รัฐนิวเซาท์เวลส์ (NSW) ประเทศออสเตรเลียได้ออกกฎข้อบังคับเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ห้ามการเพาะพันธุ์โลมาและการนำเข้าโลมาเพื่อกักขังไว้สำหรับสร้างความบันเทิง
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้เกิดขึ้นได้ด้วยหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ คือผู้สนับสนุนหลายพันคนที่ได้ร่วมกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection ในการร่วมเป็นกระบอกเสียงให้กับโลมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา
เมื่อเดือนสิงหาคมในปีที่ผ่าน เบน เพียร์สัน หัวหน้าแคมเปญ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้เข้าพบคณะไต่สวนระดับสูงของรัฐนิวเซาท์เวลส์ โดยเสนอประเด็นการใช้สัตว์ป่าเพื่อความบันเทิงและการห้ามการเพาะพันธุ์โลมา
"หากโลมาได้รับการผสมพันธุ์ในวันนี้มันอาจจะยังมีชีวิตอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2613 กฎระเบียบนี้จะให้อิสระกับโลมาจากการถูกกักขังซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาที่กระแสของสาธารณชนในการยอมรับการกักขังโลมาเพื่อความบันเทิงกำลังลดลง"- เบน เพียร์สัน กล่าว
บริษัทท่องเที่ยวรายใหญ่ระดับโลกได้ให้สัญญาที่จะหยุดขายตั๋วเข้าชมการแสดงและชมโลมาอย่างใกล้ชิด อีกทั้งปัจจุบันได้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศแคนาดา ที่มีการผ่านกฎการห้ามไม่ให้เลี้ยงโลมา วาฬและพอร์พอยส์เพื่อความบันเทิง
สถานการณ์ต่างๆเหล่านี้นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเคลื่อนไหวระดับโลกเพื่อยกระดับการดูแลสัตว์ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติให้ดีขึ้นซึ่งเกิดขึ้นแล้วใน ประเทศบราซิล โบลิเวีย ชิลี คอสตาริกา อินเดีย ลักเซมเบิร์ก นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร
โลมาเป็นสัตว์ที่ฉลาด ที่ต้องอาศัยอยู่ในธรรมชาติไม่ใช่ถูกกักขังเพื่อเพียงสร้างความบันเทิง
ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โลมาว่ายน้ำได้อย่างอิสระในมหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่มหาศาลไม่น้อยกว่า 100 ตารางกิโลเมตร แต่โลมาส่วนหนึ่งกลับต้องถูกกักขังในพื้นที่เพียงเศษเสี้ยวของที่อยู่ตามธรรมชาติ!
เราสามารถทำให้โลมารุ่นนี้ เป็นเพียงรุ่นสุดท้ายที่ต้องถูกกักขังไว้เพื่อสร้างความบันเทิงให้มนุษย์
รายชื่อสถานที่ในออสเตรเลียซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมโลมาที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ https://www.worldanimalprotection.org.au/news/where-see-dolphins-wild
เครดิตภาพถ่าย World Animal Protection / Rachel Ceretto
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection Thailand) ประกาศความก้าวหน้าของโครงการ "ฟาร์มแชมเปี้ยน" ปีที่ 2 ซึ่งกำลังเปลี่ยนผ่านจากการทดลองนำร่องในปี 2567 สู่การขยายผลในระดับชุมชนอย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงจากระบบฟาร์มปิดแบบดั้งเดิมสู่ฟาร์มในปี 2568 นี้ หลังความสำเร็จจากฟาร์มรุ่นแรกได้พิสูจน์แล้วว่าโมเดลการเลี้ยงไก่แบบที่ใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์สามารถทำได้จริงในบริบทไทย เพื่อปฏิวัติระบบการเลี้ยงไก่ของไทยด้วยโมเดลที่นอกจากจะให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ ยังตอบโจทย์ทั้งในด้านความเท่า
4 ปางช้างไทยชนะใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก คว้ารางวัล Travelers' Choice Awards Best of the Best 2024
—
Tripadvisor แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวออนไลน์ชั้นนำของโลก ได...
องค์พิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย รณรงค์ต้านเชื้อดื้อยาจากฟาร์มอุตสาหกรรม คิกออฟแคมเปญ "บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม"
—
องค์พิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประ...
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจี้ภาครัฐพัฒนามาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์ม หลังสำรวจพบเชื้อดื้อยาเขตฟาร์มหมูและไก่ในไทยต่อเนื่อง
—
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World ...
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และเวชภัณฑ์ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี
—
ผู้แทนองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World An...
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกร่วมสนับสนุน โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายด้านสุขภาพสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญ
—
เมื่อเร็วๆ นี้ World Animal Protection ได้ร่ว...
ผลศึกษาชี้ชัด ยุติฟาร์มอุตสาหกรรมลดปัญหาโลกร้อน
—
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด พบแนวโน้มการบริโภคเนื้อหมูและ...
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก มอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 7,000 เข็ม ให้กรมปศุสัตว์
—
องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection) นำโดย น...