PwC คาดไทยใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีก่อนก้าวเข้าสู่ Open Banking อย่างเต็มรูปแบบ

PwC ประเทศไทย คาดธุรกิจบริการทางการเงินของไทยจะเข้าสู่ Open Banking อย่างเต็มรูปแบบได้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ประเทศไทยความปลอดภัย ปี เหตุยังขาดความพร้อมเชิงโครงสร้าง ความเชื่อมั่นของลูกค้า และแรงจูงใจระหว่างแบงก์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน แนะภาครัฐและหน่วยงานกำกับร่วมกันวางโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับ และออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อควบคุมความปลอดภัยของการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบนิเวศทางการเงินของประเทศให้แข็งแกร่ง

PwC คาดไทยใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีก่อนก้าวเข้าสู่ Open Banking อย่างเต็มรูปแบบ

นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้ากลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจบริการทางการเงินทั่วโลกกำลังพัฒนาไปสู่ Open Banking หรือ การที่ผู้ให้บริการทางการเงินเปิดเผยข้อมูลการเงินของลูกค้าของตนให้กับบุคคลที่สาม (Third-party providers: TPPs) เช่น ฟินเทค บริษัทเทคโนโลยี และสถาบันการเงินอื่น ๆ ซึ่งต้องผ่านการยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของบัญชีก่อน โดยช่องทางเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับอยู่ในปัจจุบันคือ Open Application Programming Interfaces (Open APIs)

ทั้งนี้ ข้อดีของ Open Banking ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวก และเลือกใช้บริการที่ตรงกับความต้องการเฉพาะบุคคลได้ในรูปแบบเรียลไทม์ ขณะที่เปิดโอกาสให้ธนาคารสามารถสร้างรายได้มากขึ้นจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และรูปแบบการบริการใหม่ ๆ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรที่อาจเป็นนอนแบงก์ เช่น บริษัทเทคโนโลยี และฟินเทค ซึ่งจะช่วยเร่งการเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล และทำให้ธนาคารมีต้นทุนที่ถูกลง แถมมีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การพัฒนา Open Banking ของไทยยังคงมีความท้าทายอยู่มากเพราะขาดความพร้อมในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน กฎเกณฑ์ และข้อบังคับในการเชื่อมต่อและการแลกเปลี่ยนข้อมูลของลูกค้า รวมถึงการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของลูกค้า

"ภาคการเงินของไทยน่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปีถึงจะสามารถก้าวเข้าสู่ Open Banking ได้เต็มรูปแบบ เพราะยังต้องปูความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐาน และความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน" นางสาว วิไลพร กล่าว

นางสาว วิไลพร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ของไทยมีการเข้าสู่ Open Banking ในลักษณะของการเชื่อมต่อกับระบบของบริษัทภายในเครือ บริษัทร่วมทุน หรือคู่ค้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลระหว่างกันผ่าน API ได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

"หากเราต้องการที่จะก้าวเข้าสู่พัฒนา Open Banking อย่างเต็มรูปแบบไปอีกขั้น ภาครัฐและหน่วยงานกำกับจะต้องกำหนดมาตรฐานด้านการเชื่อมต่อ การใช้งาน และการดูแลความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการสร้างกลไกและความตระหนักเรื่องความปลอดภัยของการแชร์ข้อมูลการเงินให้กับประชาชน" นางสาว วิไลพร กล่าว

ช่องโหว่ของการพัฒนา Open Banking

นางสาว วิไลพร กล่าวว่า แม้วิวัฒนาการของการทำ Open Banking ของภาคการเงินโลกจะเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ช่องโหว่สำคัญที่ทำให้ระดับของการพัฒนายังแตกต่างกัน คือการให้ความร่วมมือระหว่างธนาคารในการเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าให้บุคคลที่สามซึ่งอาจเป็นคู่แข่งนำไปใช้ ประกอบกับกฎเกณฑ์เพื่อบังคับให้เกิดความร่วมมืออย่างจริงจังที่ยังมีไม่มาก ทำให้ธนาคารของไทยหลายแห่งยังเลือกที่จะเก็บข้อมูลลูกค้าของตัวเองไว้

"Open Banking ถือเป็นวิวัฒนาการของระบบนิเวศทางการเงินที่ท้าทายระบบแบบดั้งเดิมในทุก ๆ มิติ เพราะแบงก์จะต้องยอมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของลูกค้ามากขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมต่ออย่างมีประสิทธิภาพ แต่วันนี้แบงก์หลายรายยังมีความกังวลในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยในการให้ผู้บริการรายอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าของตัวเอง รวมไปถึงการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดและโอกาสที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับผู้เล่นรายใหม่ โดยเฉพาะกับกลุ่มฟินเทค รวมไปถึงความท้าทายในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าในรูปแบบใหม่ เพราะความจำเป็นในการทำธุรกรรมที่หน้าเคาน์เตอร์สาขาของลูกค้านั้นลดลงเรื่อย ๆ" นางสาว วิไลพร กล่าว

ดังนั้น การจะผลักดันให้ Open Banking ในไทยสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย และการส่งเสริมจากภาครัฐในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างธนาคาร เช่น ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า เพื่อป้องกันเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่อาจทำให้เกิดความเสียหายที่แก้ไขได้ยากต่อธุรกิจบริการทางการเงินทั้งระบบ นางสาว วิไลพร กล่าว

ลูกค้า คือหัวใจของการทำ Open Banking

นางสาว วิไลพร กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปของลูกค้า ทำให้ผู้ประกอบการภาคการเงินและธนาคารยิ่งต้องหันมาเน้นการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า (Customer experience) เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและดึงดูดกลุ่มลูกค้ารายใหม่

ข้อมูลจากรายงาน Beyond Digital: Data-Driven Strategies to Grow, Scale and Profit ที่จัดทำโดย PwC และ Oracle ระบุว่า ลูกค้าธนาคารในเอเชียมีความต้องการในการทำธุรกรรมออนไลน์อยู่ในระดับสูง หลังประสบปัญหา (Pain point) หลายอย่างในการทำธุรกรรมกับธนาคารในรูปแบบเดิม  โดยลูกค้าต้องการใช้งานระบบที่สามารถเชื่อมต่อทั้งบริการทางการเงิน และบริการที่ไม่ใช่ทางการเงินเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ และทำได้ผ่านหลากหลายช่องทาง ซึ่งนี่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธนาคารจะต้องพัฒนา Open Banking เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

"การทำ Open Banking จะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการรวมศูนย์การให้บริการของการทำธุรกรรมทางการเงินไว้บนแพลตฟอร์มเดียวกันไม่ว่าจะเป็น การโอนเงิน การเช็คยอดเงิน หรือการชำระค่าบริการต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ยกตัวอย่าง เช่น ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านธนาคาร A ชำระค่าบริการผ่านแอป B หรือขอสินเชื่อผ่านแอป C ซึ่งทั้งหมดสามารถทำได้บนแพลตฟอร์มเดียว โดยไม่ต้องกดเข้า กดออก นอกจากนี้ การที่ลูกค้าสามารถ control การใช้ข้อมูลของตัวเองได้มากขึ้น ยังทำให้เข้าถึงบริการที่หลากหลายจากผู้ให้บริการและทำได้ง่ายดายขึ้น"


ข่าววิไลพร ทวีลาภพันทอง+ความปลอดภัยวันนี้

DigitalCEO8 เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล นำคณะผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 8 จำนวน 82 คน เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand นายพิสิฐ ทางธนกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC (ประเทศไทย) ให้เกียรติต้อนรับผู้อบรม ก่อนนำเข้าสู่การบรรยายพิเศษ "กรณีศึกษา PwC digital Transformation" โดยคุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) จำกัด และหัวข้อ

PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบ... PwC ประเทศไทย เผยโซลูชัน BaaS จิ๊กซอว์สำคัญพลิกโฉมระบบนิเวศทางการเงินของไทย — PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ หรือ BaaS จะเป็นส่วนสำคัญในก...

PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่ส... PwC ประเทศไทย ชี้ธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลไม่สำเร็จ — PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำ...

PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปล... PwC แนะธุรกิจไทยวางกลยุทธ์ย้ายโครงสร้างไอทีดั้งเดิมสู่ระบบคลาวด์ — PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบดั้งเดิมสู่...

PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thai... PwC ประเทศไทย คว้ารางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565 — PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2...