สหไทย เทอร์มินอล (PORT) หนึ่งในผู้นำการให้บริการท่าเทียบเรือและโลจิสติกส์แบบครบวงจรเผยผลประกอบการ ไตรมาส 3 ปี 2564 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 12.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 46.75%
คุณเสาวคุณ ครุจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT กล่าวว่า "สำหรับ ไตรมาส 3 ปี 2564 บริษัทฯมีรายได้รวม 518.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.83% จากรายได้รวม 341.25 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการให้บริการในการเป็นตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก(Freight forwarder) และบริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า โดยมีกำไรขั้นต้น 71.24 ล้านบาท ลดลง 23.18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 11.90 ล้านบาท ลดลง 50.89% จากกำไรสุทธิ 24.23 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปี 2563 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 12.21 ล้านบาท ลดลง 47.89% ถึงแม้บริษัทฯจะมีรายได้จากการให้บริการเป็นตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก(Freight forwarder)เพิ่มขึ้น เพื่อมาชดเชยรายได้จากกิจกรรมบริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ แต่เนื่องจากกิจกรรมการให้บริการเป็นตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก(Freight forwarder)นั้น มีกำไรขั้นต้นที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตรากำไรขั้นต้นของรายได้จากบริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในภาพรวมยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน แต่อย่างไรก็ตามจากอัตราค่าระวางเรือที่ทรงตัว ทำให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกบางส่วนเริ่มปรับตัวรับกับอัตราค่าระวางเรือดังกล่าวได้ ทำให้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนผลการดำเนินการของบริษัทฯมีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีกำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 46.75%"
คุณบัญชัย ครุจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT กล่าวเสริมว่า "สำหรับ 9 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ บริษัทฯมีรายได้เติมโต 16.94 % โดยมีเติบโตในทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการบริการขนส่งทางบก การบริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า ร่วมถึงบริการต่อเนื่องอื่น เว้นแต่รายได้จากกิจกรรมท่าเรือที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่กดดันอยู่ และคาดว่ายังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 4 ของปีนี้ ทางบริษัทฯยังคงติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและมุ่งที่จะเพิ่มปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือให้ได้โดยเร็ว โดยบริษัทฯเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ดังกล่าวได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ด้วยปัจจุบันรัฐบาลในหลายประเทศได้มีนโยบายและมาตรการต่างๆเพื่อรณรงค์ให้ประชากรของตนเองเข้ารับวัคซีน พร้อมผลักดันให้ประชากรสามารถอยู่ร่วมกับโควิด-19ได้ ทำให้ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้สถานการณ์ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนเริ่มดีขึ้น อัตราค่าระวางเรือที่เริ่มทรงตัวตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา"
สำหรับโครงการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่ที่ PORT ร่วมลงทุนกับกลุ่มน้ำตาลมิตรผล และ บริษัท APM Terminals จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ A.P.Moller-Maersk สายเรืออันดับหนึ่งของโลก ผ่านบริษัท บางกอก ริเวอร์ เทอมินอล จำกัด (Bangkok River Terminal : BRT) โครงการดังกล่าวจะให้บริการท่าเรือขนส่งตู้สินค้าระหว่างประเทศ (feeder) ตั้งอยู่บนพื้นที่ว่า 45 ไร่ เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต ซึ่งปัจจุบันได้รับการอนุมัติ EIA แล้ว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมให้บริการในปลายปี 2565 ส่วนโครงการศูนย์กระจายสินค้าบนพื้นที่กว่า 40 ไร่ ซึ่ง PORT ร่วมทุนกับกลุ่มเฟรเซอร์สฯ ผู้นำการให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมไทย คาดว่าจะเปิดดำเนินการในต้นปี 2565 โดยจะเปิดในเขตพื้นที่ขอบเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านบริษัท บริษัท บางกอก โลจิสติกส์ พาร์ค จำกัด (Bangkok Logistics Park : BLP) หากโครงการทั้ง 2 ได้เริ่มเปิดดำเนินการ บริษัทฯเชื่อมั่นว่าจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจอีกด้วย
บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT เป็นผู้ให้บริการท่าเรือเอกชนครบ วงจรรายใหญ่ของประเทศไทยโดยให้บริการตั้งแต่ 1. ธุรกิจการให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ ครบวงจรสำหรับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Feeder) และเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง (Barge) รวมถึงการให้บริการบรรจุสินค้าเข้าและถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ (CFS) และซ่อมแซมทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ (Container Depot) 2.ธุรกิจการให้บริการขนส่ง ตู้คอนเทนเนอร์ทางบก ภายในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลบริเวณเขตพื้นที่แหลมฉบัง 3. ธุรกิจการให้บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้าโดยให้บริการพื้นที่ลานพักตู้คอนเทนเนอร์ และคลังจัดเก็บสินค้ากับลูกค้า ทั้งที่เป็นเขตให้บริการปกติและปลอดภาษีอากร (Free Zone) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯให้บริการแก่กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกกลุ่มธุรกิจ e-commerce และอีกหลากหลายอุตสาหกรรม 4.ธุรกิจการให้บริการ เกี่ยวเนื่องอื่นๆ อาทิ การให้บริการ Freight Forwarding เป็นต้น
Thailand's globally renowned festivals, Songkran and Loy Krathong, possess immense cultural and tourism potential—yet remain underleveraged in driving international travel. Despite high levels of global awareness, participation remains low due to concerns over safety, festival management, and infrastructure. A recent study by Sasin Management Consulting (SMC) reveals that only a fraction of international tourists visits Thailand specifically for these celebrations. To transform Songkran and Loy
CH รับมือกำแพงภาษีทรัมป์ เร่งส่งสินค้า เดินหน้าเจรจาคู่ค้าเดิม ขยายลูกค้าใหม่ทั่วโลก สร้างโอกาสเติบโต
—
CH รับมือมาตรการภาษีนำเข้าสหรัฐฯ เร่งส่งออกสินค้าล...
Digital Marketing คืออะไร? เข้าใจการตลาดออนไลน์สำหรับยุคดิจิทัล
—
Digital Marketing คืออะไร Digital Marketing หรือ การตลาดดิจิทัล คือการทำการตลาดผ่านช่องท...
'อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์' เปิดตัวเฟอร์นิเจอร์กับหัตถศิลป์ทรงคุณค่าคอลเลกชัน 'เคียงตั๋ว' สไตล์ Lannavian
—
สานต่อพันธกิจความยั่งยืนเพื่อสังคม ปีที่ 2 ภายใต้...
MGC-ASIA ดำเนินมาตรการเชิงรุก ตรวจสอบความปลอดภัย อาคารในเครือทั่วประเทศ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
—
บริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด (มหา...
"แบรนด์ซุปไก่สกัด" รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ "สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์" จับมือ "ตำรวจทางหลวง" และ "ตำรวจจราจร" แจกแบรนด์ซุปไก่สกัด
—
"แบรนด์ซุปไก่ส...
KFC เล่นใหญ่รับสงกรานต์! ส่งเมนูฮิต 'ป๊อป บอมบ์ แซ่บ' พร้อมแคมเปญสุดกวน
—
แจกเสื้อกันฝนให้กับคนอยากแซ่บมาปกป้อง ป๊อป บอมบ์ แซ่บ ไม่ให้เปียกน้ำ สงกรานต์ปี ...