ความร่วมมือของภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เป็นพลังขับเคลื่อนประเทศที่สำคัญสู่อนาคตและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ร่วมกับ บริษัท คาร์ล ไซส์ส จำกัด (Carl Zeiss) ผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก นำโดย คุณธีระพงษ์ บุญรอดชู กรรมการผู้จัดการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางมาตรวิทยาและพัฒนาบุคลากรของไทยในการใช้ซอฟแวร์และเทคโนโลยี CMM (Coordinate Measuring Machine) การวัดละเอียดทางกล 3 มิติ สำหรับใช้วัดขนาดชิ้นงานและการควบคุมคุณภาพ ซึ่งนับเป็นทักษะด้านวิศวกรรมขั้นสูงในการพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับ บริษัท คาร์ล ไซส์ส จำกัด โดยมีระยะเวลา 2 ปี วัตถุประสงค์เพื่อมุ่งที่จะพัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านวิศวกรรมของไทย ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทักษะเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น มาตรวิทยา การวัด 3 มิติ เทคโนโลยีการตรวจสอบคุณภาพซึ่งก้าวล้ำและซับซ้อน มีความแม่นยำสูง ผสมผสานการใช้ซอฟแวร์ซิมูเลชั่น การฝึกฝน และการประยุกต์ใช้ หากวิศวกรและช่างเทคนิครุ่นใหม่มีความสามารถในด้านนี้ จะส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด และส่งเสริมอุตสาหกรรม New S-Curve และ S-Curve รองรับความต้องการแรงงานระดับสูงในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ การแพทย์ ขนส่งและการบิน เชื้อเพลิง-เคมีชีวภาพ ดิจิทัล ยานยนต์สมัยใหม่ อิเลคทรอนิคส์อัจฉริยะ เทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งเสริมความแกร่งของอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย
คุณธีระพงษ์ บุญรอดชู กรรมการผู้จัดการ บริษัท คาร์ล ไซส์ส จำกัด กล่าวว่า คาร์ล ไซส์ส มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมลงนาม MOU ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล และอีก 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในการร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ของวิศวกรรุ่นใหม่ ให้มีทักษะทางเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถเพิ่มมูลค่าและพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต ความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ภายใต้โครงการ ZEISS Academic Program โดยเป็นกิจกรรมหลายรูปแบบ ได้แก่ การติดตั้งซอฟท์แวร์ การสัมมนาอบรม การจัดแข่งขันทางเทคนิค (Metrology Competition) การทดสอบ การฝึกงาน เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัท คาร์ล ไซส์ส จำกัด ก่อตั้งในประเทศเยอรมนีโดยมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 175 ปี ตั้งแต่ปี 1889 ปัจจุบันเป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกมีเครือข่ายในนานาประเทศ พัฒนาผลิตภัณฑ์โซลูชันนวัตกรรมขั้นสูงภายใต้ชื่อ ไซส์ส (ZEISS) สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมยานยนต์และวิศวกรรมเครื่องกล การวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์และวัสดุ อุตสาหกรรมอากาศยาน โซลูชันเทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาทางจักษุวิทยา การผ่าตัดจุลศัลยกรรม รังสีรักษา ไปจนถึงกล้องจุลทรรศน์ และระบบเครือข่ายเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยมีปณิธานในการส่งเสริมสถาบันการศึกษาในองค์ความรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ZEISS ยังเป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกในการผลิตระบบและโมดูลสำหรับการผลิตไมโครชิป ด้วยเลนส์การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ระบบโฟโตมาสก์ และโซลูชันการควบคุมกระบวนการ เทคโนโลยีหลักสำหรับการผลิตโครงสร้างรางตัวนำแบบละเอียดพิเศษบนแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอน ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ทำไมโครชิป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่อาศัยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของการพิมพ์หินด้วยแสง ช่วยให้สามารถผลิตโครงสร้างที่ละเอียดยิ่งขึ้นบนไมโครชิปได้ ทำให้วงจรมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้มีไมโครชิปที่ทรงพลังและประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น ZEISS ยังโดดเด่นเป็นผู้นำเทรนด์ที่มีส่วนกำหนดอนาคตของเทคโนโลยีและพัฒนาโลกแห่งเลนส์ อาทิ เลนส์แว่นตา เลนส์กล้อง และกล้องส่องทางไกล ที่สอดคล้องกับการเติบโตของโลกในอนาคต เช่น การพัฒนาด้านดิจิทัล การดูแลสุขภาพ และการผลิตอัจฉริยะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ผู้ก่อตั้ง BAHTLAB ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี ลงนามร่วมกับ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Technology Research Institute : ITRI) จากไต้หวัน โดยมี ดร.เอดวิน หลิว (Edwin Liu) ประธาน และ มร.เจฟฟ์ หลิน (Jeff Lin) ผู้อำนวยการ ลงนามในความร่วมมือ เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง ณ
วิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล จัดงาน Born to Be Engineer 2023...ก้าวแรกนักศึกษาใหม่
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับการรับรองหลั...
งาน Born to Be Engineer 2023...ก้าวแรกนักศึกษาใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับการรับรองหลั...
นวัตกรรม "แพลตฟอร์มกลางสร้างเครื่องมือบำบัดจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์" คว้ารางวัลเหรียญทองงานนักประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวา
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด...
วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือ 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศออสเตรเลีย
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหา...
วิศวะมหิดล ร่วมกับ กระทรวง อว. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ 23 มหาวิทยาลัย เพื่อขอรับรองคุณภาพหลักสูตรจาก ABET
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงา...
วิศวะมหิดล เปิดประสบการณ์บริหารความเป็นเลิศเพี่อความยั่งยืน ในงาน The 21st Thailand Quality Award, Winner Conference
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ...
4 นวัตกรรม คว้ารางวัลชนะเลิศ ในงาน Mahidol Engineering Maker Expo 2023 จัดโดยวิศวะมหิดล
—
ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตด้วยพลังคนรุ่นใหม่และไอเดียสร้างสรรค...
วิศวะมหิดล BART LAB นำนวัตกรรมฝีมือคนไทยร่วมแสดงในงาน Assistive Technology for Life 2023 ที่ไต้หวัน
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรก...
วิศวะมหิดล ผนึกความร่วมมือด้านวิจัย ไทย-สหรัฐ ร่วมกับ ม.เคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ
—
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร...