ผู้นำโลกให้คำมั่นแก้ปัญหาความหิวโหย โลกร้อน การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และความไม่เสมอภาค ในการประชุมสุดยอดระบบอาหารโลกครั้งประวัติศาสตร์

ผู้นำจากทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมสุดยอดระบบอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Food Systems Summit) ครั้งแรก โดยพยายามกระตุ้นให้เกิดการลงมือปฏิบัติในระดับชาติและระดับภูมิภาค เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง การประชุมสุดยอด7 ข้อผ่านการเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร โดยผู้นำประเทศกว่า 85 คนจากทั่วโลกได้ให้คำมั่นสัญญาร่วมกัน

สืบเนื่องจากรายงาน IPCC ฉบับล่าสุด ซึ่งเตือนภัยโลกร้อนจากฝีมือมนุษย์ระดับ "Code Red" ทางสหประชาชาติจึงให้คำมั่นจัดสรรงบประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความไม่มั่นคงทางอาหาร

ครึ่งหนึ่งของงบประมาณดังกล่าวจะนำไปรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ว่า "ทุกประเทศ แม้แต่ประเทศที่ผลิตอาหารได้เกินความต้องการ ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อยกระดับโภชนาการและปรับเปลี่ยนระบบอาหารให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้คนจนเพิ่มขึ้นถึง 124 ล้านคน ขณะที่ความชุกของภาวะโภชนาการต่ำเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 9.9% 

จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ประกาศว่า นิวซีแลนด์จะเข้าร่วมกลุ่มความร่วมมือระบบอาหารชนพื้นเมือง (Indigenous Peoples' Food Systems Coalition) โดยกล่าวว่า "เราจะสร้างความมั่นใจว่าชนพื้นเมืองสามารถช่วยกรุยทางไปสู่ความก้าวหน้าได้"

ขณะเดียวกัน หลายประเทศได้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนสิทธิของชนพื้นเมือง ได้แก่ ฮอนดูรัส ซามัว เปรู และฟิลิปปินส์

"เราในฐานะประชาคมโลก ยังไม่สามารถทำตามคำมั่นสัญญาในการขจัดความหิวโหยให้หมดไป" เซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีฟินแลนด์ กล่าว

ชีค ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ ตอกย้ำถึงความสำคัญของ "อาหารที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน" ขณะที่ประเทศบูร์กินาฟาโซตั้งใจบรรจุเรื่องสิทธิในการเข้าถึงอาหารไว้ในรัฐธรรมนูญ

ด้านกัมพูชาให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ตลอดจนสร้างงานให้แก่เยาวชนและสตรี

โจไซอา วอเรเก ไบนิมารามา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐฟิจิ กล่าวว่า "สิ่งแวดล้อม คน และระบบอาหารไม่อาจแยกจากกันได้และต้องค้ำจุนซึ่งกันและกัน เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อคนรุ่นเราและรุ่นต่อไปในอนาคต"

ขณะเดียวกัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ประกาศเปิดตัว Agriculture Innovation Mission (AIM) for Climate ร่วมกับสหรัฐอเมริกา

"เราต้องใช้พลังของปัญญาในการปรับปรุงระบบอาหาร เพื่อจัดหาอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ ราคาเอื้อมถึง และเข้าถึงง่ายให้แก่ทุกคน พร้อมกับอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ" ทอม วิลแซก รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา กล่าว   

รายงานทั้งหมดได้รับการรวบรวมในบทคัดย่ออย่างเป็นทางการ และคำมั่นสัญญาทั้งหมดรวบรวมไว้ที่ Commitments Registry

นอกจากนี้ เมลินดา เกตส์ จากมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation ได้ประกาศมอบเงิน 922 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้การสนับสนุนด้านโภชนาการ

สื่อมวลชนติดต่อ
Katie Taft 
อีเมล: [email protected]


ข่าวการพัฒนาที่ยั่งยืน+การประชุมสุดยอดวันนี้

ยัสปาล กรุ๊ป เดินหน้ายกระดับโลจิสติกส์ด้วยรถบรรทุกไฟฟ้า (EV truck) ตอกย้ำวิสัยทัศน์สร้างความยั่งยืน

ยัสปาล กรุ๊ป หรือ บริษัท ยัสปาล จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำธุรกิจสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์แห่งภูมิภาคอาเซียน เดินหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบโลจิสติกส์มาใช้พลังงานสะอาด โดยเริ่มใช้งานรถบรรทุกไฟฟ้า (EV Truck) สำหรับการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ พร้อมขยายผลสู่การลดของเสีย (Waste Reduction) ในกระบวนการดำเนินงาน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม นายจรัญ สิงห์สัจจเทศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ยัสปาล กรุ๊ป หรือ บริษัท ยัสปาล จำกัด (มหาชน)

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ... อ.ส.ค. มอบรางวัลการประกวดโคนม ครั้งที่ 40 ยกระดับการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทย — องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จัดการประกวดโคนมระดับประเทศใ...

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่ง... การเคหะแห่งชาติพาชุมชนดินแดงสุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทย — นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติมีโครงการที่อยู่อาศัยในคว...