ณ งานประชุม TECH for a Better Planet Symposium ที่ผ่านมา ตัวแทนจากบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกอย่างหัวเว่ยและองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN - International Union for Conservation of Nature) ซึ่งเป็นองค์กรด้านการอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ชี้แจงว่าทั้งสององค์กรจะร่วมมือกันในการพัฒนานวัตกรรมโซลูชันเพื่อส่งเสริมด้านการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (green transformation) และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
งานประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ร่วมกับหัวเว่ย ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU - International Telecommunication Union) นับว่าเป็นศูนย์รวมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดจากกลุ่มด้าน ICT และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การประชุมที่แบ่งเป็นสองส่วนนี้ได้มองหาแนวทางว่าเทคโนโลยีจะช่วยขับเคลื่อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความมั่นใจในการทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
"การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเรา เราจึงต้องตริตรองถึงความสัมพันธ์ระหว่างโลกของเรา สังคม และตัวเราเอง พิจารณาลึกลงไปถึงความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อม หัวเว่ยเชื่อว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และเรามุ่งมั่นที่จะส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการก้าวเข้าสู่โลกที่ดีขึ้น" คุณเจย์ เฉิน รองประธานหัวเว่ย เอเชียแปซิฟิกกล่าว
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยเป็นที่ตั้งของป่า ชายเลนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นศูนย์กลางความหลากหลายของชีวภาพทางทะเลระดับโลก และยังมี "พื้นที่สำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity hotspot)" ถึง 17 แห่งจากที่มีอยู่ทั่วโลก 36 แห่งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้กำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามมากมายไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย การใช้ทรัพยากรเกินขีดจำกัดและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ดร. ดินโด คามปิลัน ผู้อำนวยการองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติในภูมิภาคเอเชีย (IUCN Regional Director for Asia) ชี้ว่า ในขณะนี้ IUCN กำลังริเริ่มความร่วมมือแบบเปิดที่เรียกว่า 'Tech4nature' ร่วมกับหัวเว่ย จุดประสงค์ของความร่วมมือครั้งนี้เพื่อควบคุมเทคโนโลยีใหม่ สนับสนุนให้เกิดผลการอนุรักษ์ที่ดีขึ้นทั้งในและรอบเขตอนุรักษ์ โดยความร่วมมือที่ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปีนี้จะเป็นการนำร่องสำหรับอุปกรณ์ดิจิทัลและโซลูชันใหม่ ๆ ใน 5 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและประเทศจีนด้วย
คุณแมตต์ วิลสัน ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลเชิงลึกด้านเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Insights Director of Climate Tech) ของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม เพื่อผสานเทคโนโลยีหลายประเภทเข้ามาช่วยเหลือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ "เมื่อโครงการได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเทคโนโลยี ผู้ให้บริการเครือข่ายเคลื่อนที่ เช่น หัวเว่ย เราจึงได้เล็งเห็นโอกาสมากขึ้นในการประสานเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และยิ่งมีแนวโน้มว่าจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่อีกมากมาย เช่น การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เทคโนโลยีบล็อกเชน และอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) ซึ่งยิ่งตอกย้ำว่าภาคเอกชนสามารถเข้ามามีบทบาทที่สำคัญมาก ๆ ในประเด็นนี้ได้"
องค์กร Rainforest Connection เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้มีการประยุกต์ใช้โซลูชันด้านเสียง ซึ่งใช้เทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยอนุรักษ์ป่าดิบชื้น เพื่อป้องกันการตัดไม้อย่าง ผิดกฎหมาย และโซลูชันดังกล่าวได้ช่วยปกป้องโลกจากการตัดไม้ทำลายป่าและการรุกป่าล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย
"องค์กร Rainforest Connection ของเราได้ร่วมกับหัวเว่ยและอีกหลาย ๆ หน่วยงานทั่วโลก เพื่อทุ่มเทให้กับความพยายามอนุรักษ์และตรวจวัดความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยี AI และบิ๊กดาต้าเข้ามาช่วย ทำให้เราเห็นวิธีที่ธรรมชาติสื่อสารถึงกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรามั่นใจในการตรวจวัดความหลากหลายทางชีวภาพ" คุณโทเฟอร์ ไวต์ (Topher White) ผู้ก่อตั้งองค์กร Rainforest Connection กล่าว
ในประเทศฟิลิปปินส์ กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของฟิลิปปินส์ (DENR), บริษัท Smart Communications ผู้ให้บริการเครือข่ายเคลื่อนที่และเครือข่ายไร้สายภายใต้บริษัทโทรคมนาคม PLDT, องค์กร Rainforest Connection และหัวเว่ย ได้ร่วมกันสร้างระบบผู้พิทักษ์ป่าดิบชื้นหรือ Rainforest Guardian ขึ้น เพื่อปกป้องอนุรักษ์ผืนป่าดิบชื้นในประเทศเช่นกัน โดยระบบดังกล่าวทำงานด้วยแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งจะติดตามและบันทึกเสียงกิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์ เช่น เสียงเลื่อยไม้ เสียงพาหนะต่าง ๆ รวมถึงจับตาดูข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบพฤติกรรมของสัตว์
"หนึ่งในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและ Smart Communications ก็คือเราสามารถใช้เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อเข้ามาตรวจสอบพื้นที่อนุรักษ์ได้ เช่น การลดจำนวนลงของป่าโกงกางในเขตป่าดิบชื้น ด้วยชีวสวนศาสตร์ (bioacoustics) หรือศาสตร์ด้านการใช้เสียงของสิ่งมีชีวิต ทำให้เราสามารถเฝ้าดูและบันทึกเสียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในป่าได้ เพื่อตรวจจับการตัดไม้และการล่าสัตว์ผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ และทำให้หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายและชุมชนในท้องถิ่นสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที" เมลิซซา เวอร์เกล เดอ ดิออส (Melissa Vergel De Dios) รองประธานลำดับที่หนึ่งและหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนของ PLDT กล่าว
"เทคโนโลยีช่วยให้เราเข้าใจและอนุรักษ์ธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น นี่คือแนวคิดของโครงการ 'Tech4Nature' ที่เราได้แบ่งปันร่วมกับทาง IUCN เพราะเทคโนโลยี ICT สามารถนำมาปรับใช้เพื่อเฝ้าดูและวิเคราะห์ถิ่นที่อยู่และความหลากหลายทางชีวภาพ พัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ และเชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติให้ดียิ่งขึ้นได้" คุณเควิน จาง (Kevin Zhang) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดด้านโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีของหัวเว่ย กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit