มะเร็งเต้านม ถือได้ว่าเป็นมะเร็งร้ายอันดับหนึ่งของผู้หญิง เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมะเร็งในผู้หญิงพบมากเป็นอันดับหนึ่งทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า มีผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คนต่อปีหรือ 35 คนต่อวัน ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่รู้หรือไม่ว่าโรคมะเร็งเต้านมไม่ได้มีแค่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายก็สามารถเป็นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งมีสาเหตุคล้าย ๆ กับมะเร็งเต้านมในผู้หญิง โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเมื่อเทียบกับจำนวนผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม 100 คน จะมีประมาณ 0.5-1 % เท่านั้น ซึ่งถือว่าพบได้น้อยมาก ๆ
สัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกว่า คุณมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม คือ การที่รูปร่างของเต้านม หรือหัวนมเปลี่ยนไป เช่น เต้านมอาจโตขึ้น แฟบลง ผิดรูป บวมร้อนแดง หรือหัวนมบุ๋ม มีแผลเรื้อรังที่เต้านม มีของเหลวไหลออกจากหัวนม และในบางคนอาจมีรักแร้บวมร่วมด้วย มะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ บริเวณเต้านม ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ซึ่งอาจเกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติของ ฮอร์โมนเพศในร่างกาย อาจเคยเป็นซีสต์หรือถุงน้ำที่เต้านม หรือการอักเสบ ซึ่งตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย การเกิดก้อนเนื้อ เนื้องอกหรือมะเร็ง เนื่องมาจากในร่างกายมีความร้อนสะสมกันเป็นเวลานาน ๆ ที่บริเวณใด บริเวณหนึ่งจนทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ร้อน รวมไปถึงการรับประทานอาหารผิดสำแดง เช่น ของหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง อาหารค้างคืนที่ไม่สดใหม่ อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดกรด หรือหินปูนในเลือดสูง เช่น หน่อไม้ สะตอ ยอดผักอ่อน ๆ เช่น กระถิน ชะอม ซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนแต่จะทำให้เกิดการตกตะกอน และสะสมคั่งค้าง อุดตัน ทำให้ระบบเลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนได้ไม่ดี จนเกิดการอักเสบ เมื่ออักเสบเรื้อรังเป็นระยะเวลานานอาจกลายเป็นตุ่มฝี ก้อนเนื้อ บวมโตและมีความร้อนกดเจ็บ ถ้าไม่ได้รับการดูแลและรักษาที่ถูกต้องตุ่มฝี หรือก้อนเนื้ออาจจะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ เช่น การอักเสบของก้อนซีสต์บริเวณเต้านม
5 วิธีการลดความเสี่ยงป้องกันโรคมะเร็งเต้านม
1.หลีกเลี่ยง หรือจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงไม่กี่ครั้งในหนึ่งอาทิตย์ สามารถทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นถ้าหากลดปริมาณการดื่มลงได้ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงลงได้ส่วนหนึ่ง
2. ออกกำลังกาย
การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ออกกำลังกาย โดยสามารถลดความเสี่ยงลงได้ 20-30% ด้วยการออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลาง เช่น การเดินเร็ว เต้นแอโรบิค และโยคะ สัปดาห์ละ 3-4 ชั่วโมง การออกกำลังกายยังช่วยลดความเสี่ยงของการกลับเป็นซ้ำในผู้ที่เคยได้รับการรักษามะเร็งเต้านม
3. ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนวัยหมดประจำเดือน
ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมักจะมีอาการต่าง ๆ เช่น อาการร้อนวูบวาบ มีเหงื่อมากในเวลากลางคืน นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน และรู้สึกอ่อนเพลียง่าย เป็นต้น ดังนั้นการรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ถือเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจากการศึกษาของ WHO พบว่า ผู้หญิงที่ได้รับยาฮอร์โมน มีโอกาสพบมะเร็งเต้านม เพิ่มมากขึ้น 24% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับฮอร์โมนต้องใช้ภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด และไม่ควรไปซื้อยาหรือครีมสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิงมาใช้ เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้
4.หมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
เราสามารถเลี่ยงการเป็น "มะเร็งเต้านม" ได้ คือ ควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมและหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นให้ได้เร็ว โดยทั่วไปจะแนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือถ้ามีความปกติบริเวณเต้านมควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยได้ถูกต้องและทันต่อการรักษา
5. ทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก
เน้นการทานพืชเป็นหลัก เช่น โฮลเกรน ผัก ผลไม้ และถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเลนทิล อาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แคโรทีนอยด์กลูโคไซโนเลท ฯลฯ ที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกายมนุษย์ และยับยั้งการขยายตัวของเซลล์ผิดปกติ ซึ่งอาจจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้การทานผักและผลไม้ยังช่วยควบคุมน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งเต้านม
นอกจากอาหารที่แนะนำแล้วยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตามศาสตร์แผนไทยก็คือสมุนไพร ที่มีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบเลือดและน้ำเหลือง เสริมภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง อาทิ เห็ดกระถินพิมาน ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ล้วนแต่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการเสริมภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยเห็ดกระถินพิมานมีงานวิจัยพบว่า มีสาร Polyphenols และ Hispolon ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวน และกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเต้านมในหลอดทดลอง ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ มีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม และยังพบว่าสารสกัดจากข้าวเย็นใต้ช่วยยับยั้งการเติบโตเซลล์มะเร็งเต้านมของมนุษย์ได้อีกด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.natureherbinter.com หรือ LINE ID : Natureherbinter โทร 02 117 9899
เรียบเรียงบทความโดย: พทป.ฐิตารีย์ สุนทรพิสิทธิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
กรมอนามัย ลงพื้นที่ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในศูนย์พักพิง เจเจ มอลล์ จตุจักร กรุงเทพมหานคร และบริเวณศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ฯ เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชนและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปฏิบัติงานกู้ซากอาคารถล่ม และญาติผู้ประสบภัยที่พักอาศัยภายในศูนย์พักพิงฯ เนื่องจากแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา พร้อมเผยผลตรวจวัดคุณภาพอากาศ พบฝุ่นโลหะหนัก แร่ใยหินอยู่เกณฑ์ปกติ แต่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐาน แนะ สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัย
งานสัมมนา "เมื่อไหร่ควรพบแพทย์? อาการปัสสาวะเล็ด ราด บ่อย ลำบาก, ติดเชื้อ, นิ่วในไต, ต่อมลูกหมากโต"
—
หากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัส...
รพ.ธนบุรี จับมือ รพ.ศิริราช จัดงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านกระดูกสันหลังนานาชาติ
—
รพ.ธนบุรี ในเครือ THG นำโดย ศ.คลินิก.นพ.วิศิษฏ์ วามวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าท...
ประจำเดือนมาเจ็บหน้าอกทุกที สาเหตุโรคลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด
—
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้เจอเคสผู้ป่วยหญิงอายุราว 40 ปี มารักษาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็น ๆ หาย...
ไขข้อข้องใจโรคไส้เลื่อน
—
นพ.ศิรสิทธิ์ เลาหทัย ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง กล่าวว่า ใครที่กำลังคิดว่า ไม่ใส่กางเกงชั้นในแล้วจะเป็นไส้...
เช็กลิสต์สุขภาพดีฉบับผู้หญิงยุคใหม่
—
ร่วมฉลองวันสตรีสากลปี 2025 นี้ ภายใต้ธีม "Accelerating Action" เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่...
"Cryoablation จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น 3 มิติ รักษา "หัวใจเต้นผิดจังหวะ"
—
Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัยและปลอดภัย โด...
'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ
—
นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกระ...
ทีม SEhRT ผลัด 2 รับไม้ต่อร่วมจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในประเทศเมียนมาเหตุแผ่นดินไหวเสี่ยงสุขภาพประชาชน
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีม SEhR...