กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้พัฒนาชุดสมาร์ทคิท หรือชุดถ่ายโอนมาตรฐาน (transfer standard) ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการอ่านค่าอุณหภูมิของเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส (อินฟาเรด) เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยตรวจหรือจุดคัดกรองตรวจหาผู้ติดเชื้อโรค COVID - กระทรวงการอุดมศึกษา9 มีความมั่นใจว่ามีผลการวัดอุณหภูมิที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ
นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) มีความห่วงใยในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID - 19 ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยจำนวนมาก ทั้งยังมีแนวโน้มการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง จึงให้นักวิทยาศาสตร์เร่งเดินหน้างานวิจัยและนวัตกรรมในหลายๆ ด้าน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงในปัจจุบัน และในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว โดยเฉพาะการจัดตั้งจุดคัดกรองเพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อโรค COVID - 19 ซึ่งสังเกตได้จากผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37.5 องศา ซึ่งปัจจุบันตามจุดคัดกรองตางๆ นิยมใช้เครื่องวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส (อินฟาเรด) หรือ Non-Contact Thermometer ที่ใช้เทคโนโลยีอินฟาเรด เนื่องจากเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิที่สะดวกและปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้ถูกตรวจ และถึงแม้ว่าเครื่องวัดอุณหภูมิจะมีความสะดวกและปลอดภัยแต่ก็มีโอกาสผิดพลาดของผลการวัดและอาจส่งผลให้การคัดกรองผู้ป่วยมีความผิดพลาดได้ จึงเป็นที่มาของการวิจัยพัฒนาที่ วศ. ให้ความสำคัญ และเป็นการเสริมประสิทธิภาพให้จุดคัดกรองตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น เป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ
ด้านนายวันชัย ชินชูศักดิ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และนายวีระชัย วาริยาตร์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ชุดสมาร์ทคิทดังกล่าว มีหลักการทำงานโดยเมื่อกระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านวงจรของสารกึ่งตัวนำความร้อนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นที่จุดรอยต่อด้านหนึ่งและจะถูกดูดกลืนอีกด้านหนึ่งเรียกว่า Peltier Effect ซึ่งหลักการนี้นำมาใช้ในการพัฒนาชุดสมาร์ทคิทดังกล่าว โดยสถานภาพปัจจุบันชุดสมาร์ทคิทนี้ ได้ยื่นขอใบรับรองการจดอนุสิทธิบัตรแล้ว น่าจะใช้เวลาในการรับรองไม่เกิน 6 เดือน โดย วศ. พร้อมทำเป็นเครื่องต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้ประกอบการต่อไป
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และประธานในพิธี มอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการให้แก่บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด ในฐานะที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ของบริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด มีระบบการทดสอบคุณภาพสินค้าที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล ได้รับการรับรองระบบงานฯ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025, ISO/IEC 17043 และ ISO 17034 โดยมี นางสาวทัศนีย์ เกื้อกูล หัวหน้าฝ่ายประกันคุณภาพ แผนกประกันคุณภาพโรงงานวังม่วง บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด
Lab วิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช วว. รับมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบัน...
วศ. MOU ม.อ. เดินหน้าพัฒนาระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการฯ ตอบสนองความต้องการประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
—
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นป...
วศ. ร่วมกับเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
—
ดร.นพ. ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ...
วศ. จับมือ วช. เปิดตัวความร่วมมือ โครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการ รูปแบบ Peer Evaluation
—
วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร...
วศ.อว. เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ยกระดับตามมาตรฐานความปลอดภัย มอก.2677
—
ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็น...
วศ.อว.จัดสัมมนาฯเสริมแกร่ง NQI ต่อยอดข้อมูลเชื่อมโยงเครือข่ายโครงสร้างคุณภาพของประเทศ
—
วันที่ 15 กันยายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์...
วศ.มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
—
วันที่ 7 กันยายน 2564 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีก...
วศ. MOU มทร.พระนคร เสริมศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบ สอบเทียบต่อยอดผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรสู่ระดับสากล
—
19 สิงหาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจั...
วศ. พัฒนาเครื่องมือทดสอบชุด PAPRพร้อมให้บริการทดสอบประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยพัฒนาชุด PAPR คุณภาพสูง
—
นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศ...