AMR เปิดแผนลุยบิ๊กโปรเจค คมนาคมขนส่ง-ไอทีและโซลูชั่น-พลังงานทดแทน-เปลี่ยนสายไฟลงใต้ดิน หนุน Backlog เพิ่มปีละไม่ต่ำกว่า 2 พันลบ.

AMR ผู้นำระบบ SI ครบวงจร กางแผนเติม Backlog ปีละไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท เหยียบคันเร่งเต็มสูบหลังตุนเงินเต็มหน้าตักจากไอพีโอ ลุยขยายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงขึ้นและเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ ฟากผู้บริหาร "มารุต ศิริโก" เผยมีโปรเจคนับแสนล้านบาท ด้านคมนาคมขนส่ง-ไอทีและโซลูชั่น-โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์-เปลี่ยนสายไฟลงใต้ดิน ที่เกี่ยวข้องกับงานของ AMR เผยมีโอกาสได้งานใหม่เพียบ พร้อมดันธุรกิจใหม่เพิ่มเพื่อรับรู้รายได้สม่ำเสมอ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

AMR เปิดแผนลุยบิ๊กโปรเจค คมนาคมขนส่ง-ไอทีและโซลูชั่น-พลังงานทดแทน-เปลี่ยนสายไฟลงใต้ดิน หนุน Backlog เพิ่มปีละไม่ต่ำกว่า 2 พันลบ.

นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMR) ผู้นำด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น (System Integrator : SI) ครบวงจรรายแรกของไทย เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลัง 2564 และแผนพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคต พร้อมร่วมประมูลงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบคมนาคมขนส่ง ไอทีและโซลูชั่น พลังงานทดแทน และงานเปลี่ยนสายไฟฟ้าลงใต้ดิน มั่นใจเติม Backlog กว่า 1,000 ล้านบาทในช่วงที่เหลือของปี

"AMR สนใจจะเข้าร่วมประมูลงานทั้งหมด เพราะบริษัทฯ เป็นผู้นำระบบ SI ครบวงจร ทีมงานมีประสบการณ์มายาวนาน มีความพร้อม และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโปรเจคขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการน้ำ งานติดตั้งระบบสื่อสารและอาณัติสัญญาณให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้มีโอกาสได้งานใหม่ในช่วง 3 ปีข้างหน้า และผลักดันงานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ตามแผนงานที่วางไว้"

บริษัทฯ มีแผนที่จะใช้เงินประมาณ 850 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 85% ของมูลค่าเงินที่ได้จากการระดมทุนไอพีโอราว 1,035 ล้านบาท ไปใช้สำหรับขยายการลงทุนใหม่ ๆ เพิ่มเติม โดยมีเป้าหมายเพื่อจะทำให้มีรายได้และกำไรเพิ่มมากขึ้น อันหมายถึงจะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังจะช่วยเพิ่มฐานของรายได้ประจำ (Recurring Income) ให้เพิ่มขึ้นด้วย และเชื่อว่าธุรกิจใหม่ที่ AMR เข้าไปลงทุนนั้น จะเป็น New S curve ที่ช่วยผลักดันธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต

สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 มีกำไรสุทธิ 79.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.35% เมื่อเปรียบเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน และสำหรับไตรมาส 2/2564 มีกำไรสุทธิ 49.96 ล้านบาท สาเหตุที่ทำให้ผลประกอบการเติบโตขึ้นเนื่องจากต้นทุนงานโครงการให้บริการวางระบบรถไฟฟ้าที่ลดลง รวมถึงมีการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ดีขึ้น พร้อมกันนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาลในอัตรา 0.08 บาท/หุ้น โดยกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 30 ส.ค.นี้ และกำหนดจ่ายปันผลในวันที่ 15 ก.ย. 2564

กรรมการผู้จัดการ AMR กล่าวอีกว่า แม้จะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ แต่บริษัทฯ ยังสามารถรักษาการเติบโตของกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ในงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 ได้ในระดับสูงกว่า 28.16% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 20.33% สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในอนาคตจะยังคงรักษาจุดเด่นตรงนี้เอาไว้ต่อไป

สำหรับความเคลื่อนไหวของ AMR ล่าสุดได้ลงนามโครงการใหม่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เกี่ยวกับโครงการวางระบบ งานซ่อมบำรุง และงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์รวม 247 ล้านบาท และมีโครงการที่อยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญาช่วงครึ่งปีหลัง 2564 จำนวน 527 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเสนอและเตรียมการเสนอราคา เกี่ยวข้องกับงานโครงการและวางระบบคมนามคมขนส่ง ระบบ ICT ระบบพลังงาน ระบบสาธารณูปโภค และเมืองอัจฉริยะ มูลค่าสัญญา 2,439 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมการเสนอราคางานรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีม่วงใต้ที่คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 และระบบขนส่งเมืองหลัก

ขณะที่โอกาสการลงทุนในอนาคตของ AMR มีความพร้อมในการเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายรองย่านรังสิต อีกทั้งยังมีแผนขยายการลงทุนให้บริการเคเบิลคาร์เพื่อการท่องเที่ยว แผนการติดตั้ง Solar Rooftop โดยเป็นผู้ลงทุนแบบแบ่งรายได้จากการลดค่าไฟฟ้า และให้บริการสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์อีกด้วย


ข่าวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์+โรงไฟฟ้าพลังงานแสงวันนี้

บี.กริม เพาเวอร์ กดปุ่ม COD โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 14 เมกะวัตต์ ในประเทศญี่ปุ่น รุกขยายพอร์ตพลังงานทดแทนทุกภูมิภาคทั่วโลก มุ่งสู่เป้าหมาย Net-Zero

ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท Odakura Kuchinashi Solar Park LLC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ Lohas ECE Spain Gifu Co., Ltd. ถือหุ้น 100% ประกาศเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน กำลังการผลิตติดตั้ง 14 เมกะวัตต์ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่นิชิชิราคาวะ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัท

TMI จับมือ บริษัท เจียมพัฒนาพลังงาน อินเต... TMI จับมือ "เจียมพัฒนาพลังงานฯ" รุกยุโรป ลุยธุรกิจ "โซลาร์ฟาร์ม" กำลังผลิต 130 MW — TMI จับมือ บริษัท เจียมพัฒนาพลังงาน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ลงนาม MOU ...

TMI จับมือ "เจียมพัฒนาพลังงานฯ" รุกยุโรป ลุยธุรกิจ "โซลาร์ฟาร์ม" กำลังผลิต 130 MW

TMI จับมือ บริษัท เจียมพัฒนาพลังงาน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ลงนาม MOU พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) กำลังการผลิต 130 เมกะวัตต์ ในทวีปยุโรป มูลค่าเงินลงทุน 4,000-5,000 ล้านบาท...

จีนผลักดันโครงการโซลาร์เซลล์ในทะเลทราย หนุนรายได้เกษตรกร

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของสำนักข่าวซินหัวสาขามองโกเลียใน เมื่อมองจากมุมสูง โซลาร์เซลล์สีฟ้าจำนวน 196,000 แผง ก่อตัวกันเป็นรูปม้าที่กำลังวิ่งฝ่าทะเลทรายคูปู้ฉี เมื่อเดินชมรอบ ๆ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านไฉเติงของ...

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) น... พรีเมียร์ โพรดักส์ สร้างปรากฏการณ์ในงาน SETA 2024 เปิดตัวนวัตกรรมพลังงานสะอาดล้ำสมัย — บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) นำโดยคุณ ธิติพัทธ์ อดิลักษณ...