มะเร็งช่องปาก อันตรายหากปล่อยลุกลาม

มะเร็งช่องปากเป็นโรคที่พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง มักพบตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ไปยังกระแสเลือด และไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ ดังนั้นการสังเกตตัวเองและรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยเร็วคือสิ่งสำคัญที่สุด

มะเร็งช่องปาก อันตรายหากปล่อยลุกลาม

พท.นพ.รุตติ ชุมทอง ศัลยแพทย์ด้านศีรษะและลำคอ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ กล่าวว่า มะเร็งช่องปาก คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในช่องปากหลายๆ อวัยวะ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก และพื้นปากใต้ลิ้น ถือเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและอันตรายหากมาตรวจพบในระยะลุกลาม โดยปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งช่องปาก คือ 1.การสูบบุหรี่ ซิการ์ หรือไปป์จะเพิ่มความเสี่ยงการพบมะเร็งช่องปากได้ถึง 6 เท่า 2.ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และหากยิ่งมีพฤติกรรมทั้งสูบบุหรี่และดื่มสุราก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากถึง 15 เท่า 3.การเคี้ยวหมาก พลู เพราะอาจมีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่ 4.การติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในช่องปาก 5.การเกิดบาดแผลเรื้อรังในช่องปากจากฟันผุ ฟันบิ่น หรือฟันปลอมที่หลวม ระคายเคืองซ้ำ ๆ จนเนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมะเร็ง 6.มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งในช่องปาก เป็นต้น

อาการและการเกิดโรค คนไข้อาจมาด้วยอาการมีตุ่ม ก้อนเนื้อ หรือรอยแผลที่รักษาไม่หายนานเกินกว่า 2 - 3 สัปดาห์ อาจพบว่ามีเลือดออกจากรอยแผลนั้น หรือมีอาการชาจากการลุกลามเพราะมะเร็งไปทำลายเส้นประสาท หรือการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง จนสามารถคลำเป็นก้อนได้ที่ลำคอ การสังเกตมะเร็งช่องปากอาจตรวจพบเพียงรอยปื้นแดงหรือขาวบนเยื่อบุช่องปากโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ดังนั้นการมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องปากจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

โรคมะเร็งช่องปาก แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการฉายรังสี หรืออาจใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาด ตำแหน่ง ชนิดของมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วย นอกจากนี้อาจทำเคมีบำบัดในคนไข้บางราย หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มหรือตั้งแต่เป็นรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous Lesion) และได้รับการรักษา มีโอกาสหายขาดและมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงมากกว่าการตรวจพบในระยะลุกลาม นอกจากนี้ โรคมะเร็งช่องปากระยะลุกลามอาจมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะในช่องปาก เช่น ปากผิดรูป ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาในการพูด การกลืน ซึ่งจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมการทำงาน และทำกายภาพบำบัดเพื่อคืนการทำงานของอวัยวะในช่องปากร่วมด้วย

ทั้งนี้ การป้องกันโรคมะเร็งช่องปากทำได้โดย ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจำลง หมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้แข็งแรง เลือกรับประทานอาหารและผักผลไม้ที่มีประโยชน์ให้สมดุล สิ่งสำคัญคือ ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจค้นหาความเสี่ยงและเฝ้าระวังโรคมะเร็งในช่องปากไปพร้อมๆ กัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกมะเร็งศีรษะและลำคอ รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โทร. 02-310-3000 หรือโทร.1719


ข่าวโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ+โรงพยาบาลมะเร็งวันนี้

BDMS Wellness Clinic ผนึกโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ สร้างความตระหนักรู้ถึงโรคมะเร็งเต้านม พร้อมส่งมอบการดูแลแบบครบองค์รวม

BDMS Wellness Clinic ผนึกโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ส่ง "เสียง" จากความใส่ใจ สร้างความตระหนักรู้ถึงโรคมะเร็งเต้านม พร้อมส่งมอบการดูแลแบบครบองค์รวม 360? ผ่านโปรแกรม Breast Cancer Healing บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) ศูนย์ดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน จับมือโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จัดงาน "Voice of Care for Breast Cancer 'เสียง' จากความใส่ใจ เพื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านม" เดินหน้าสร้างความตระหนักรู้เรื่องการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดอัตราการเสียชีวิต

เมื่อเร็ว ๆ นี้ แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาทท... BDMS ลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรักษามะเร็ง กับมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น — เมื่อเร็ว ๆ นี้ แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ...

แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู... BDMS ลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรักษามะเร็ง กับมหาวิทยาลัยยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น — แพทย์หญิงปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพ...

ปฏิเสธไม่ได้ว่า มะเร็งปอด เป็นอีกหนึ่งภัย... "มะเร็งปอด" ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงได้! ภัยร้ายเงียบที่ไม่ควรมองข้าม — ปฏิเสธไม่ได้ว่า มะเร็งปอด เป็นอีกหนึ่งภัยร้ายสุขภาพและปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทุก...