นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการแถลงข่าว การประกาศใช้หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรฉบับใหม่ โดยมี นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุรเดช สมิเปรม นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นางสาวศศิมา ราชานนท์ นิติกรเชึ่ยวชาญ นางสาวพัชรณัฏฐ์ เจริญพัฒนาภัค นิติกรชำนาญการพิเศษ จากกรมบัญชีกลาง พร้อมคณะผู้บริหารร่วมชี้แจงรายละเอียดและให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงการดำเนินงานในการให้ความความช่วยเหลือ ณ ห้องประชุม ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ประภัตร โพธสุธน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับสถานการณ์ภาคเกษตรของประเทศ จากความห่วงใยที่มีต่อพี่น้องเกษตรกรทุกสาขาอาชีพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงการคลัง ประกาศใช้หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านการเกษตรฉบับใหม่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเพื่อปรับปรุงอัตราการให้ความช่วยเหลือให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นจากหลักเกณฑ์เดิมตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งร่างหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 โดยมีขอบเขตการจ่ายเงินทดรองราชการว่า จะต้องเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินด้านการเกษตร แก่ผู้ประสบภัยที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลแต่ละด้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนเกิดภัยพิบัติ ซึ่งมีหลายด้าน อาทิ ด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์
ในส่วนของปศุสัตว์มีการปรับเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเกือบทุกชนิดสัตว์ และมีอัตราเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยคาดว่าเกษตรกรผู้ประสบภัยจากโรคลัมปี - สกินจะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับการช่วยเหลือตามอัตราใหม่ โดยหลักเกณฑ์ฯ ระบุว่าผู้ประสบภัยพิบัติในกรณีที่เป็นการจัดหาอาหารสัตว์ วัคซีนและเวชภัณฑ์รักษาสัตว์ เพื่อการฟื้นฟู สุขภาพสัตว์เลี้ยงและการจัดหาอาหารสัตว์ตามราคาท้องตลาด หรือตามความจำเป็นเหมาะสม การให้ความช่วยเหลือกรณีแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตายหรือเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟูหรือเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้ ให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นเงินในอัตราไร่ละ 1,980 บาท แต่ไม่เกินรายละ 30 ไร่ การให้การช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายหรือสูญหายให้ช่วยเหลือตามจำนวนที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินเกณฑ์การช่วยเหลือโดยดำเนินการช่วยเหลือ อาทิ
" สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี - สกิน ในโค - กระบือนั้น กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการต่างๆ ในการควบคุมโรค ทำให้สถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้นตามลำดับ และตอนนี้กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการสั่งวัคซีน LSDV ป้องกันโรคลัมปี สกิน เข้ามาเพิ่มอีก 5 ล้านโด๊ส โดยจะมีการนำเข้ามาถึงประเทศไทยภายในวันที่ 6 กันยายน 2564 ล็อตแรก 2.5 ล้านโด๊ส และจะทยอยเข้ามาอีกในล็อตที่สองและล็อตที่สาม จนครบ 5 ล้านโด๊ส ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการวางแผนจัดสรรวัคซีนไว้แล้ว ยึดตามหลักรวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม ตามสัดส่วนของจำนวนประชากรสัตว์ทั่วประเทศ โดยขณะนี้หน่วยงานในสังกัดของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ มีการทำแผนวัคซีนเรียบร้อยแล้ว และสามารถดำเนินการได้ทันทีที่วัตซีนมาถึง นอกจากนี้ ในส่วนของการจ่ายเงินเยียวยากรณีโค - กระบือ เสียชีวิตจากโรคลัมปี - สกินนั้น คาดว่าจะเริ่มจายเงินเยียวยาให้กับเกษตรกรที่ยื่นเอกสารเข้ามาและผ่านการตรวจสอบตามกระบวนการของกรมปศุสัตว์เรียบร้อยแล้วภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะจ่ายจากบัญชีของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง" รมช.ประภัตร กล่าว
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ นายหานจื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (H.E. Mr. Han Zhiqiang) โดยมี ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมกรมวิชาการเกษตร นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นายปณิธาน มีไชยโย ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรลงพื้นที่ เร่งช่วยเหลือชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออกที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า...
กรมวิชาการเกษตร จับมือ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และ กรมศุลกากร เดินหน้าเปิดศูนย์ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้าทางการเกษตร
—
กรมวิชาการเกษตร จับมือ การท่...
กรมวิชาการเกษตร ขยายผลปุ๋ยชีวภาพและสารชีวภัณฑ์ สู่กลุ่มเกษตรกรปลูกผักอินทรีย์สร้างรายได้กว่า 6 แสนบาท/ปี
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร...
กรมวิชาการเกษตรขานรับนโยบาย "มนัญญา" ขับเคลื่อนแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะผลิตถั่วเขียว มุ่งการเกษตรทำน้อยได้มาก
—
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชากา...