เป้าหมายหนึ่งของกระบวนการพัฒนาตามแนวทาง SDGs หรือการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ คือ "Inclusiveness" หรือการนับรวมให้ทุกกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางด้าน "พหุวัฒนธรรมศึกษา" ที่อยู่ในหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติASEAN Studies for Sustainable Development (MASD) และหลักสูตรปริญญาเอกนานาชาติ Multicultural Studies (พหุวัฒนธรรมศึกษา) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ส่งเสริมการศึกษาเรื่องอาเซียนจากมุมมองSDGs ขององค์การสหประชาชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล (RILCA) ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยภายใต้เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยวิจัย (RUN) ในการศึกษาการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติในไทย-อาเซียน สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม และการใช้สื่อออนไลน์ของแรงงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ได้ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงพัชรี เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผลักดันให้มีการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติ ASEAN Studies for Sustainable Development (MASD) ร่วมกับ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม(IPSR) และโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา(IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากกลุ่มประเทศอาเซียนได้เข้ามาเรียนร่วมกัน เพื่อร่วมพัฒนาให้เกิดความเข้าใจอันดีและการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ RILCA ได้ส่งเสริมแนวคิดดังกล่าวผ่านการดำเนินงานหลักสูตรปริญญาเอกพหุวัฒนธรรมศึกษา(นานาชาติ) ที่ส่งเสริมให้ทุนนักศึกษาจากอาเซียนพลัส และการให้บริการภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนของ ศูนย์การแปลและบริการทางภาษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ อธิบายว่า "สังคมพหุวัฒนธรรม" ในประเด็นที่ RILCA พยายามผลักดันตามเป้าหมายของSDGs ตลอดเวลาที่ผ่านมาคือ การให้องค์ความรู้ทางด้านการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม และที่สำคัญคือ ความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลาย ทั้งในเรื่องชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ ความแตกต่างทางเพศและวัย รวมถึงความซับซ้อนต่างๆ ที่คนในสังคมควรให้ความสนใจ ทั้งด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน และโอกาสทางสังคมเศรษฐกิจ และทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า "สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม" เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนในอนาคต
ซึ่ง "สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรม" หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจและการแสดงออกทางสังคมทั้งโดยวาจา การกระทำ และการสื่อสารออนไลน์ของกลุ่มคนในสังคมที่มีความหลากหลาย ทั้งต่างที่มาและความแตกต่างอื่นๆ เช่น พลเมืองไทย แรงงานข้ามชาติ กลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เพศ และวัย ที่แสดงการยอมรับความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรและช่วยเหลือกันโดยไม่ถูกดูหมิ่น เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
พี่น้องแรงงานจากอาเซียนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจึงควรได้รับโอกาสและการยอมรับทางสังคมให้อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีเทียบเท่าคนไทย แต่ยังพบปัญหาจากการไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการรับบริการพื้นฐานต่างๆ ได้เท่าที่ควร เนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มแรงงานชาวเมียนมาที่ประสบภาวะวิกฤติจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่จังหวัดสมุทรสาครในปัจจุบันโดย มหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น โดย RILCA ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือทางด้านภาษาและวัฒนธรรม โดยร่วมจัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติตัวในภาวะวิกฤติ Covid-19 ตลอดจนโปสเตอร์ และคลิปวิดีโอแนะนำต่างๆ เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์เป็นภาษาพม่า นอกจากนี้ ยังได้ช่วยจัดกระบวนการพบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกับหน่วยงานดังกล่าวเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานช่วยเหลือพี่น้องแรงงานชาวเมียนมา และให้บริการล่ามภาษาพม่า ร่วมกับ นักจิตวิทยาของหน่วยงานที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือแรงงานชาวเมียนมา รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาภาวะวิกฤติ Covid-19
"แม้ช่วงก่อนประสบภาวะวิกฤติ Covid-19 คนไทยมีความสนใจท่องเที่ยวประเทศเมียนมากันมาก แต่พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังพูดและเข้าใจภาษาพม่ากันได้น้อย ในขณะที่แรงงานชาวเมียนมาพูดภาษาไทยกันได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานชาวเมียนมาในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมอาหารทะเล และอุตสาหกรรมการประมง โดยเป็นแรงงานข้ามชาติกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยนานแล้ว และส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสื่อสาร นอกจากนี้ ยังพบสตรีมีครรภ์ และเด็กๆ อยู่เป็นจำนวนมากในกลุ่มแรงงานชาวเมียนมาที่ประสบภาวะวิกฤติ Covid-19 โดย RILCA ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน และการวิจัยเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในหลากหลายมิติ เช่น พหุวัฒนธรรม การศึกษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ได้มีโครงการจะใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นชาวเมียนมา ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญของ RILCA ในการจัดทำคลิปวิดีโอแนะนำเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันทำเป็นภาษาพม่า และภาษาไทย ต่อไปจะขยายผลไปใช้เป็นแนวทางช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวในกลุ่มอื่นๆ อาทิ แรงงานชาวกัมพูชา ซึ่งมีจำนวนมากเช่นกันในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยมหิดล จะทำหน้าที่เป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" เพื่อเป็นที่พึ่งทางปัญญาสู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมายแห่งวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ขององค์การสหประชาชาติต่อไป" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.มรกต ไมยเออร์ กล่าวทิ้งท้าย
ดร.วรเดช รุกขพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วี บียอนด์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ขึ้นรับรางวัล "Climate Action Leader Awards" ในงาน Climate Action Forum ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มอบโดย AFMA (UN FAO) เพื่อยกย่ององค์กรเอกชนชั้นนำที่มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนลำดับที่ 13 (SDG 13) ซึ่งจัดขึ้น ณ องค์การสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก นายนราพัฒน์ แก้วทอง
"วีบียอนด์" คว้ารางวัล "Climate Action Leader Awards" จาก AFMA (UN FAO) ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่องค์กรสีเขียวอย่างยั่งยืน
—
ดร.วรเดช รุกขพันธุ์ ประธานเจ้าหน้...
เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ตอกย้ำองค์กรแห่งความยั่งยืน เปลี่ยนขวดพลาสติก สู่ประติมากรรมรักษ์โลก "ไนน์"
—
18 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวันรีไซเคิลโลก (World R...
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย ร่วมมือกับคณะวิศกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลักดันความก้าวหน้าด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
—
เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีความยินดีที่จะประ...
EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ "AA" ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
—
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ...
อาร์เอส กรุ๊ป เปิดกลยุทธ์ Sustainable Life Enriching ดึงความเชี่ยวชาญจาก Entertainmerce ส่งมอบแรงบันดาลใจและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
—
บริษัท อาร์...
EGCO Group คว้ารางวัลเกียรติคุณการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน 6 ปีซ้อน
—
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO Group รับรางวัลเกียรติคุณการเปิดเผยข้อมูลคว...
เอปสันกระตุ้นสังคมไทยใส่ใจปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยเรือนกระจกจำลองจากขยะขวดพลาสติก
—
นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร และนางสาวปวีณา ศรีตระกูล หัวหน้าฝ่า...
EGCO Group คว้ารางวัลสูงสุดด้านการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน จากเวที "Sustainability Disclosure 2023" ต่อเนื่องปีที่ 5
—
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ...