PwC ประเทศไทย คาดปี 64 ธุรกิจไทยหันมาลงทุนระบบคลาวด์เพิ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-ระบบคลาวด์9 ระลอกใหม่ เพราะเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่หนุนการทำงานแบบทางไกล ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง คาดเห็นธุรกิจสถาบันการเงิน-ค้าปลีก หันมาลงทุนระบบมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่หันมายอมรับเทคโนโลยีเร็วขึ้นกว่าเดิม
นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้าสายงานกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรไทยมากกว่า 50% ในปัจจุบันหันมาใช้ระบบคลาวด์อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไฮบริดคลาวด์ เพราะช่วยสนับสนุนและเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานระยะไกล (Remote work) และคาดการณ์ว่า ในปีนี้องค์กรไทยจะยิ่งหันมาลงทุนระบบคลาวด์เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและเสริมความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ
"การแพร่ระบาดครั้งนี้ ทำให้บริษัทไทยให้ความสนใจในการใช้ไอทีในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น โดยโควิด-19 ทำให้ยิ่งมีการใช้งานระบบคลาวด์เพิ่มขึ้นอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ตอนนี้หลายบริษัท ๆ หันมานิยมใช้ไฮบริดคลาวด์ เพราะเป็นรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีความยืดหยุ่นและเอื้อต่อนโยบายการทำงานจากที่บ้าน" นางสาว วิไลพร กล่าว
นางสาว วิไลพร กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันตัวเลือกผู้ให้บริการระบบคลาวด์มีเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต ที่มีเพียงค่ายยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกาและมีบริการไม่กี่ประเภท เช่น อีเมล หรือ แอปพลิเคชันสำหรับงานในออฟฟิศ อย่างไรก็ดี ในช่วงหลังมีผู้ให้บริการจากจีนและในไทยเองให้เลือกใช้ และครอบคลุมบริการเกือบทุกประเภท
สำหรับประเภทของการใช้งานคลาวด์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ดังต่อไปนี้
1) Infrastructure as a Service (IaaS) หรือบริการเฉพาะของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที เช่น เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บ และระบบจัดการเครือข่าย 2) Platform as a Service (PaaS) หรือบริการระบบงานแพลตฟอร์มบนคลาวด์ เช่น ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบบัญชี และระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) 3) Software as a Service (SaaS) หรือบริการระบบซอฟต์แวร์สำหรับผู้ใช้งานบนคลาวด์ เช่น อีเมล แอปพลิเคชันในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ภายในองค์กร หรือ การประชุมผ่านเสียง หรือวิดีโอ 4) Functions as a Service (FaaS) หรือบริการระบบงานคลาวด์ในระดับฟังก์ชัน เช่น โปรแกรมต่าง ๆ
ธุรกิจบริการทางการเงิน-ค้าปลีกจำเป็นต้องใช้คลาวด์
นางสาว วิไลพร คาดว่า ธุรกิจบริการทางการเงินและธุรกิจค้าปลีกของไทยจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มลงทุนในระบบคลาวด์มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในปีนี้ เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 พฤติกรรมผู้บริโภคของทั้ง 2 ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยทั้งผู้บริโภคและลูกค้าของธนาคารต้องการจับจ่ายใช้สอย หรือทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สะดวกและมีความหลากหลายในทุกช่องทาง
สอดคล้องกับรายงาน Can you meet customer demand for cloud computing? ของ PwC ที่ระบุว่า ผลกระทบจากวิกฤต โควิด-19 จะทำให้อุตสาหกรรมแทบทุกกลุ่มต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเร็วขึ้น เพราะผู้บริโภคตกอยู่ในภาวะที่ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางหลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงาน การซื้อหาสินค้าและบริการ และการชำระเงินในรูปแบบออนไลน์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ข้อมูลจากการ์ทเนอร์[1] ยังคาดการณ์ว่า ในปี 2564 แนวโน้มการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกจะแตะ 3.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน โดยระบุว่า ผู้ให้บริการคลาวด์น่าจะเห็นรายได้เพิ่มขึ้นในปีนี้หลังจากคลาวด์ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมา
หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านพ้นไป นางสาว วิไลพร ยังคาดการณ์ด้วยว่า น่าจะเห็นแนวโน้มการจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงินและธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลการเงินของสถาบันการเงินต่าง ๆ (Open Banking) ที่ปลอดภัย โดยสามารถเปิดเผยข้อมูลทางธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าให้บุคคลที่ 3 เช่น สถาบันการเงิน ฟินเทค หรือ บริษัทเทคโนโลยีและไอทีอื่น ๆ เข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้หากได้รับการยินยอมผ่านการเปิดช่องทางการเชื่อมต่อของข้อมูล (Application Programming Interface: API) ซึ่งนี่จะเป็นโอกาสสำคัญในการเชื่อมต่อกับบริการทางการเงินอื่น ๆ เพื่อสร้างบริการใหม่ให้แก่ลูกค้า
"การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการลงทุนในระบบคลาวด์ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทไทยที่ต้องการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพในปีนี้ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงมีความไม่แน่นอนสูง" นางสาว วิไลพร กล่าวทิ้งท้าย
[1] การ์ทเนอร์คาดการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกโต 4% ในปี 2564
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล นำคณะผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 8 จำนวน 82 คน เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand นายพิสิฐ ทางธนกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC (ประเทศไทย) ให้เกียรติต้อนรับผู้อบรม ก่อนนำเข้าสู่การบรรยายพิเศษ "กรณีศึกษา PwC digital Transformation" โดยคุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) จำกัด และหัวข้อ
PwC ประเทศไทย คาดการใช้งาน GenAI ในปี 68 พุ่งและถูกบูรณาการสู่การใช้งานเพื่อบรรลุ กลยุทธ์ทางธุรกิจมากขึ้น
—
PwC ประเทศไทย คาด GenAI จะถูกนำมาใช้งานเพื่อบร...
PwC ประเทศไทย เผยโซลูชัน BaaS จิ๊กซอว์สำคัญพลิกโฉมระบบนิเวศทางการเงินของไทย
—
PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ หรือ BaaS จะเป็นส่วนสำคัญในก...
PwC ประเทศไทย ชี้ธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลไม่สำเร็จ
—
PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำ...
PwC ประเทศไทย จับมือ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จัดงานสัมมนา 'ก้าวต่อไปของธุรกิจบริการทางการเงินไทยยุคดิจิทัล'
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ (24 สิงหาคม) บริษัท PwC ประเท...
PwC แนะธุรกิจไทยวางกลยุทธ์ย้ายโครงสร้างไอทีดั้งเดิมสู่ระบบคลาวด์
—
PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบดั้งเดิมสู่...
PwC ประเทศไทย จัดถ่ายทอดสดสัมมนาออนไลน์เปิดตัว 'รายงานผลสำรวจธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ครั้งที่ 11 ฉบับประเทศไทย'
—
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา บริษัท Pw...
PwC ประเทศไทย คว้ารางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565
—
PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2...
EXIM BANK เริ่มโครงการ EXIM Digital Transformation พัฒนาระบบงานหลักของธนาคาร (Core Banking) เพิ่มศักยภาพการดำเนินงานและให้บริการลูกค้า
—
ดร.รักษ์ วรกิจโภค...
PwC ประเทศไทย ชี้การใช้งานเอไอหลังโควิด-19 พุ่ง แนะธุรกิจวางกรอบการใช้งานเอไออย่างมีความรับผิดชอบ
—
PwC ประเทศไทย เผยองค์กรไทยหันมาใช้งานเอไอสูงขึ้นอย่างช...