นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายในการส่งเสริมให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรมาปรับใช้พัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร และศูนย์ขยายพันธุ์พืช (ศูนย์ปฏิบัติการ) ซึ่งมีที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ดำเนินการศึกษาวิจัย ควบคู่กับให้บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรให้กับเกษตรกร ล่าสุด ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ จังหวัดตรัง ประสบผลสำเร็จในการทดลองวิจัยปลูกเมล่อนแบบไฮโดรโปรนิกส์หรือการปลูกแบบไม่ใช้ดิน โดยพัฒนาการตัดแต่งทรงต้นให้มี เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง แขนงและไว้ผล 4 ผล รวมทั้งการเพิ่มจำนวนใบต่อต้น จากวิธีการปลูกแบบทั่วไป ที่ไว้ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ5-ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ7 ใบต่อต้น เป็นไว้ เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง5-4อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ใบต่อต้น
ทำให้ได้ผลผลิตเมล่อนที่มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณผลละ 2 กิโลกรัม (4 ลูกต่อต้น) ซึ่งมีขนาดตรงตามมาตรฐานและความต้องการของตลาด อีกทั้งยังได้ปริมาณผลผลิตมากกว่าการปลูกแบบลงดินและไม่ตัดแต่งทรงต้น ซึ่งจะได้ผลผลิตเพียงต้นละ 1 ผลเท่านั้น
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า การปลูกเมล่อนแบบไฮโดรโปนิกส์ จะต้นทุนสูงมากเพียงในระยะแรก เนื่องจากต้องมีการลงทุนสร้างโรงเรือนและซื้ออุปกรณ์ถาวร (ต้นทุนคงที่) แต่มีอายุการใช้งานยาวนาน และเมื่อปลูกแล้วได้ผลผลิตที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ ขายได้ราคาดี ก็จะทำให้เกษตรกรสามารถคืนทุนได้ในเวลาประมาณ 6 เดือน (2 รอบการผลิต ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเรือน และสายพันธุ์ที่ปลูก) นอกจากนี้ในระยะยาว การปลูกแบบไร้ดินจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการจัดการดินที่เป็นวัสดุปลูกและแรงงานในการดำเนินการอีกด้วย ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้ โดยผลจากการวิจัยพบว่า การปลูกเมล่อน จำนวน 18 ต้น ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จะใช้เงินลงทุนมากกว่าวิธีใช้ดินเพียงเล็กน้อย เฉลี่ยไม่เกิน 1 พันบาทต่อรอบการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่การปลูกเมลอนในระบบไฮโดรโปนิกส์ จะมีต้นทุนผันแปรน้อยกว่าการปลูกในดิน ดังนั้น หากเกษตรกรปลูกเมล่อนแบบไฮโดรโปนิกส์อย่างต่อเนื่องจำนวน 10 รอบการผลิต หรือเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง จะมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าวิธีปลูกแบบใช้ดินเกือบ 10,000 บาท และได้กำไรมากกว่าราว 160,000 บาทต่อ10 รอบการผลิต
ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจการปลูกเมล่อนแบบไฮโดรโปรนิกส์ สามารถเรียนรู้และขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง โทรศัพท์ 0 7558 2312 - 13 ในวันและเวลาราชการ
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเขต (Regional Workshop : RW) ครั้งที่ 1 / 2568 ณ ห้องประชุมตลาดเกษตรกรจังหวัดราชบุรี โดยนายสุพัฒน์ อ่อนคง เกษตรจังหวัดราชบุรี กล่าวต้อนรับ และนายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2จังหวัดราชบุรี กล่าวรายงาน การจัดเวทีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับเขต จังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่ 8 จังหวัดของภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี
สสก.2 จ.ราชบุรี ประชุมขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1
—
นายประสาน ปานคง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาก...
กรมส่งเสริมการเกษตร ชูบริการ "คลินิกพืชเคลื่อนที่เร็ว" จุดเด่นเกษตรนครปฐม
—
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการ...
กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนเกษตรกรสร้างรายได้เสริม !! "มือใหม่" สมัครฝึกอาชีพเลี้ยงผึ้งโพรงที่ศูนย์ผึ้งเชียงใหม่รับหนาวดอกไม้บานได้แล้ววันนี้ - 5 ธ.ค.66
—
นายรพีทัศน์...
กรมส่งเสริมการเกษตร รักษามาตรฐานเป็นเลิศ "คุณธรรมและความโปร่งใส" คว้าคะแนน 91.57 ในปี 2566
—
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ก...
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดประกวดศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2566
—
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดประกวดศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช....
กรมส่งเสริมการเกษตรประชุมผู้บริหารเกษตร 6 เขต และเกษตรจังหวัด 77 จังหวัด ขับเคลื่อนนโยบายภาคการเกษตรของประเทศ ครั้งที่ 1/2568
—
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกร...