Fortinet(R) (NASDAQ: FTNT) ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจรออกโรงประกาศแนะนำวิธีการที่หน่วยงานที่ให้บริการด้านสาธารณสุขและโรงพยาบาลสามารถป้องกันตนเองให้พ้นภัยเรียกค่าไถ่แรนซัมแวร์ (Ransomware) ที่แพร่ระบาดได้ โดยสำรองระบบและข้อมูลที่สำคัญ ตรวจสอบและป้องกันภัยโดยใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายอันครบวงจรที่อยู่บนแพลทฟอร์มซีเคียวริตี้แฟบริค (Security Fabric) ของฟอร์ติเน็ต
ในปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรธุรกิจไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก ขนาดกลางไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ พบว่า 90% ของข้อมูลทั่วโลกถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมายในช่วงสองปีที่ผ่านมา และมีการละเมิดข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 54% เช่นกัน อาชญากรไซเบอร์เองเห็นมูลค่าของข้อมูลจึงหันมาใช้ไวรัสเรียกค่าไถ่ที่เรียกว่าแรนซัมแวร์ (Ransomware) เป็นช่องทางในการสร้างรายได้มากขึ้นเช่นกัน ผู้ไม่หวังดีเข้าแทรกซึมเข้าสู่ระบบไอทีและเข้าถึงข้อมูลผ่านการแฮ็กการเข้ารหัส การล็อกและการกรองไฟล์ต่างๆ องค์กรที่ถูกแฮ็กจะถูกบังคับให้จ่ายเงินเพื่อแลกกับการที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญต่อธุรกิจของตนอีกครั้ง
ภัยแรนซัมแวร์ขยายตัวเพิ่มขึ้น
พบว่ามีการโจมตีด้วยภัยแรนซัมแวร์เพิ่มมากขึ้นกว่า 2 เท่าในปีที่แล้ว โดยแฮ็กเกอร์ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการโจมตีเพื่อมุ่งการจ่ายเงินที่มีจำนวนสูงมากขึ้น ในขณะที่มีเพียง 1 ใน 3 องค์กรจากทั่วโลกเท่านั้นที่มั่นใจว่าตนเองสามารถติดตามและแก้ไขการโจมตีเหล่านั้นได้ ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบทั่วโลกที่เกิดจากภัยแรนซัมแวร์สูงถึง 20 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปีค.ศ. 2021 โดยทั่วไปแล้ว แรนซัมแวร์เรียกร้องค่าไถ่ที่มูลค่ารวมกันถึง 6 หลักด้วยกัน และเนื่องจากการชำระเงินค่าไถ่มักจะทำโดยใช้ตระกูลเงินบิตคอยน์ จึงทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถฟอกเงินได้โดยไม่ร่องรอยให้ติดตาม ความเสียหายทางอ้อมคือการที่ธุรกิจถูกทำให้หยุดชะงักลง ซึ่งพบว่า 42% ขององค์กรในภาคธุรกิจเอกชน ได้รับผลกระทบจากไวรัสเรียกค่าไถ่แรนซัมแวร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยในจำนวนนั้นมีองค์กร 73% ประสบปัญหาระบบหยุดทำงานสองวันหรือมากกว่านั้น
ผลกระทบทางธุรกิจที่เกิดจากแรนซัมแวร์
ในปัจจุบัน ความเสียหายที่เกิดจากการที่ระบบหยุดทำงานและการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเนื่องจากการโจมตีของแรนซัมแวร์มีมูลค่าสูงถึงหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นเป็นหลายหมื่นล้านเหรียญได้เนื่องจากแฮ็กเกอร์ส่งไวรัสแรนซัมแวร์ผ่านอุปกรณ์ไอโอที Internet-of-Things (IoT) ที่มีจำนวนมากขึ้น
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 พบการโจมตีของแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 350% โดยพบการโจมตีทีอุปกรณ์ไอทีที่ส่งผลให้บริการในสถานให้บริการทันตกรรมและการพยาบาลหลายร้อยแห่งหยุดชะงักลง ในขณะที่มีรายงานจากโรงพยาบาล ระบบสุขภาพและหน่วยงานอื่นๆ หลายแห่งว่าธุรกิจหยุดชะงักลง
นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยังมีตัวอย่างการคุกคามมากมาย รวมถึงวิธีที่แฮ็กเกอร์แอบเข้าถึงฐานข้อมูลของ MongoDB อันเป็นแหล่งบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย 200,000 รายที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งแฮกเกอร์ได้ลบข้อมูลไปจนหมดและเรียกค่าไถ่เป็นเงิน 180,000 เหรียญสหรัฐในบิตคอยน์
นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์ใหญ่อีกแห่งในฮอลลีวูด รัฐแคลิฟอร์เนียได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่ระบบติดไวรัสแรนซัมแวร์ตระกูล Locky โดยที่แพทย์และผู้ดูแลคนอื่นๆ ถูกล็อกบัญชี ไม่สามารถบันทึกข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ได้ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ปากกาและกระดาษในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและใช้วิธีแฟกซ์แทนอีเมลในการสื่อสารกัน แฮกเกอร์เรียกร้องเงิน 40 บิตคอยน์ (หรือประมาณ 17,000 เหรียญสหรัฐ) เพื่อแลกกับกุญแจในการถอดรหัสไฟล์ที่ถูกล็อกซึ่งทางโรงพยาบาลยอมจ่ายให้ แต่ทั้งนี้ อาชญากรไซเบอร์ไม่ได้ให้สิทธิ์เหยื่อเข้าถึงข้อมูลของพวกเขาเสมอไป ซึ่งพบในกรณีของโรงพยาบาลในแคนซัส ที่โรงพยาบาลได้ยอมจ่ายเงินค่าไถ่เบื้องต้น แต่แฮ็คทิวิสต์ไม่ได้ปลดล็อกไฟล์ทั้งหมดและเรียกร้องเงินเพิ่มขึ้น แต่ทางโรงพยาบาลเลือกที่จะปฏิเสธการเรียกค่าไถ่เพิ่มเติม
ประเภทต่างๆ ของแรนซัมแวร์
แรนซัมแวร์แบบดั้งเดิมจะติดตามข้อมูลของเหยื่อและเข้าล็อกไฟล์จนกว่าเหยื่อจะจ่ายค่าไถ่ แต่ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ไอโอที ทำให้เกิดแรนซั่มแวร์สายพันธุ์ใหม่ๆ ภัยจะพัฒนาให้สามารถมุ่งเป้าไปที่ระบบควบคุม (เช่น ยานพาหนะ สายการผลิต ระบบไฟฟ้าสาธารณูปโภค) และทำการปิดระบบจนกว่าจะได้เงินค่าไถ่
แรนซัมแวร์ที่แพร่หลายมากที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่:
ฟอร์ติการ์ตแล็ปส์อันเป็นศูนย์วิเคราะห์ภัยของฟอร์ติเน็ตพบตระกูลและสายพันธ์ของแรนซัมแวร์เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2016 มากขึ้นถึงสิบเท่า ซึ่งมีวิวัฒนาการเป็นรูปแบบใหม่ๆ มากมายทุกวันตลอดปีอย่างต่อเนื่อง ทำให้โซลูชันป้องกันไวรัสที่ใช้ซิคเนเจอร์แบบดั้งเดิมไม่เพียงพอ เมื่อไวรัสใดถูกพบระบุสายพันธุ์แล้ว อาชญากรไซเบอร์จะพัฒนาไปอยู่ในรูปแบบใหม่ เช่น ตระกูล Ryuk และ Sodinokibi ransomware จึงทำให้มูลค่าค่าไถ่ที่ผู้โจมตีต้องการเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 ขึ้นอย่างมากมาย
กระบวนการป้องกันแบบต้นทางจนปลายทางจากฟอร์ติเน็ต
ประเด็นสำคัญ:
ชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ตได้ให้คำแนะนำว่า “แรนซัมแวรมีวิวัฒนาการและกลายพันธุ์เป็นภัยคุกคามที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นอันตรายต่อองค์กรแทบทุกขนาด องค์กรต่างๆ จะต้องปฏิบัติตาม ดังนี้
ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนหลักสูตรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตร "ปัญญาประดิษฐ์สำหรับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ หน่วยวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยไซเบอร์ AIoT พร้อมเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมฟรี ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ให้การสนับสนุนหลักสูตรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์
—
ฟอร์ติเน็ต ผู้...
ฟอร์ติเน็ต ต่อยอดผู้นำความปลอดภัยด้วย AI ขยาย GenAI ทั่วสายผลิตภัณฑ์ พร้อมเปิดตัวสองโซลูชันใหม่ รักษาความปลอดภัยง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
—
ขยาย FortiA...
ฟอร์ติเน็ต ขยายสายผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อเครือข่ายปลอดภัย ไร้กังวล ควบรวม "เน็ตเวิร์กกิ้ง" และ "ซีเคียวริตี้" เข้าด้วยกัน
—
จอห์น แมดดิสัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่า...
ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย คว้ารางวัล Thailand Cybersecurity Excellence Awards 2023
—
ฟอร์ติเน็ต ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 ระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ข...
หัวเว่ย กำหนดนิยามใหม่ของความปลอดภัย เปิดตัว HiSec ผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และ HiSec SASE โซลูชันรักษาความปลอดภัยทรงพลัง
—
ในงานหัวเว่ย คอนเนกต์...
ฟอร์ติเน็ต ลงนามร่วมม.นอร์ทกรุงเทพ ส่งมอบ Labs ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ สนับสนุนการเรียนการสอนสร้างกำลังพลรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์แบบเข้มข้น
—
ฟอร์ติเน็ต ...
แคสเปอร์สกี้ชี้ AI ช่วยเสริมทีมรักษาความปลอดภัยไอทีใน APAC ได้ แต่ต้องใช้อย่างรอบคอบ
—
สภาวการณ์การขาดแคลนบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของภูมิภาคเอเชียแป...