รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง " การขยายชีวภัณฑ์รูปแบบเชื้อเหลวด้วยถังหมักอย่างง่ายโมเดล วว." พร้อมมอบถังหมักเพาะเชื้อจุลินทรีย์ ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมจัดขึ้น ในวันที่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เมษายน 2564 ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง ควบคู่ไปกับการลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้และโอกาสอย่างทั่วถึง รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง กระทรวง อว. จึงดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก มีแหล่งน้ำธรรมชาติ การชลประทานเหมาะสมแก่การเกษตร การเกษตรกรรมสำคัญได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นอาชีพหลักของประชากร ผลงานวิจัยรวมถึงถังขยายเชื้ออย่างง่ายที่ทาง วว. นำมาลงในพื้นที่ จะช่วยให้เกษตรกรขยายจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ด้วยตนเอง ทันเวลา และลดต้นทุนการผลิตด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทดแทนด้วยการใช้จุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ลดการตกค้างของสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชในผลผลิต ปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรเองและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
"...การจัดกิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นการยืนยันถึงความตั้งใจของกระทรวง อว. ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม สนับสนุนระบบเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพผลผลิต ได้รับมาตรฐานเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ สามารถจำหน่ายได้ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ..." ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวง อว. กล่าว
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมหนึ่งใน "โครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตกด้วย BCG โมเดล" ที่ วว. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้พระราชกำหนดเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการรับรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ เกษตรกร รวมถึงการเพิ่มความเข้าถึงชีวภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ผลิตและพัฒนามาจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อสนับสนุนระบบการผลิตเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ สามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีในระบบการผลิตพืช ทั้งนี้ถังหมักเพาะเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่ง วว. มอบให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืนนั้น จะช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตชีวภัณฑ์ ลดโอกาสปนเปื้อนจุลินทรีย์อื่น ลดระยะเวลาการผลิต ชีวภัณฑ์อยู่ในรูปเชื้อน้ำ สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
"...วว. ให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ให้กับพี่น้องเกษตรกร เรามุ่งเน้นการทำงานที่ครบวงจรและต่อเนื่อง กิจกรรมครั้งนี้เป็นการนำร่องโครงการและได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเกษตรกรอย่างดียิ่ง เชื่อมั่นว่าพื้นที่อื่นๆ ในการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตกด้วย BCG โมเดล ที่ วว. รับผิดชอบทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และอยุธยา จะประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม สร้างความยั่งยืนมั่นคงทางเศรษฐกิจประเทศต่อไป..." ผู้ว่าการ วว. กล่าว
นายปัญญา ใคร่ครวญ หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน กล่าวว่า โครงการ BCG โมเดล วว. ลงทำงานกับกลุ่มใน 2 เทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตข้าว และเทคโนโลยีการขยายชีวภัณฑ์ในถังหมักอย่างง่าย จากการทดลองใช้ชีวภัณฑ์ของ วว. เมื่อปี 2563 ถึงปัจจุบันพบว่าสามารถป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ดี ใบผักงาม ผลผลิตเติบโตดีขึ้น ทั้งนี้กลุ่มจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปขยายการผลิตชีวภัณฑ์แบบเหลวจากถังหมักฯที่ได้รับมอบ เพื่อนำไปใช้กับพืชผลทางการเกษตรให้มากขึ้น และทางกลุ่มจะร่วมวางแผนการผลิตชีวภัณฑ์กับ วว. เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการชีวภัณฑ์และการใช้งานอย่างต่อเนื่องภายในกลุ่ม เชื่อมั่นว่าด้วยศักยภาพของ วว.และความเชี่ยวชาญเอาใจใส่ของนักวิจัยจะทำให้การดำเนินงานร่วมกันมีความยั่งยืน
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การขยายชีวภัณฑ์รูปแบบเชื้อเหลวด้วยถังหมักอย่างง่ายโมเดล วว." มีเนื้อหาประกอบด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและแมลงศัตรูพืช การขยายชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชด้วยถังหมักอย่างง่ายโมเดล วว. ข้อควรปฏิบัติในการนำชีวภัณฑ์ไปใช้งาน รวมถึงการสาธิตเชิงปฏิบัติการที่เกษตรกรได้เรียนรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ โดยการปฏิบัติด้วยตัวเอง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการแปลงปลูก
อนึ่ง วว. ส่งเสริมงานวิจัยสร้างเศรษฐกิจสีเขียว สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปัจจุบัน วว. ถ่ายทอด "สารชีวภัณฑ์" ซึ่งผลิตจากจุลินทรีย์สำหรับป้องกันกำจัดศัตรูพืช ที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารพิษตกค้าง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ ในพื้นที่จังหวัดภาคกลางตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และอยุธยา ทำให้ลดต้นทุนเกษตรกร 172.5 ล้านบาท และลดการนำเข้าสารเคมีเกษตร 241.5 ล้านบาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. โทร. 02577 9000 อีเมล [email protected]
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรและร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมโชว์ผลงาน "สารออกฤทธิ์ทุติยภูมิจากเห็ดหลินจือแดงสำหรับบรรเทาอาการของโรคไต: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตราเบต้าไลฟ์" จัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 "The 50th International Exhibition of Inventions Geneva" โอกาสนี้ ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. นางสาวอุบล ฤกษ์อ่ำ
วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...
วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...
วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว."
—
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...
วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition
—
วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...
สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568"
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเหนือน้ำหนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ
—
วว. /สทนช./สวก. ผนึกกำลัง Kick off โครงก...
วว. / ธ.ก.ส. หารือแนวทางนำเทคโนโลยีเกษตร ชีวภาพ อาหาร ต่อยอดดำเนินงานร่วมกันในปี 2568
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแ...