PwC ประเทศไทย เผยผลสำรวจพบผู้บริโภคชาวไทยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงวิกฤตโควิด-ประเทศไทย9 อย่างชัดเจน โดยเกือบ 8เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม% หันมาเลือกซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทที่ทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พร้อมชี้นักลงทุน-ผู้จัดการกองทุนจะยิ่งหันมาใช้แนวคิด ESG ประกอบการตัดสินใจลงทุนในอนาคต ทำให้บริษัทไทยต้องเร่งผนวกแนวคิด ESG เข้ากับกลยุทธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความไว้วางใจให้กับลูกค้า สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นาย ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหารและหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใส่ใจกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) มากกว่าเดิม โดยผู้บริโภคต้องการแสดงความรับผิดชอบในการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในฐานะพลเมืองที่ดีผ่านการสนับสนุนองค์กรและหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง
"การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งกระตุ้นให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าและบริการที่บริโภคมากกว่าเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ จะผลักดันให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องผนวกแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อตอบรับกับเทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะยิ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้น" นาย ชาญชัย กล่าว
ทั้งนี้ ผลสำรวจ Global Consumer Insights Pulse Survey ของ PwC ประจำเดือนมิถุนายน 2564 ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 8,681 คนใน 22 ประเทศและอาณาเขต รวมทั้งประเทศไทย พบว่า 76% ของผู้บริโภคชาวไทยต้องการซื้อสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือใช้บรรจุภัณฑ์น้อยที่สุด (เปรียบเทียบกับการสำรวจในเดือนมีนาคมที่ 74%) ขณะที่ 78% เลือกซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่มีจิตสำนึกและสนับสนุนการปกป้องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น (เปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ 77%)
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า 79% ของผู้บริโภคไทยยังต้องการเลือกซื้อสินค้าที่ระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจนและสามารถตรวจสอบหาต้นกำเนิดได้ (เปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ 77%)
"วันนี้เทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนไปสู่อะไรที่ eco-conscious มากขึ้น โดยคนยอมที่จะจ่ายมากขึ้น หากสินค้าและบริการที่ได้รับกลับมาจะมีคุณภาพ และช่วยลดการสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสังคมได้บ้าง ไม่เหมือนกับอดีตที่ราคาเป็นปัจจัยอันดับแรกในการเลือกซื้อ" นาย ชาญชัย กล่าว
จับตาการลงทุนอย่างยั่งยืน
นอกเหนือจากผู้บริโภคที่หันมาให้ความสนใจกับสินค้าและบริการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแล้ว นาย ชาญชัย กล่าวว่า ปัจจุบันการลงทุนอย่างยั่งยืนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสำหรับในประเทศไทย การลงทุนอย่างยั่งยืนกำลังได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ลงทุนสถาบันและผู้จัดการกองทุนที่นำผลการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) มาใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ในการลงทุนมากขึ้น
ทั้งนี้ ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยชี้ว่า มูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นกลุ่มดัชนีความยั่งยืน (SETTHSI Index) ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมปีนี้อยู่ที่ 11.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 ที่ 9.8 ล้านล้านบาท เปรียบเทียบกับมูลค่าตามราคาตลาดรวมของ SET ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 18.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 ที่ 16.1 ล้านล้านบาท
"ต้องยอมรับว่า บริษัทไทยยังไม่ตื่นตัวกับการนำแนวคิด ESG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากเท่ากับในต่างประเทศ จะมีก็แต่บจ. ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เท่านั้นที่สนใจในเรื่องนี้ และสามารถจัดทำรายงานความยั่งยืนได้ตรงตามมาตรฐานสากล ซึ่งแนวโน้มดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว รวมถึงยังดึงดูดความสนใจจากนักลงทุน โดยเฉพาะกองทุนทั่วโลกที่จะยิ่งหันมาใช้แนวคิดนี้ประกอบการตัดสินใจลงทุนควบคู่กับการพิจารณาผลประกอบการในวงกว้างมากขึ้น" นาย ชาญชัย กล่าว
ทั้งนี้ รายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลของ Morningstar ระบุว่า ในปี 2563 นักลงทุนในสหรัฐอเมริกาได้ลงทุนในกองทุน ESG มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือเติบโตกว่าเท่าตัวเปรียบเทียบกับปี 2562
"การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีส่วนกระตุ้นให้หลายผู้นำประเทศและบริษัทชั้นนำทั่วโลกออกมาแสดงจุดยืนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ถึงเวลาแล้วที่บริษัทไทยควรหันมาศึกษาและผนวกประเด็นด้าน ESG เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมทั้งจัดทำรายงานความยั่งยืนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นักลงทุน และสังคมส่วนรวม" นาย ชาญชัย กล่าว
Taiwan Excellence เตรียมพลิกโฉมอนาคตของเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ยั่งยืนในงาน ARCHITECT EXPO 2025 งานแสดงเทคโนโลยีการก่อสร้างชั้นนำของอาเซียน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน ถึง 4 พฤษภาคม 2568 ณ CHALLENGER Hall 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่บูธ S305 Taiwan Excellence Pavilion เตรียมเปิดตัวนวัตกรรมล้ำสมัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งตอกย้ำความเป็นผู้นำของไต้หวันในการผสานเทคโนโลยีเข้ากับแนวปฏิบัติด้านการก่อสร้างที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้เข้าชมงานสามารถสำรวจ
บางกอกแลนด์ คว้ารางวัล "โครงการส่งเสริมที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ในงานประกาศเกียรติคุณตราสัญลักษณ์ G-Green"
—
บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน...
MSM รับตราสัญลักษณ์ G-Green
—
ประภัสรา นิมมานเทวินทร์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เมืองทอง เซอร์วิสเซส แอนด์ แมเน็จเม้นท์ จำกัด หรือ MSM เครือบางกอกแลนด์ ...
ซิกท์ รถเช่า ประเทศไทย รับมอบ XPENG G6 ล็อตใหญ่ 48 คัน เสริมทัพยานยนต์ไฟฟ้าระดับพรีเมียม พร้อมเปิดตัวสาขาที่ 17 วิภาวดี ดอนเมือง!
—
ซิกท์ รถเช่า ประเทศไทย...
กสิกรไทย เปิดรับสมัครทุน ป.โท 'KBank Annual Scholarship 2025' ให้โอกาสคนทำงานที่มีประสบการณ์ 1 ปีขึ้นไป เรียนฟรีมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกในต่างประเทศ
—
กสิกรไทยเปิ...
TEI ผนึกกำลัง BP ร่วมมือสนับสนุนผู้ประกอบการ ก้าวสู่การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ร่วมกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัดบาง...
สิงห์ เอสเตท ร่วมกับธนาคารกรุงไทย เดินหน้าโครงการสินเชื่อสีเขียว พัฒนาสำนักงาน S-OASIS มุ่งเน้นรักษาสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ผู้เช่ายุคใหม่ครบวงจร
—
บริษัท สิงห...
เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ชวนสายกรีนอินเทรนด์ ช้อปสินค้ารีไซเคิลสุดคิ้วท์ งาน Recycle Eco Market ผจญภัยในดินแดนรักษ์โลก 20-23 มีนาคมนี้
—
สายกรีนต้องไม่...
"เดชอิศม์" ยกระดับ GREEN & CLEAN Hospital สู่การเป็นโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำ หวังลดก๊าซเรือนกระจก
—
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2568 นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช...
วว. ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจากน้ำมันปาล์ม สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
—
ปัจจุบันความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก...