มว. เปิดบริการสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็ว ม.ค. 64! สนับสนุนความปลอดภัยบนท้องถนน

" สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) พัฒนาระบบสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็วพร้อมด้วยอาคารห้องปฏิบัติการ รวมถึงระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดค่าความถูกต้องของผลการวัดของเครื่องตรวจจับความเร็ว เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฏหมาย ให้มีความถูกต้องรัดกุม มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อประชาชน ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน อีกทั้งยังช่วยลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้งานในการส่งเครื่องมือไปสอบเทียบต่างประเทศ "

มว. เปิดบริการสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็ว ม.ค. 64! สนับสนุนความปลอดภัยบนท้องถนน

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างระบบการสอบกลับ (Traceability) ไปยังหน่วย SI ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้พิสูจน์และสร้างมาตรฐานให้แก่เครื่องตรวจจับความเร็วให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ในระดับสากล จึงได้ริเริ่มพัฒนาระบบสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็ว พร้อมด้วยอาคารห้องปฏิบัติการ รวมถึงระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดค่าความถูกต้องของผลการวัดของเครื่องตรวจจับความเร็วขึ้นในประเทศไทย มว. เปิดบริการสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็ว ม.ค. 64! สนับสนุนความปลอดภัยบนท้องถนน

ทั้งนี้ การสอบเทียบที่สามารถสอบกลับไปยังมาตรฐานการวัดแห่งชาติ เป็นวิธีการที่สามารถใช้เพื่อการพิสูจน์และสร้างมาตรฐานให้แก่เครื่องตรวจจับความเร็วดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและนำมาใช้ในการควบคุมวินัยจราจร ความปลอดภัยบนท้องถนน และความเป็นธรรมในการอ้างอิงทางกฎหมาย มว. เปิดบริการสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็ว ม.ค. 64! สนับสนุนความปลอดภัยบนท้องถนน

ระบบสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็วพร้อมด้วยอาคารห้องปฏิบัติการ ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน อาทิ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ : KRISS   ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลด้านการออกแบบระบบสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็วรอบ  และการออกแบบเครื่องกำเนิดความเร็วคงที่  ระบบสายพาน และตัวรับสัญญาณเลเซอร์ และยังมีผู้สนับสนุนในส่วนของผู้ใช้งานระบบ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กรมการขนส่งทางบก รวมไปถึงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ NECTEC จากสวทช. ซึ่งเป็นผู้วิจัยสร้างเครื่องต้นแบบ มว. เปิดบริการสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็ว ม.ค. 64! สนับสนุนความปลอดภัยบนท้องถนน

รู้หรือไม่! การขับรถเร็วเกินอัตราเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนน

ที่ผ่านมา การขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นสาเหตุหลักอันดับต้น ๆ ของอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย ที่สร้างความเสียหายเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของผู้ขับขี่และผู้ร่วมทาง ดังจะเห็นได้จากรายงานข่าวประจำวันจากสำนักข่าวต่างๆ ที่ทุกคนได้ยินและทราบกันดี  การบังคับใช้กฎหมาย "ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด" อย่างจริงจังและต่อเนื่องจะนำไปสู่การแก้ไขและลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหาและมีประสิทธิภาพ 

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบังคับการตำรวจจราจร กองบังคับการตำรวจทางหลวง กรมการขนส่งทางบก และ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จึงได้มีการนำเครื่องตรวจจับความเร็ว อาทิ กล้องตรวจจับความเร็วด้วยแสงเลเซอร์ และกล้องตรวจจับความเร็วด้วยคลื่นวิทยุมาใช้ เพื่อประกอบเป็นหลักฐานในการบังคับใช้กฎหมาย   และเนื่องจากการนำเครื่องตรวจจับความเร็วของรถประเภทต่าง ๆ มาใช้งานเพื่อประกอบเป็นหลักฐานในการบังคับใช้กฎหมายจำเป็นต้องมีความแม่นยำสูง มาตรฐานของกล้องที่ใช้ควรมีค่าความถูกต้องในการตรวจจับ

โดยกล้องตรวจจับความเร็วรถ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. Radar Camera  และ 2. Laser Camera ซึ่งกรมตำรวจใช้มากสุดคือ Laser Camera ปัจจุบันห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็วของ มว. สามารถสอบเทียบเครื่องตรวจจับความเร็วชนิด Lidar ซึ่งเป็นชนิดที่ใช้หลักการสะท้อนกลับของ Laser เท่านั้น โดยสามารถวัดความเร็วสูงสุดได้ที่ 120 กม./ชม. มีความผิดพลาดของระบบเพียง 0.01 กิโลเมตร / ชั่วโมง โดยจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในเดือนมกราคม 2564 นี้

สำหรับท่านที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

โทร. 0-2577-5100 Ext.1253 คุณ สุรเชษฐ เพิ่มฉลาด หัวหน้าโครงการ  Email: [email protected]

Ext. 1337 คุณ เทพบดินทร์ บริรักษ์อราวินท์ Email: [email protected]

Ext.1335 ดร.ปิยพัฒน์ พูลทอง 025775100 Email: [email protected]

Ext.1335 คุณ ศุภชัย ตั้งศุภภัคธาดา 025775100 Email [email protected]


ข่าวสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ+กระทรวงการอุดมศึกษาวันนี้

วว. / พันธมิตร ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ

ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.วดี วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ของหน่วยงานที่ได้รับการมอบหมายให้ทำหน้าที่การวัดแทนสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (Designated Institutes) ครั้งที่ 10-3/2567 ในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุม กวท. อาคาร RD1 วว. เทคโนธานี โดยมีคณะกรรมการจากหน่วยงาน

สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน ร่วมกับ สภา... ลำพูน จัดฝึกอบรม หลักสูตร มาตรวิทยาและระบบคุณภาพสำหรับเครื่องมือวัด — สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และสถาบันมาตรวิทยาแห...

ทรินา โซลาร์ ทุบสถิติโลกเป็นครั้งที่ 24 หลังเซลล์ PERC ขนาด 210 มม. มีค่าประสิทธิภาพแตะ 24.5%

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ (State Key Laboratory of PV Science and Technology หรือ SKL PVST) ของบริษัท ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ได้ประกาศว่า เซลล์...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วช. จับมือ มว. - มช. พร้อมร่วมมือสร้างมาตรฐานเครื่องวัดฝุ่นต้นทุนต่ำของประเทศไทย — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห...

ทรินา โซลาร์ ทุบสถิติโลกอีกครั้ง หลังโซลาร์เซลล์ i-TOPCon มีประสิทธิภาพสูงสุด 25.5%

ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ผู้นำระดับโลกด้านโซลาร์เซลล์และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะครบวงจร ประกาศว่า โซลาร์เซลล์ i-TOPCon ขนาด 210x210 มม. ของบริษัท มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ระดับ 25.5% นับเป็นการสร้างสถิติโลกเป็นครั้งที่...