พระจอมเกล้าลาดกระบัง เดินหน้าสู่ Digital Transformation ร่วมกับไอแอม คอนซัลติ้ง นำร่องด้วยนำเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยขับเคลื่อนสร้างระบบนิเวศทางไอที พร้อมโชว์เคสการใช้งานจริงด้วย Digital Signature on Blockchain

19 Mar 2021

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับบริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด ลงบันทึกข้อตกลงเพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาทางวิชาการด้วยการนำเทคโนโลยีเข้าขับเคลื่อน ในรูปแบบ Digital Transformation สู่การเป็นสถาบันการศึกษาดิจิทัล และสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ทางไอที นำร่องด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนทำระบบ Virtual ID Card, University Token และ Digital Certificate ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับบุคลากรและนักศึกษาภายในสถาบัน

พระจอมเกล้าลาดกระบัง เดินหน้าสู่ Digital Transformation ร่วมกับไอแอม คอนซัลติ้ง นำร่องด้วยนำเทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยขับเคลื่อนสร้างระบบนิเวศทางไอที พร้อมโชว์เคสการใช้งานจริงด้วย Digital Signature on Blockchain

รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า "ขณะนี้เราอยู่ในยุคเทคโนโลยี ดิสรัปชัน การศึกษาไทย ตั้งแต่ประถม มัธยม ถึงมหาวิทยาลัย ในอดีตเราอยู่ในรั้วที่สูงของมหาวิทยาลัย ทำให้ในแง่ของประสิทธิภาพการเรียนการสอน การจัดการและความร่วมมือกับภาคเอกชนน้อยไป ขณะที่ยุคนี้ความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการช่วยพัฒนาการศึกษาไทย เพราะจะทำให้นักศึกษาได้เข้าใจการทำงานจริง สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้งานได้จริง ในการบริหารงานของสถาบันการศึกษาเราจำเป็นต้องสร้างระบบนิเวศร่วมกับหลายภาคส่วน โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นสนาม playground ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และทดลอง" 

"คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนั้น เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สอนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดประเทศ มีนักศึกษาจำนวน 4,000 กว่าคน โดยเฉพาะในสาขาคณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยความร่วมมือกับบริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง เพื่อทำ Digital Transformation ในครั้งนี้จะต้องมีการทำงานอย่างบูรณาการ ซึ่งทางคณะวิทยาศาสตร์ได้มอบหมายให้ หน่วยงานที่เรียกว่า K-DAI หรือศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัลอัจฉริยะพระจอมเกล้าลาดกระบัง มาร่วมมือในการขับเคลื่อน เพื่อสามารถพัฒนา ประยุกต์ และต่อยอดเทคโนโลยีต่อไปได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร รวมถึงการเสริมสร้างทักษะของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยว่าสามารถทำงานได้ มีสนามทดทองให้ลองทำงานจริง ดังนั้น Digital Transformation จะไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงในมหาวิทยาลัย แต่ในอนาคต เราจะสร้างบุคลากรไอทีรุ่นใหม่สู่ตลาดแรงงานในประเทศได้" รศ.ดร.อิทธิพลกล่าวเสริม

ทางด้าน ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ กรรมการ บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าวว่า "จากประสบการณ์การพัฒนาระบบไอทีให้กับองค์กรระดับเอนเทอร์ไพรส์มากว่า 16 ปี และการต่อยอดธุรกิจในเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องของไอแอม คอนซัลติ้ง ในความร่วมมือครั้งนี้ เราได้นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยต่อยอดสู่ Digital Transformation ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความสามารถทางวิชาการกับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน การเปิดให้นักศึกษาที่เกี่ยวข้องได้ทดลองสร้างสรรค์ผลงานทางเทคโนโลยีจริง การต่อยอดเพื่อพัฒนาความสามารถกับอาจารย์และบุคลากรให้สามารถประยุกต์เทคโนโลยีไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้กับสถาบัน รวมทั้งสามารถนำเอาระบบเทคโนโลยีมาช่วยสร้างและขยายระบบนิเวศทางไอทีได้"

"โดยเราได้เริ่มต้นนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาเสริม และทำ Proof of Concept (POC) หรือ การสาธิตและทดสอบการทำงานว่าสามารถใช้งานในมหาวิทยาลัยได้จริง ได้แก่ Virtual ID Card หรือ Digital ID เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา การทำ University Token สร้างสังคมไร้เงินสดด้วยการนำ Token หรือ Coin มาใช้แลกเปลี่ยนภายในมหาวิทยาลัย และ การพัฒนา Digital Certificate เพื่อเปลี่ยนการทำงานแบบ Document Original ให้เป็น Digital Original ในที่สุด ซึ่งในการลงนามครั้งนี้ ทางไอแอม คอนซัลติ้ง ก็ได้นำเสนอการใช้งานจริงของ Digital Signature on Blockchain ซึ่งพัฒนาระบบตามมาตรฐานของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) หรือ ETDA นับเป็นครั้งแรกที่มีการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคเอกชนเพื่อนำ Digital Signature on Blockchain มาใช้งานในมหาวิทยาลัย" 

นอกจากความร่วมมือดังกล่าวมานี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และบริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด ยังได้วางแผนที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกี่ยวกับธุรกิจการแนะแนวการศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางด้านวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง เช่น Machine Learning การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ การสร้างสรรค์แพลตฟอร์ม (Platform) ใหม่ๆ เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมและผลักดันคณาจารย์ และนักศึกษาให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำ Digital Transformation เพื่อสร้างนวัตกรรม ผลงานวิจัย ตลอดจนสามารถต่อยอดใช้งานจริง หรือใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้

HTML::image(