สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้ผลวิจัยล่าสุด ไทยติดเรดาร์น่าลงทุน แนะเร่งเครื่อง หวั่นพลาดเป้า SDGs ปี 2573

26 Nov 2020

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นกองทุนชั้นนำของโลก 300 แห่ง ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมกันมากกว่า 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ผลการสำรวจพบว่า

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้ผลวิจัยล่าสุด ไทยติดเรดาร์น่าลงทุน แนะเร่งเครื่อง หวั่นพลาดเป้า SDGs ปี 2573
  • ร้อยละ 20 ไม่ตระหนักถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs)
  • มีเพียงร้อยละ 13 ของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการมูลค่า 50 ล้านล้านเหรียญที่เกี่ยวข้องกับ SDGs
  • ร้อยละ 64 ของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ ลงทุนอยู่ในภูมิภาคยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยร้อยละ 22 อยู่ในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีตลาดพัฒนาแล้วรวมอยู่ด้วย
  • ช่องว่างการลงทุนที่มีอยู่ในตลาดประเทศเกิดใหม่สะท้อนให้เห็นว่า การจะทำให้ได้ตามเป้าหมายของ SDGs ที่กำหนดไว้ในปี 2573 เป็นที่น่ากังวลยิ่ง
  • สำหรับกองทุนที่ได้ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ในอาเซียนแล้ว (เวียดนาม, อินโดนีเซีย, ไทย, ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย) ร้อยละ 39 บอกว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มการลงทุนในอนาคต
  • ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยร้อยละ 45 ของกองทุนที่มีการเติบโตสูง วางประเทศไทยในกลยุทธ์การลงทุนในตลาดเกิดใหม่**

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุด ชี้ประเทศไทยและประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ยังขาดการลงทุนที่เพียงพอจะทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals : SDGs)

รายงาน The $50 Trillion Question ทำการศึกษาลักษณะการลงทุนของกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมกันกว่า 50 ล้านล้านเหรียญ ท่ามกลางช่วงเวลาที่สำคัญเช่นปัจจุบันที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของโลก ประเทศเกิดใหม่ขาดการลงทุนอย่างมหาศาล

รายงานของเราพบว่า เกือบสองในสาม (ร้อยละ 64) ของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการลงทุนอยู่ในตลาดพัฒนาแล้วในภูมิภาคยุโรป และอเมริกาเหนือ ส่วนภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีตลาดพัฒนาแล้วรวมอยู่ด้วยหลายแห่ง มีสัดส่วนการลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 22 ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 2 ลงทุนอยู่ในตะวันออกกลาง ร้อยละ 3 ในแอฟริกา และร้อยละ 5 ในอเมริกาใต้ ตามลำดับ

ตัวเลขการลงทุนในระดับต่ำนี้ ขัดแย้งกับผู้จัดการกองทุนที่ตอบแบบสำรวจร้อยละ 88 ซึ่งบอกว่าการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ให้ผลตอบแทนเท่ากับหรือดีกว่าผลตอบแทนจากตลาดพัฒนาแล้วในช่วงสามปีที่ผ่านมา
กองทุนที่ตอบแบบสำรวจเหล่านี้ลงทุนที่ใดบ้าง

อเมริกาเหนือ ร้อยละ 26
ยุโรป ร้อยละ 38
เอเชีย ร้อยละ 22
ตะวันออกกลาง ร้อยละ 2
แอฟริกา ร้อยละ 3
อเมริกาใต้ ร้อยละ 5
ออสเตรเลีย/โอเชียเนีย ร้อยละ 4

ความเสี่ยงในประเทศเกิดใหม่เป็นปัจจัยสำคัญที่ถ่วงน้ำหนักการลงทุน โดยมากกว่าสองในสามของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าประเทศเกิดใหม่เป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูง ในขณะที่ร้อยละ 42 เห็นว่าความเสี่ยงอยู่ในระดับเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจที่ได้ลงทุนในตลาดเกิดใหม่อาเซียนอยู่แล้ว มีมุมมองที่เป็นบวกต่อภูมิภาคนี้ โดยร้อยละ 39 คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในช่วง 3 ปีข้างหน้า เป็นไปในทิศทางเดียวกับร้อยละ 68 ของบริษัทขนาดใหญ่ 10 อันดับแรก ที่คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในภูมิภาคนี้

ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยร้อยละ 45 ของผู้จัดการกองทุนที่มีการเติบโตสูง วางประเทศไทยในกลยุทธ์การลงทุนในตลาดเกิดใหม่

บริษัทจัดการกองทุนที่มีการเติบโตสูง ให้น้ำหนักประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนอย่างไร
การเติบโตสูง ประเทศ การเติบโตต่ำ
ร้อยละ 44 เวียดนาม ร้อยละ 42
ร้อยละ 43 อินโดนีเซีย ร้อยละ 44
ร้อยละ 45 ไทย ร้อยละ 35
ร้อยละ 33 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 26
ร้อยละ 43 มาเลเซีย ร้อยละ 14

**บริษัทจัดการกองทุนที่มีการเติบโตสูง คือบริษัทมีการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากกว่าร้อยละ 5 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่บริษัทจัดการกองทุนที่มีการเติบโตต่ำคือบริษัทที่มีการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการน้อยกว่าร้อยละ 5

นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด -19 อาจส่งผลให้การลงทุนมายังประเทศเกิดใหม่ยากขึ้น โดยร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่าโรคระบาดในครั้งนี้ได้ขยายช่องว่างเงินทุนให้ถ่างออกไปอีก

ยังขาดเงินลงทุนที่เชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs
รายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองด้านความยั่งยืนซึ่งกำลังเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น โดยร้อยละ 81 ของกองทุนเหล่านี้ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังไม่ได้รับการส่งผ่านไปยังการลงทุนที่ตอบโจทย์เป้าหมาย SDGs โดยมีเพียงร้อยละ 13 ของสินทรัพย์ที่บริหารจัดการโดยผู้ตอบแบบสำรวจเท่านั้นที่เป็นการลงทุนที่เชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs

ร้อยละ 55 ให้ความเห็นว่าเป้าหมาย SDGs ไม่สอดคล้องกับการลงทุนหลักของกองทุน ในขณะที่ร้อยละ 47 บอกว่าการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs วัดผลได้ยาก อย่างไรก็ตาม หนึ่งในห้าของผู้ตอบแบบสำรวจยอมรับว่าพวกเขายังไม่ได้ตระหนักดีถึงเป้าหมาย SDGs

ผู้ตอบแบบสำรวจให้ความเห็นว่าปัจจัย 5 ประการที่จะทำให้การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย SDGs มีมากขึ้น คือ การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ, สิทธิประโยชน์ทางภาษี, หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่สูงกว่า, ข้อมูลที่ชัดเจนกว่าในปัจจุบันในด้านการวัดผลกระทบ และความสนใจที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุนรายย่อย

ปัจจัยที่จะช่วยผลักดันการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ร้อยละ
กฎระเบียบที่ส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ SDGs 74
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs 63
หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs จะไม่นำไปสู่ผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ 63
ข้อมูลที่ชัดเจนกว่าในปัจจุบันเพื่อวัดผลกระทบของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs 53
ความต้องการของนักลงทุนรายย่อยในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ SDGs 53

ไซม่อน คูเปอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงาน Corporate, Commercial and Institutional Banking ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า "ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีพัฒนาการในการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องเป้าหมาย SDGs อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นที่ต้องเร่งตัวขึ้น การจะบรรลุเป้าหมาย SDGs ตามที่ตั้งเป้าไว้ในปี 257 จำเป็นต้องมีการลงทุนจากภาคเอกชนมูลค่ามหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ผนวกกับการลงทุนของภาครัฐและพันธกิจร่วมกันที่จะปิดช่องว่างนี้ และก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน

นายพลากร หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า "ไม่มีคำตอบใดที่ตอบโจทย์คำถามมูลค่า 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐนี้ได้อย่างครบถ้วน แต่สิ่งที่แน่ชัดคือ นักลงทุนจำเป็นต้องมองไปให้ไกลกว่าตลาดพัฒนาแล้ว ภูมิภาคเกิดใหม่อย่างอาเซียน และประเทศเกิดใหม่อื่นๆ โดยรวมแล้วมีโอกาสเฉพาะตัวที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน นั่นคือ ผลตอบแทนดี และโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่มีนัยสำคัญ ตอนนี้ถึงเวลาที่จะคว้าโอกาสนั้นแล้ว"

ผลสำรวจ $50 Trillion Question เป็นการศึกษาล่าสุดต่อยอดจากรายงาน Opportunity2030 The Standard Chartered SDG Investment Map ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐสำหรับนักลงทุนภาคเอกชนที่สามารถช่วยผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย SDGs ในตลาดเกิดใหม่

*กลุ่มนักลงทุนผู้ตอบแบบสำรวจ $50 Trillion Question ประกอบไปด้วยผู้จัดการกองทุนจากบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลก 300 แห่ง ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวมกันกว่า 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของจีดีพีโลก) โดยวิธีการเลือกลงทุนของผู้จัดการกองทุนที่ตอบแบบสอบถามจะมีผลต่อความสามารถของมนุษยชาติในการแก้ปัญหาความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในโลก บทสำรวจนี้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยจัดทำในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2563
ตารางด้านล่างแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามแยกตามมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ หน้าที่ และภูมิภาคที่อาศัย โดยเป็นตัวแทนของผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลก 300 ท่าน

นักลงทุนผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกโดยมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ จำแนกโดยหน้าที่ของงานโดยทั่วไป จำแนกโดยภูมิภาคที่อาศัย
ร้อยละ 19 มาจาก 10 บริษัทชั้นนำ (มูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ)
ร้อยละ 46 มาจากบริษัทชั้นนำ 11-50 อันดับแรก (มูลค่า 3.50 แสนล้านเหรียญ ถึง 1 ล้านล้านเหรียญ)
ร้อยละ 23 มาจากบริษัทชั้นนำ 51-150 อันดับแรก (มูลค่า 9 หมื่น ถึง 3.50 แสนล้านเหรียญ)
ร้อยละ 12 มาจากบริษัทชั้นนำ 151-300 อันดับแรก (มูลค่า 2 หมื่น ถึง 9 หมื่นล้านเหรียญ) ร้อยละ 42 เป็นผู้จัดการกองทุน
ร้อยละ 41 เป็นนักกลยุทธ์
ร้อยละ 17 เป็นผู้เชี่ยวชาญตลาดเกิดใหม่ ร้อยละ 42 อยู่ในอเมริกาเหนือ
ร้อยละ 42 อยู่ในยุโรป
ร้อยละ 8 อยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ร้อยละ 3 อยู่ในประเทศจีน
ร้อยละ 5 อยู่ในที่อื่น

เกี่ยวกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
เราเป็นกลุ่มธนาคารสากลชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจใน 60 ตลาดที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และให้บริการลูกค้าในอีก 85 ตลาด โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการค้า การลงทุนและการสร้างความมั่งคั่ง หลักการที่สืบทอดมาและค่านิยมองค์กรของเราสะท้อนอยู่ในพันธกิจของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่ว่า Here for good

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจำกัด มหาชน ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนและฮ่องกง นอกจากนี้ยังได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติในประเทศอินเดียอีกด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการอ่านบทความจากทีมนักเศรษฐศาสตร์ โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.sc.com และติดตามสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ทาง Twitter, LinkedIn และ Facebook