อย่านิ่งนอนใจเมื่อลูกมีภาวะโตเร็วหรือเป็นสาวก่อนวัย

ปัจจุบันมีเริ่มมีพ่อและแม่หลายครอบครัวกังวลกับภาวะที่ลูกเริ่มโตเป็นสาวก่อนวัย หรือสภาวะที่เด็กโตเร็วกว่าปกติ (Precocious Puberty) ในปัจจุบันพบว่าเด็กผู้หญิงหลายคนเริ่มเข้าสู่วัยสาวเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 8 - 9 ปี จึงทำให้พ่อและแม่กังวลว่าจะส่งผลให้เด็กหยุดสูง หรือมีฮอร์โมนเติบโตเร็วผิดปกติ

อย่านิ่งนอนใจเมื่อลูกมีภาวะโตเร็วหรือเป็นสาวก่อนวัย

แพทย์หญิงกัลย์สุดา อริยะวัตรกุล กุมารแพทย์ระบบต่อมไร้ท่อ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยว่า อายุเฉลี่ยของเด็กผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต โดยข้อมูลจากงานวิจัยล่าสุดในประเทศไทย พบว่าอายุเฉลี่ยที่เด็กผู้หญิงไทยมีประจำเดือนครั้งแรกอยู่ที่ 11 - 12 ปี ในปัจจุบันแนวโน้มการโตเร็วเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งในทางการแพทย์ยังไม่รู้แน่ชัดว่าสาเหตุสู่การเป็นหนุ่มสาวไวเกิดจากอะไร แต่ได้วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เด็กโตเร็วขึ้น เช่น อาหารการกินของเด็กในเมืองใหญ่ที่มักจะชอบกินอาหารจานด่วนที่มีแคลอรี่และไขมันสูง, สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เอื้ออำนวยให้เด็กอ้วนง่าย ขาดการออกกำลังกาย, ฮอร์โมนภายในร่างกายผิดปกติทำให้ร่างกายเติบโตก่อยวัย อย่านิ่งนอนใจเมื่อลูกมีภาวะโตเร็วหรือเป็นสาวก่อนวัย

เรื่องที่พ่อแม่กังวลว่าหากลูกมีประจำเดือนแล้ว จะทำให้หยุดสูงนั้น ไม่จริง ! เพราะตามธรรมชาติแล้วเด็กจะสูงเต็มที่ก่อนถึงจะมีประจำเดือนตามมา หลังจากมีประจำเดือนความสูงยังคมเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มในอัตราที่ลดลงกว่าเดิม การฉีดยาหยุดประจำเดือนไม่ได้ช่วยให้ความสูงเพิ่มขึ้นทุกราย จะได้ผลเฉพาะเด็กที่เป็นสาวก่อนวัยเท่านั้น สิ่งที่พ่อแม่ควรใส่ใจคือให้ลูกระมัดระวังตัวเมื่อเริ่มมีประจำเดือน การรักษาสุขอนามัย และการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ

สำหรับคำถามที่หมอพบบ่อยคือ อาหารประเภทสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่ มีส่วนเร่งฮอร์โมนให้เด็กโตเร็วหรือไม่ จากข้อมูลในปัจจุบันไม่พบหลักฐานหรืองานวิจัยทางการแพทย์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกินไก่กับเด็กโตเร็ว เนื่องจากในปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงไก่ไม่ได้ใช้ฮอร์โมนเป็นสารเร่งโตในสัตว์ปีก ดังนั้นความเชื่อที่ว่ากินไก่แล้วทำให้โตไวไม่เป็นความจริง

สิ่งสำคัญคือพ่อและแม่ควรสังเกตลูก โดยเฉพาะลูกผู้หญิงหากเห็นลูกเริ่มมีเต้านมขึ้นก่อนอายุ 8 ขวบ ควรพามาปรึกษาแพทย์เพื่อเจาะเลือดตรวจวัดระดับฮอร์โมน เอกซเรย์ภาพถ่ายกระดูก หากแพทย์พบความผิดปกติจะให้การรักษาโดยการฉีดยาชะลอฮอร์โมนเพศจนกว่าจะถึงช่วงวัยที่เหมาะสม และพ่อแม่ต้องดูแลน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ชวนกันออกกำลังกาย หากิจกรรมให้ลูกๆ ทำ อย่าให้ลูกเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน เพราะเด็กอ้วนจะนำมาซึ่งโรคต่างๆ มากมาย


ข่าวศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ+มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวันนี้

ทีมบุคลากรทางการแพทย์ ศปช. มศว ลงพื้นที่ปฏิบัติงานหน่วยแพทย์พระราชทานฯ จ.แม่ฮ่องสอน

คณะบุคลากรทางการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ออกปฏิบัติภารกิจหน่วยแพทย์พระราชทาน ในโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปอหมื้อ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุกรักษ์ไทยพุทธศิลป์ 2 ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 5 10 มกราคม 2568 การให้บริการตรวจรักษาที่ศูนย์การเรียนรู้ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปอหมื้อ มีผู้

แพทย์หญิงปณัชญา คงอ่อน อาจารย์แพทย์สาขาวิ... รู้ทันสัญญาณมะเร็งเต้านม รู้เร็วมีโอกาสรักษาหาย — แพทย์หญิงปณัชญา คงอ่อน อาจารย์แพทย์สาขาวิชาศัลยกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลั...

รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทย... งานครบรอบ 17 ปี วันสถาปนาศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ — รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป...

นายแพทย์พิชย์นันทน์ โปตระนันทน์ อาจารย์อา... โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) สังเกตอาการได้เร็วเท่าไหร่ ลดความเสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาตได้ — นายแพทย์พิชย์นันทน์ โปตระนันทน์ อาจารย์อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์การแพท...

ทีมแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคล... ลงพื้นที่ตามทีมหมอหน่วยแพทย์พระราชทานฯ ขึ้นเขาไปชายแดนไทย-พม่า ตรวจสุขภาพและให้บริการทันตกรรม — ทีมแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ของ...

บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด (... SMT ร่วมสู้โควิด-19 บริจาคชุด PPE ให้โรงพยาบาล 10,000 ชุด มูลค่ากว่า 3,500,000 บาท — บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SMT ได้บริจาคชุด...

โรคภูมิแพ้คืออะไร มีอะไรบ้าง และรักษาให้ห... การรักษาโรคภูมิแพ้ด้วยวิธีปรับภูมิคุ้มกัน — โรคภูมิแพ้คืออะไร มีอะไรบ้าง และรักษาให้หายได้หรือไม่ ? นายแพทย์จิรวัฒน์ เชี่ยวเฉลิมศรี อาจารย์แพทย์อนุสาขา...