10% n.a. การเปลี่ยนแปลงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (%YTD) 2.9% -1.6% -4.0% 7.4% 13.1% 20.6%
กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) คงดอกเบี้ยที่ 4.25-4.50% ตามคาด อย่างไรก็ดี แม้ Fed จะพยายามส่งสัญญาณว่าความไม่แน่นอนมากขึ้นและเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ตลาดกลับให้โอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยในปีนี้มีมากขึ้น โดย Price-in ที่ราว 75 bps ซึ่งมากกว่าที่ Fed สื่อสารใน Dot plot สำหรับมุมมองในระยะต่อไป SCB FM ยังคงมุมมองเดิมว่า Fed อาจลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ โดยการลดครั้งแรกอาจเป็นการประชุมเดือน มิ.ย. และอาจลดอีกครั้งในช่วง
บลจ. ไทยพาณิชย์ เปิดตัว Thai ESG น้องใหม่ กองทุน SCBTD(ThaiESG) โอกาสลงทุนหุ้นไทยปันผลที่โดดเด่นด้าน ESG เปิด IPO วันที่ 5 - 11 พ.ย. 67
—
นางนันท์มนัส เปี...
ดอกเบี้ยขาลง หนุน 4 สินทรัพย์กำไรติดปีก ธ.ทิสโก้ฟันธง เหมาะลงทุนไตรมาส 4 ฝ่าตลาดผันผวน
—
ธนาคารทิสโก้เคาะ 4 สินทรัพย์ เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนช่วงอัตราดอกเ...
ทิสโก้แนะกระจายซื้อ "บอนด์สั้น" หวั่นหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐาน
—
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) คาดตลาดหุ้นสหรัฐฯ จ่อปรับฐานในไตรมาส 4 รับ 2 ...
ทิสโก้เผย Fed ลดดอกเบี้ยมากกว่าคาด ชี้! ปีนี้อาจลดต่ออีก 0.5% และปี 68 ลงอีก 1 - 1.25%
—
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ชี้ ธนาคารกลาง...
ระลอกคลื่นของปี 2023: ข้อมูลเชิงลึกของ FBS เกี่ยวกับแนวโน้มทางการเงินทั่วโลกในปี 2024
—
ในขณะที่ปี 2023 กำลังจะสิ้นสุดลง FBS โบรกเกอร์ชั้นนำระดับโลกจะทำกา...
KKP ออกรายงาน The Year Ahead 2024 แนะนำเพิ่มการลงทุนหุ้นไทยครั้งแรกในรอบ 15 ปี และมองตราสารหนี้คุณภาพสูงในต่างประเทศ (Investment Grade Bond) โดดเด่น
—
บริษัทหลักท...
จับตา "ทองคำ - น้ำมัน" อาจกลับเข้าสู่ขาขึ้น หลังเกิดสงครามอิสราเอลกับฮามาส
—
ตุลาคมโอกาส "ทองคำ น้ำมัน" เป็นขาขึ้นทั้งในช่วงสั้นและระยะยาว ราคาเด้งรับปัจจ...
บล.ทิสโก้แนะ ทยอยขายหุ้นไทย ล็อกกำไรช่วงราคาปรับขึ้น
—
บล.ทิสโก้ แนะนักลงทุนทยอยขายหุ้นล็อกกำไรช่วงราคาปรับขึ้นแรง ชี้นักวิเคราะห์มีแนวโน้มหั่นกำไรบริษัทจ...