ฟิทช์ประกาศคงอันดับเตรดิต CP ALL ที่ A(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-term Rating) ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP ALL ที่ 'A(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ การคงอันดับเครดิตสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ว่า CP ALL จะสามารถรักษาอัตราส่วนหนี้สินให้ยังคงอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับอันดับเครดิตในปัจจุบันของบริษัทฯ ได้ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แม้จะรวมพิจารณาถึงการเข้าลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 4ฟิทช์ เรทติ้งส์ ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ บริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ Tesco Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. (ต่อไปรวมกันเรียกว่า "เทสโก้ เอเชีย") สำหรับรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้ายของประกาศ

ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต

อัตราส่วนหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้น: CP ALL มีแผนที่จะใช้แหล่งเงินทุนจากเงินกู้สำหรับเงินลงทุนจำนวน 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่จะใช้ในการลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 40 ของ เทสโก้ เอเชีย โดยสัดส่วนของหุ้นที่เหลือของเทสโก้ เอเชีย จะเข้าลงทุนโดยบริษัทที่เกี่ยวข้องอีก 2 บริษัทในกลุ่ม CP ในขณะที่ บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อถือส่วนได้ส่วนเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดของเทสโก้ เอเชียโดยตรง จะมีการก่อหนี้อีก 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ฟิทช์คาดว่า FFO adjusted net leverage ของ CP ALL หลังจากการเข้าลงทุน จะเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 5.5 เท่า – 6.0 เท่า ในปี 2564 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการลงทุนเต็มปี ก่อนที่จะลดลงมาอยู่ในระดับ 5.0 เท่า – 5.5 เท่าในปี 2565

การกระจายความเสี่ยงและสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งขึ้น: การเข้าลงทุนในเทสโก้ ประเทศไทย น่าจะทำให้สถานะทางการตลาดของ CP ALL มีความแข็งแกร่งขึ้นและมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีขึ้นทั้งในด้านประเภทของสินค้าและบริการที่เสนอขาย และรูปแบบของร้านค้าที่หลากหลาย แม้ว่า CP ALL จะเข้าลงทุนถือหุ้นในสัดส่วนเพียงร้อยละ 40 ของเทสโก้ ประเทศไทย แต่ CP ALL ก็น่าจะได้รับประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการควบรวมการสั่งซื้อสินค้าและการรวมเครือข่ายร้านค้ากว่า 13,000 ร้าน ทั้งในรูปแบบร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และร้านค้าส่ง มาอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน

Tesco Lotus เป็นเครือข่ายร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย โดยมีเครือข่ายร้านค้าปลีกมากกว่า 1,900 ร้านทั่วประเทศไทย ซึ่งมีร้านค้าปลีกขนาดใหญ่มากกว่า 200 ร้าน และร้านค้าปลีกที่มีขนาดเล็กมากกว่า 1,700 ร้าน ในขณะที่ CP ALL เป็นผู้บริหารเครือข่ายร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและยังถือหุ้นในผู้นำในธุรกิจค้าส่งซึ่งได้แก่ร้าน Makro ด้วย

ผลกระทบจาก COVID-19 ที่มีต่อยอดขาย: การระบาดของเชื้อไวรัสน่าจะทำให้ยอดขายรวมของ CP ALL ลดลงประมาณร้อยละ 4 ในปี 2563 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาที่ CP ALL  มียอดขายลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในครึ่งปีแรกของปี 2563 ยอดขายต่อร้านเดิม (Same Store Sales) ของร้าน 7-Eleven ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการปิดเมืองและการประกาศเคอร์ฟิวในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2563 รวมถึงการเดินทางที่ลดลงของนักท่องเที่ยวในประเทศและนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2563 อย่างไรก็ตาม ยอดขายของร้าน Makro ได้รับผลกระทบที่น้อยกว่า เนื่องจากความต้องการซื้ออาหารสดที่ค่อนข้างคงที่ และยอดขายจากการให้บริการแบบ Omni Channel ที่เพิ่มขึ้น

การฟื้นตัวของรายได้: ฟิทช์คาดว่ารายได้ของ CP ALL จะเติบโตในอัตราร้อยละ 11-12 ในปี 2564 และร้อยละ 9-10 ในปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของรายได้ทั้งจากร้าน  7-Eleven และ Makro การฟื้นตัวของยอดขายของร้าน 7-Eleven น่าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดร้านใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าฟิทช์จะคาดว่ายอดขายเฉลี่ยต่อร้านน่าจะใช้เวลาในการฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนการเกิดระบาดของเชื้อไวรัสหลังปี 2565 ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบัน การฟื้นตัวของจำนวนลูกค้าที่เข้าร้านยังคงเป็นไปอย่างค่อนข้างช้า เนื่องจากวิถีชีวิตแบบ New Normal  เช่น การรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การทำงานที่บ้าน ข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่น่าจะยืดเยื้อ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ หลังจากการเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส  ส่วนอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายของ Makro ในปี 2564 น่าจะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ซึ่งจะมีผลกับลูกค้ากลุ่ม กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจจัดเลี้ยง (HORECA)

อัตราส่วนกำไรยังคงมีแรงกดดัน: ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า ต่อยอดขาย (EBITDAR Margin) ของ CP ALL จะลดลงมาอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 9 ในปี 2563 และปรับตัวเพิ่มขึ้น ในปี 2564-2565 แต่น่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 เล็กน้อย (ในปี 2562 อยู่ที่ร้อยละ 10)  CP ALL เผชิญกับแรงกดดันบนอัตราส่วนกำไรในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเปิดร้าน 7-Eleven สาขาใหม่ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากรสูงขึ้น นอกจากนี้ สาขาในต่างประเทศของ Makro ยังมีอัตรากำไรอยู่ในระดับต่ำในช่วงแรกของการเปิดดำเนินการ

นอกจากนี้ ผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสที่มีต่อยอดขาย ยังส่งผลให้อัตราส่วนกำไรลดลง เนื่องจากสัดส่วนของค่าใช้จ่ายคงที่ในระดับประมาณร้อยละ 60 แม้ว่าการดำเนินนโยบายควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม EBITDAR Margin ของ CP ALL น่าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า จากการฟื้นตัวของยอดขาย และจากกำไรขั้นต้นที่น่าจะเพิ่มขึ้นจากการบริหารสัดส่วนของสินค้าที่จำหน่ายในร้าน (Product Mix) รวมถึงความสามารถในการสร้างรายได้และประสิทธิภาพของสาขาที่เพิ่มขึ้น

การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป

CP ALL มีสถานะทางการตลาดในประเทศไทยที่แข็งแกร่งด้วยเครือข่ายร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับบริษัทที่เป็นผู้นำในธุรกิจอื่นๆ เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC (A+(tha)/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม CP ALL มีความสามารถในการแข่งขันที่แข็งแกร่งกว่า ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดที่สูงกว่าคู่แข่งรายใหญ่อันดับสองเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ CP ALL ยังมีกระแสเงินสดที่ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดวัฏจักรของธุรกิจ เนื่องจาก CP ALL จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน ในขณะที่กระแสเงินสดของ SCC ต้องเผชิญกับความต้องการสินค้าที่มีลักษณะเป็นวัฏจักรและความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม SCC มีอันดับเครดิตสูงกว่า CP ALL หนึ่งอันดับ เนื่องจากมีอัตราส่วนหนี้สินที่ต่ำกว่าเป็นอย่างมาก

CP ALL มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับเดียวกันกับ บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ SCCC (A(tha)/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย เนื่องจากอัตราส่วนหนี้สินที่สูงกว่าของ CP ALL ได้รับการชดเชยจากการมีสถานะผู้นำตลาดที่แข็งแกร่งในธุรกิจค้าปลีกประเภทอาหารในประเทศไทย

อันดับเครดิตของ CP ALL อยู่ในระดับเดียวกับสถานะเครดิตโดยลำพังของ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC (อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ A+(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ/ สถานะเครดิตโดยลำพังที่ a(tha)) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่อันดับสองของประเทศ GPSC มีกระแสเงินสดที่คาดการณ์ได้มากกว่า CP ALL เนื่องจากมีสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าและไอน้ำระยะยาวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งช่วยป้องกันบริษัทฯ จากความเสี่ยงด้านปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานะในการแข่งขันที่แข็งแกร่งของ CP ALL รวมถึงกระแสเงินสดจากการดำเนินงานส่วนใหญ่ที่มาจากความต้องการที่สม่ำเสมอของสินค้าที่ใช้ในการดำรงชีวิตประจาวัน ทำให้ชดเชยการที่รายได้ของ CP ALL ไม่มีสัญญาระยะยาวมารองรับ ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้สินของทั้งสองบริษัทอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน

สมมุติฐานที่สำคัญ

สมมุติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ

- รายได้ลดลงประมาณร้อยละ 4 ในปี 2563 และมีการเติบโตในอัตราร้อยละ 11-12 ต่อปี ในปี 2564 และร้อยละ 9-10 ต่อปีในปี 2565

- EBITDAR Margin ลดลงมาอยู่ในระดับร้อยละ 9 ในปี 2563 และปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 9.7-9.8ในปี 2564-2565

- ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนจานวน 1.8 หมื่นล้านบาท- 2.1 หมื่นล้านบาทต่อปีในปี 2563-2565 ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในต่างประเทศของ Makro ด้วย

-การลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 40 ในเทสโก้ เอเชียเป็นจำนวนเงิน 8.6 หมื่นล้านบาท (รับรู้แบบวิธีส่วนได้เสีย หรือ Equity Method) โดยเงินลงทุนดังกล่าวมีแหล่งที่มาจากเงินกู้ทั้งจำนวน และไม่มีเงินปันผลจ่ายจากเทสโก้ ประเทศไทยในปี 2563-2565

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยบวก:

- FFO adjusted net leverage อยู่ในระดับต่ากว่า 3.5 เท่าอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยลบ:

- FFO adjusted net leverage อยู่ในระดับสูงกว่า 4.5 เท่าอย่างต่อเนื่อง

- EBITDAR Margin ที่ลดลงต่ากว่าร้อยละ 7.5 อย่างต่อเนื่อง

สภาพคล่อง

สภาพคล่องที่แข็งแกร่ง: สภาพคล่องของ CP ALL มีปัจจัยสนับสนุนหลักจากเงินสดในมือจำนวน 3.0 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายนปี 2563 และความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง รวมถึงความสามารถในการออกหุ้นกู้ในตลาดตราสารหนี้ CP ALL มีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยประมาณ 1.8 แสนล้านบาท (รวมหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนจำนวน 2 หมื่นล้านบาท) ณ สิ้นเดือนมิถุนายนปี 2563 โดยประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาทจะครบกำหนดชำระคืนใน 12 เดือนข้างหน้า นับจากสิ้นเดือนมิถุนายน 2563  CP ALL ได้ออกหุ้นกู้จำนวน 2.5 หมื่นล้านบาทในเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา เงินที่ได้รับจากการออกหุ้นกู้จะนำไปชำระคืนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในไตรมาสที่สี่ ปี 2563 และไตรมาสแรกปี 2564  ประมาณร้อยละ 87 ของหนี้สินทั้งหมดของ CP ALL เป็นหุ้นกู้สกุลเงินบาท โดยร้อยละ 43 ของจำนวนนี้เป็นหุ้นกู้มีหลักประกันเป็นหุ้นของ บริษัท สยามแมคโคร จากัด (มหาชน) (Makro, A(tha)/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ)

รายการอันดับเครดิตทั้งหมดของ CP ALL มีดังนี้

คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-term Rating) ที่ 'A(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-term Rating) ที่ 'F1(tha)’

คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้มีประกันของบริษัทฯ ที่ 'A(tha)’

คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของบริษัทฯ ที่ 'A(tha)’

คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนของบริษัทฯ ที่ 'BBB+(tha)’


ข่าวฟิทช์ เรทติ้งส์+ฟิทช์ เรทติ้งวันนี้

SCAP สุดปลื้ม! ฟิทช์จัดอันดับเครดิต 'A-(tha)' สะท้อนฐานะการเงินมั่นคง เพิ่มศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินต้นทุนต่ำ ช่วยเสริมแกร่งกลุ่ม SAWAD

บริษัท ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 จำกัด (มหาชน) หรือ SCAP ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยครบวงจร ประกาศข่าวดี! ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) แก่ SCAP ที่ระดับ 'A-(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-Term Rating) ที่ 'F2(tha)' โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิต "มีเสถียรภาพ" (Stable Outlook) ระดับเดียวกับอันดับเครดิตของกลุ่มศรีสวัสดิ์ (SAWAD) สะท้อนโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งของกลุ่ม และเครือข่ายการดำเนินงานในธุรกิจสินเชื่ออุปโภคบริ

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บจก.แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ในเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ (Rating Watch Negative; RWN) ของอันดับเครดิต บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท...

ฟิทช์คงอันดับเครดิต บริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) จำกัด ที่ 'AAA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) จำกัด หรือ ICBCTL ที่ 'AAA(tha)' พร้อมกันนี้ฟิทช์ได้คงอันดับเครดิตระยะสั้นที่ 'F1+(tha)' โดยมีแนว...