กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สร้างแรงงานคุณภาพ หนุนทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พัฒนาช่างเครื่องช่วยคนพิการ ลดช่องว่างตลาดแรงงาน
นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กำเนิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงอาทรถึงความทุกข์ของคนพิการขาขาดผู้ยากไร้ และที่ไม่สามารถเข้ารับบริการขาเทียมจากภาครัฐ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วทุกภาคของประเทศอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทรงตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนขาเทียมในกลุ่มคนพิการขาขาดที่ยากไร้ เมื่อทรงทราบว่าแพทย์ไทยสามารถประดิษฐ์ขาเทียมได้จึงได้พระราชทานความช่วยเหลือนับแต่นั้นมา
"อย่าไปเอาเงินที่เขา มาเอาที่ฉัน" รับสั่งประโยคนี้ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กลายเป็นอุดมการณ์ของมูลนิธิขาเทียมฯ และได้จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นโดยมีสำนักงานแรกอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วยทุนจดทะเบียนส่วนพระองค์ เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่พัฒนาเทคโนโลยีการทำขาเทียมตลอดเวลา
ทั้งนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่ง องค์นายกกิตติมศักดิ์ สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
นายธวัช กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของ กพร.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจพัฒนากำลังแรงงานทุกกลุ่มเพื่อยกระดับทักษะฝีมือให้เป็นแรงงานคุณภาพ ทั้งฝึกอบรม และทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งได้ให้การสนับสนุนกิจการของมูลนิธิขาเทียมฯ โดยดำเนินโครงการพัฒนาช่างเครื่องช่วยคนพิการ และจัดการฝึกอบรมสาขาช่างเครื่องช่วยคนพิการ รวมถึงการกำหนดและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างเครื่องช่วยคนพิการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 เป็นต้นมา โดยมอบหมายให้ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ (สพร.19 เชียงใหม่) ร่วมกับมูลนิธิขาเทียมจัดฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกเตรียมเข้าทำงาน สาขาช่างเครื่องช่วยคนพิการ ระยะเวลาการฝึก 700 ชั่วโมง (5 เดือน)ตั้งแต่ปี 2558 - 2563 (5 รุ่น) จำนวน 109 คน และมีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างเครื่องช่วยคนพิการ ระดับ 1 จำนวน 106 คน ระดับ 2 จำนวน 21 คน รวมจำนวน 127 คน และในปี 2564 ดำเนินการฝึก 6 กิจกรรม เป้าหมาย 210 คน หลังจบฝึกอบรม มูลนิธิขาเทียมจะส่งช่างไปทำงาน ณ โรงงานขาเทียมประจำโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ และ เมื่อผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 2 จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในตำแหน่งพนักงานราชการ ณ โรงพยาบาลต้นสังกัด แล้วทำให้ผู้จบหลักสูตรดังกล่าวมีงานทำที่มั่นคงซึ่ง กพร.จะดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือก่อนส่งตัวเข้าทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้จบฝึกมีทักษะได้มาตรฐานและพร้อมที่จะให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ และช่างเหล่านี้สามารถจัดทำขาเทียมที่ดีมีคุณภาพได้มาตรฐานมีผู้พิการขาขาดที่ได้รับประโยชน์ทั่วประเทศ ปีละกว่า 3,000 คน
รศ.นพ.วัชระ รุจิเวชพงศธร เลขาธิการ มูลนิธิขาเทียมฯ กล่าวว่า ในนามของมูลนิธิฯ ขอขอบคุณ กพร.ที่ได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ช่างทำขาเทียม นักกายภาพบำบัด พัฒนาหลักสูตรช่างเครื่องช่วยคนพิการให้ได้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สร้างบุคลากรด้านเครื่องช่วยคนพิการ เพื่อไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมถึงอบรมแพทย์และช่างทำขาเทียมชาวต่างประเทศที่มูลนิธิฯ ให้การช่วยเหลือไปตั้งโรงงานอยู่ เช่น เมียนมาร์ มาเลเชีย บังคลาเทศ สามารถช่วยเหลือคนพิการได้ทั่วโลกเป็นการทำงานร่วมกันเพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพัฒนาศักยภาพแรงงานที่เห็นเป็นรูปธรรม
นายโรมรัน จรรยา พนักงานช่างเครื่องช่วยคนพิการ เป็นพนักงานราชการของโรงพยาบาลลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เคยเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร ช่างเครื่องช่วยคนพิการ รุ่นที่ 8 กับ สพร.19 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า รู้สึกยินดีและภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม และได้เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำความรู้ไปช่วยเหลือคนพิการให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุขแบบปุถุชนทั่วไปได้ คนพิการเป็นอีกกำลังแรงงานที่จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือ และเมื่อแรงงานมีฝีมือก็จะสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน ช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ช่างทำขาเทียมซึ่งเป็นแรงงานฝีมือที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะหยิบยื่นโอกาสที่ดีให้แก่คนพิการได้กลับมาทำงาน ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคฒ อธิบดี กพร.กล่าว
โฮมโปร ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทย ด้วยการร่วมเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้แรงงานไทยได้แสดงศักยภาพ พร้อมยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานให้สามารถแข่งขันในระดับสากล ในโอกาสนี้ นายธีรพล รอดเฉื่อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายบริหารการจัดส่งและติดตั้ง บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนขึ้นรับรางวัล "ผู้สนับสนุนการแข่งขัน" จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
"พิพัฒน์" เปิดศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานด้าน EV สงขลา พร้อมดัน "เครดิตแบงค์" ยกระดับช่างซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า
—
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เดินหน้าพัฒ...
สจล. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน สอดคล้องความต้องการในอนาคต
—
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน...
กรมพัฒน์ เดินหน้า ตั้งศูนย์ทดสอบฯ "เครื่องถมนครศรี" แห่งแรกในไทย
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาเครื่องถม ที่จังหวัดนครศรีธ...
อธิบดีกรมพัฒน์ ยกระดับมาตรฐานค่ายมวยไทยในต่างแดน จัดทดสอบครูมวยไทยในไต้หวัน
—
นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสร...
"พิพัฒน์" กระตุ้นแรงงานทักษะ โลจิสติกส์-ดิจิทัล ป้อนงานภาคใต้ ส่งเลขาอารี เปิดฝึกอบรม พร้อมทดสอบมาตรฐานฝีมือ จ.สงขลา
—
นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่า...
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเกษมบัณฑิต ตั้งศูนย์ทดสอบวัดระดับทักษะนักศึกษา ป.ตรี
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เร่งตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐา...
สพร.42 หนองคาย เข้าตรวจเยี่ยมสถานประกอบกิจการในพื้นที่จังหวัดหนองคาย
—
นางจิรนันท์ ยิ่งล้ำ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 42 หนองคาย มอบหมายให้นางสาวรุ...
ก.แรงงาน ชงมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3 สาขา Upskill แรงงานรองรับอัตราค่าจ้างตามฝีมือ
—
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชงมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 3 สาขาเข...
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือภาคเอกชน ผู้นำการสื่อสารเคเบิ้ลและติดตั้งไฟฟ้า ยกระดับฝีมือช่างเทคนิค สู่มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสถา...