เพราะมันอยู่ที่ใจ...ไม่ใช่เสียง ฟังเสียงจากใจสองผู้พิการทางการได้ยิน กับการก้าวข้าม “ข้อจำกัด” เพื่อคว้า “โอกาส” ในชีวิต

ในยุคสมัยที่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม ไม่เพียงเทคโนโลยีจะนำมาซึ่งความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังช่วยเปิดประตูสู่ “โอกาส” ในการทำงานและการสร้างรายได้ให้กับผู้คนมากมาย อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยในสังคมที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการใช้ชีวิตและขาดโอกาสในการแสดงศักยภาพของตัวเอง หนึ่งในนั้นคือกลุ่มคนพิการซึ่งมีสัดส่วนราว เทคโนโลยี% ของจำนวนประชากรไทยที่มีอยู่ถึง 66 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนหูหนวก ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า เทคโนโลยี75,เศรษฐกิจดิจิทัลเศรษฐกิจดิจิทัลเศรษฐกิจดิจิทัล คน การมีข้อจำกัดในด้านการสื่อสาร รวมถึงการขาดโอกาสในการเข้าถึงอาชีพและการสร้างรายได้ถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่พวกเขาต้องเผชิญ

เพราะมันอยู่ที่ใจ...ไม่ใช่เสียง ฟังเสียงจากใจสองผู้พิการทางการได้ยิน กับการก้าวข้าม “ข้อจำกัด” เพื่อคว้า “โอกาส” ในชีวิต

เนื่องในโอกาส “สัปดาห์หูหนวกโลก” (International Week of the Deaf) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 – 30 กันยายนของทุกปี เราอยากชวนทุกคนมาเปิดใจรับฟังเสียงของสองสามี-ภรรยาผู้พิการทางการได้ยิน คุณโค้ก-สง่า กองทิพย์ และ คุณโบว์-สุพรรษา ขาวผ่อง ทั้งยังเป็นคุณพ่อและคุณแม่ของน้องใบบัววัย 5 ขวบและน้องบุษบาวัย 2 ขวบ ทั้งสองเป็นตัวแทนของกลุ่มคนหูหนวกที่แม้จะมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายจากความพิการทางการได้ยิน แต่กลับไม่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตและการทำงาน ยังคงเดินหน้าสร้างโอกาสอย่างไม่เคยย่อท้อเพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นถึงศักยภาพที่ซุกซ่อนอยู่ใน “หัวใจ” ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังบวก

“โอกาส” ที่แลกมาด้วยการพิสูจน์ตัวเอง

คุณโบว์ เล่าผ่านภาษามือว่า “บ่อยครั้งที่คนทั่วไปจะชอบคิดว่าเราไม่สามารถทำงานได้เหมือนคนอื่นเพียงเพราะเราเป็นคนหูหนวก บางคนแสดงความไม่มั่นใจในตัวเราเพราะเราไม่ได้ยินเสียงของเขา แต่จริง ๆ แล้วคนหูหนวกอย่างเราสามารถติดต่อสื่อสารได้ เรารับรู้ได้จากสีหน้า ท่าทางและการอ่านปาก พอเราเจอเหตุการณ์แบบนั้นทำให้เกิดแรงผลักดันเพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนได้รู้ว่า เราสามารถทำทุกอย่างได้เหมือนคนปกติและยังทำได้ดีกว่าที่หลายคนเคยคิดด้วย”

“ทักษะด้านการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน เราต้องพยายามพัฒนาการสื่อสารของเราให้ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าถึงแม้เราจะไม่สามารถพูดออกมาเป็นเสียงได้ แต่ก็ยังคุยกับคนอื่นได้แบบไร้ข้อจำกัด อย่างตอนที่โบว์ทำงานเป็นพนักงานบริษัทเอกชน เราต้องหาวิธีในการสื่อสารหรือประสานงานกับเพื่อนร่วมงานเพื่อให้งานราบรื่นไปด้วยดี หรือในปัจจุบันที่โบว์หันมาทำอาชีพอิสระอย่างการขับแกร็บแทนงานประจำ เพราะอยากมีเวลาในการดูแลลูกสาวทั้งสองคนมากขึ้น ก็ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะแกร็บมีลูกค้ามาใช้บริการหลากหลาย บางคนที่ไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับก็ยังปฏิเสธที่จะใช้บริการจากคนหูหนวก แต่เราก็ไม่เคยท้อ ถึงจะเป็นอย่างนั้นเราก็ยังตั้งใจทำงานและให้บริการอย่างดีที่สุด เพื่อพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าไม่มีอุปสรรคใดที่เราจะฝ่าฟันไปไม่ได้”

“ที่ผ่านมาพวกเราเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามผ่านความท้าทายต่าง ๆ โดยเฉพาะมุมมองและความเข้าใจของคนทั่วไปที่มีต่อคนหูหนวกที่บางครั้งทำให้เรารู้สึกไม่ดี แต่ด้วยความพยายามและการลงมือทำอย่างไม่ยอมแพ้ ทำให้หลายคนเริ่มให้การยอมรับคนหูหนวกมากขึ้น ไม่ตัดสินเราจากภายนอก นอกจากผมและโบว์จะเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันแล้ว อีกหนึ่งแรงใจสำคัญคือลูกสาวทั้งสองคน เราทุ่มเททั้งพลังกายและพลังใจเพื่อสร้างโอกาสและอนาคตให้กับพวกเขาเป็นหลัก โดยเลือกทำงานที่ตอบโจทย์ทั้งรายได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถบริหารจัดการเวลาให้เหมาะสมเพื่อจะได้ดูแลพวกเขาได้อย่างใกล้ชิด ตัวผมเองนอกจากจะช่วยเหลือธุรกิจครอบครัวแล้ว ยังใช้เวลาว่างไปขับแกร็บคาร์เพื่อรับส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ ส่วนโบว์จะเน้นขับรถมอเตอร์ไซค์เพื่อส่งอาหารและสิ่งของ ด้วยรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นทำให้เรามีอิสระในการรับงานและมีเวลาดูแลครอบครัว รายได้ที่เข้ามาก็ถือเป็นรายได้เสริมที่ทำให้การดำเนินชีวิตคล่องตัวยิ่งขึ้น” คุณโค้กเล่าเสริม

เทคโนโลยีช่วยเปิดประตูสู่ “โอกาส”

หนึ่งในอุปสรรคของผู้พิการทางการได้ยินคงหนีไม่พ้นเรื่อง “การสื่อสาร” ด้วยข้อจำกัดทางการพูด ทำให้ทางเลือกในการสื่อสารจำกัดไว้เพียงการเขียนผ่านตัวอักษรและการใช้ภาษามือ ซึ่งเปรียบเสมือนภาษาหลักที่พวกเขาใช้ในการพูดคุย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายและการเข้าถึงของอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมในแทบทุกพื้นที่ ช่วยเพิ่มการเข้าถึงตัวเลือกในการสื่อสารให้กับผู้พิการทางการได้ยินมากยิ่งขึ้น

“สำหรับโบว์เองมองว่าเทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารได้มากขึ้น อย่างการพูดคุยกับคนทั่วไป เราก็สามารถใช้การแชตหรือพิมพ์ข้อความแล้วยื่นให้เขาดูได้ หรือแม้แต่การทำงานอย่างการขับแกร็บก็มีฟีเจอร์ 'แกร็บแชต’ (Grab Chat) ให้คนขับสามารถติดต่อกับลูกค้าได้ ทั้งยังมีโปรแกรมแปลภาษา ทำให้เราไม่มีปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติด้วย”

“เวลาที่ขับรถไปส่งอาหาร พอลูกค้าทราบว่าเราเป็นคนหูหนวก บางคนก็จะยื่นรูปภาษามือที่บอกว่า 'ขอบคุณ’ ให้กับโบว์ ตรงนี้ช่วยทำให้ช่องว่างในการสื่อสารลดลง โบว์มองว่าแอปพลิเคชันต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกให้เรามากขึ้น และยังเปิดโอกาสให้ได้ลองอะไรใหม่ ๆ จากเดิมที่คนหูหนวกมักถูกจำกัดในเรื่องอาชีพ แต่พอมีแอปพลิเคชันอย่างแกร็บเข้ามา ก็ทำให้พวกเรามีทางเลือกในการทำงานมากขึ้น โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านอายุ การศึกษาหรือแม้แต่ความพิการ นอกจากจะมีรายได้เสริมแล้ว เรายังได้เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เจอผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้เรียนรู้เส้นทางและคำศัพท์ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราสนุกกับการทำงานในทุกวัน” คุณโบว์กล่าวเสริม

ขอเพียงเปิดใจและให้ “โอกาส”

ทุกชีวิตล้วนต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในรูปแบบที่แตกต่างกันไป กลุ่มผู้พิการทางการได้ยินก็เช่นกัน หลายครั้งพวกเขาต้องรับมือกับการไม่ยอมเปิดใจจากคนในสังคม อย่างที่คุณโค้กได้แสดงมุมมองในประเด็นนี้ว่า “เมื่อมีโอกาสได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ เรามักจะพบเจอกับความท้าทายในช่วงแรก ซึ่งถือเป็นบทพิสูจน์ให้เราต้องเรียนรู้และก้าวผ่านมันไปให้ได้ อย่างผมเองตอนที่เริ่มมาขับแกร็บแรก ๆ บางครั้งก็เคยถูกปฏิเสธจากลูกค้า บางคนพอรู้ว่าเราเป็นคนหูหนวกก็อาจจะไม่เชื่อมั่น แสดงท่าทีหรือสีหน้าไม่ยอมรับ ซึ่งถือเป็นแรงผลักดันให้ผมต้องพยายามและพิสูจน์ตัวเองให้เห็นว่าเราก็สามารถให้บริการได้เหมือนคนปกติเช่นกัน ถ้าเป็นไปได้ผมอยากขอโอกาสให้ทุกคนลองเปิดใจให้กับพวกเรา อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่าเราทำไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่น่ารักและให้การยอมรับ บางคนให้ทิปเพิ่ม บางคนแบ่งขนมให้ หรือแม้แต่การมอบรอยยิ้มและส่งภาษามือ สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ถือเป็นกำลังใจให้พวกเรายังคงก้าวเดินต่อไป”

คุณโบว์ และ คุณโค้ก ยังได้ทิ้งท้ายโดยฝากส่งกำลังใจให้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการหรือคนปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่หลายคนอาจจะประสบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตจากวิกฤติการณ์โควิด-19 “หากเจออุปสรรคหรือความท้าทายใด ๆ ก็ตาม จงอย่ายอมแพ้ ให้หาทางสู้ เริ่มลงมือทำจากอะไรที่ใกล้ตัวก่อน แล้วค่อยมองหาหนทางที่จะขยับขยายต่อไป ทุกอย่างอยู่ที่ใจ โอกาสจะเป็นของคนที่ลงมือทำเสมอ”


ข่าวเศรษฐกิจดิจิทัล+กลุ่มคนพิการวันนี้

ผอ.ใหญ่ ดีป้า แนะไทยเดินหน้าหาตลาดใหม่ เตรียมการรับมือมาตรการภาษีทรัมป์

ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของคู่ค้าสหรัฐฯ แต่ยอมรับว่าอาจส่งผลกระทบต่อ GDP ไทย คาดมาตรการดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลทันที แนะไทยเร่งหาตลาดใหม่ทดแทน และสร้างช่องทางการส่งออกให้กับผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เพื่อสร้างรายได้จากการส่งออกและโอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งเป็นการกระจายเม็ดเงินสู่ระดับฐานราก ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า การที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

กมธ.ไอซีที วุฒิสภา เร่งผลักดันยุทธศาสตร์ก... กมธ.ไอซีที วุฒิสภาจัดสัมมนาระดมความคิดแก้กม.เอื้อนักลงทุน Data Center และ AI — กมธ.ไอซีที วุฒิสภา เร่งผลักดันยุทธศาสตร์การลงทุน Data Center และส่งเสริมใช้...

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน... กรุงศรี จับมือ SkillLane เปิดโลกการเรียนรู้ออนไลน์ เสริมศักยภาพ SME เพื่ออนาคตธุรกิจยุคใหม่ — กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) และ SkillLane ผู...