สมาคมประกันวินาศภัยไทย ต่อยอดโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้”

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันวินาศภัยไทย นำคณะผู้บริหารสมาคมฯ เข้าประชุมหารือกับผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) โดยมี ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดี ผศ.ดร.เฉลิมพล เยื้องกลาง รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและการรับประกันคุณภาพ และ ผศ.ดร.เอนก เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัยและโครงการพิเศษ ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 3สมาคมประกันวินาศภัยไทย สิงหาคมที่ผ่านมา

สมาคมประกันวินาศภัยไทย ต่อยอดโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้”

นายกี่เดช เปิดเผยว่า จากการพบปะหารือกันในครั้งนี้ จะเป็นการต่อยอดโครงการธนาคารน้ำใต้ดินที่สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ดำเนินการขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในตำบลเด่นราษฎร์ และ ตำบลดูกอึ่ง อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 3,095 บ่อ เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วและได้ส่งมอบให้กับทางจังหวัดร้อยเอ็ดไว้เป็นสาธารณประโยชน์ของชุมชน ซึ่งเป็นโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน “หนองฮีโมเดล” ที่สมบูรณ์แบบแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ต่อมาทางคณะกรรมการบริหารของสมาคมฯ และคณะกรรมการกองทุนประกันภัยพืชผล ได้มีดำริที่จะสนับสนุนการต่อยอดโครงการร่วมกับ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้” ที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สร้างน้ำกลางดินทรายบนจุดสูงสุดของที่ราบสูง เพื่อให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้การจัดการน้ำครบวงจรด้วยระบบธนาคารน้ำใต้ดิน” เพื่อให้เป็นต้นแบบการจัดการน้ำใต้ดินในพื้นที่แห้งแล้งที่อยู่นอกเขตชลประทาน พร้อมทำเป็น “ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงและพืชผลนอกฤดูกาล” ในภาคอีสาน เพื่อให้เกษตรกรได้เข้ามาศึกษาและขยายผลของวิธีการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่ให้เกิดการพัฒนาและสร้างความยั่งยืนในชีวิตของตนเอง ที่ผ่านมาทาง มทร.อีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้ขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินไว้แล้วจำนวนหนึ่ง แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่แห้งแล้งจัด น้ำจึงไม่เพียงพอ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมาคมฯ จึงสนับสนุนงบประมาณให้ขุดเพิ่มอีก 10 บ่อ แยกเป็นบ่อเปิด ขนาด 40?40?10 เมตร จำนวน 4 บ่อเปิด ขนาด 10?10?10 เมตร อีก 4 บ่อ และบ่อแบบทูอินวันอีก 2 บ่อ ซึ่งการสนับสนุนของสมาคมฯ ในครั้งนี้ทำให้โครงการบริหารจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยนั้นครบสมบูรณ์ตามแผนที่วางไว้และสามารถดำเนินการเพาะปลูกและพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อสร้างประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชนต่อไปได้

“นี่คือการเข้าไปช่วยเติมเต็มในการแก้ปัญหาน้ำของทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งที่ผ่านมาทาง มทร. อีสาน ได้ทำไปในระดับหนึ่งแล้ว จากไม่มีน้ำทำให้มีน้ำ จากหน้าแล้งปลูกอะไรไม่ได้เลย ก็สามารถปลูกพืชผัก ฟักทอง ปลูกถั่วลิสงได้ จากมีแต่ทรายหนา ๆ สูง ๆ ไม่มีหญ้าก็สามารถปลูกหญ้าเลี้ยงควายได้ ซึ่งเป็นความพยายามช่วยเหลือเกษตรกรของสมาคมประกันวินาศภัยไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย” นายกี่เดช กล่าวปิดท้าย


ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวันนี้

ระบบราง มทร.อีสาน สุดเจ๋ง! คว้ารางวัลแข่งขันออกแบบหัวรถจักรไฟฟ้า ชนะเลิศ 3 รายการ

วันที่ 14 16 กุมภาพันธ์ 2568 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย คณะระบบรางและการขนส่ง นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชิต คำภาหล้า คณบดีคณะระบบรางและการขนส่ง พร้อมด้วย ดร.ไพลิน หาญขุดทดหัวหน้าสาขาระบบราง อาจารย์กฤษฎิ์ ต.ศิริวัฒนา และ ดร.กฤษฎา มงคลดี ผู้ควบคุมทีม พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาสาขาระบบราง มทร.อีสาน นครราชสีมา เข้าร่วมการแข่งขันออกแบบหัวรถจักรไฟฟ้า TRRN RAILWAY CHALLENGE 2025 ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มทส. ต.คลองไผ่ อ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รอง... บางจากฯ ร่วมมือ กองทัพอากาศ เตรียมต่อยอดเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) สำหรับอากาศยานกองทัพ — เมื่อเร็วๆ นี้ นายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการให...

บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) ร่วมกับ ... CHO ร่วมกับ มทร.อีสาน เปิดศูนย์แปลงยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะเมืองโคราช — บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช...

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนชมงานมหกรรม Skill ... กรมพัฒน์ ชวนชมงาน Skill Expo ขอนแก่น อัพสกิลแรงงานไทย สู่โลกยุคใหม่ในอนาคต — กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนชมงานมหกรรม Skill Expo Thailand ที่ขอนแก่น 19 22 มกราค...