ศิลปวัตถุล้ำค่าในอิรักได้รับการปกป้องจากการโจรกรรม ด้วยการใช้เทคโนโลยีลายพิมพ์ทางนิติวิทยาศาสตร์สุดล้ำของ SmartWater

ศิลปวัตถุล้ำค่ากว่าหลายแสนชิ้นในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วอิรัก ได้รับการปกป้องจากภัยคุกคามด้านการโจรกรรมและการปล้นผ่านวิธีการสร้างรหัสเฉพาะที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ตามโปรโตคอลด้านความปลอดภัยใหม่ที่จะมีให้ใช้กันทั่วโลก เพื่อมุ่งปกป้องพิพิธภัณฑ์ สถานที่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี “ที่มีความเสี่ยง”

ศิลปวัตถุราว 273,000 ชิ้นที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ 2 แห่งของอิรัก ได้รับการปกป้องผ่านวิธีแบบใหม่นี้ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากบริติช เคานซิล ซึ่งสามารถสืบประวัติย้อนไปยังสถานที่ที่ศิลปวัตถุถูกขโมยมา และทำให้หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายสามารถตรวจพิสูจน์การโจรกรรมได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอุปสรรคขัดขวางอันทรงพลังแก่ผู้ที่คิดจะเป็นโจรและผู้ลักลอบ

โครงการที่ล้ำสมัยนี้นำโดยศาสตราจารย์ Roger Matthews นักโบราณคดีชื่อดังจากมหาวิทยาลัยรีดดิง โดยใช้ของเหลวทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เตรียมมาเป็นพิเศษของ SmartWater เพื่อแนบลายเซ็นทางเคมีที่เป็นเอกลักษณ์ลงบนศิลปวัตถุของพิพิธภัณฑ์ โซลูชันดังกล่าวไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และสามารถตรวจพบได้เฉพาะภายใต้แสงยูวีแบล็กไลต์เท่านั้น นักวิทยาศาสตร์เพียงแค่กู้คืนจุดที่ลง SmartWater เพื่อตรวจหาสถานที่ที่ศิลปวัตถุถูกขโมยมา รวมถึงวันที่ลงหรือคนที่ใช้โซลูชันดังกล่าว

การทดสอบของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรีดดิงพบว่า ของเหลวทางนิติวิทยาศาสตร์ดังกล่าวไม่สร้างความเสียหายต่อหิน เครื่องปั้นดินเผา โลหะ หรือแก้ว และยังทนความร้อนจัด ตัวทำละลายระดับรุนแรง และสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายเป็นเวลาหลายทศวรรษ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการวิจัยและการพัฒนาได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ SmartWater Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของกลุ่ม The SmartWater Group หนึ่งในบริษัทด้านการบริหารความเสี่ยงที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

ศาสตราจารย์ Matthews กล่าวว่า “ศิลปวัตถุจากคอลเล็กชันพิพิธภัณฑ์ที่เราทำงานด้วยนั้นล้วนล้ำค่าอย่างมาก เพราะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างยิ่งแก่ประเทศอิรัก ความคิดริเริ่มนี้ทำให้ศิลปวัตถุมีลายพิมพ์ทางเคมี และทำให้ศิลปวัตถุเหล่านี้สามารถย้อนประวัติหากตกไปอยู่ในมือผู้กระทำผิด นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังให้หลักฐานที่สำคัญแก่หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อจับกุมและดำเนินคดีกับผู้ที่ครอบครองวัถตุอย่างผิดกฎหมาย"

ศิลปวัตถุดังกล่าวประกอบด้วยชิ้นส่วนอนินทรีย์จากทุกยุคสมัยในอดีตของอิรัก ไม่ว่าจะตั้งแต่ขวานของยุคหิน จนถึงหม้อยุคหินใหม่ ซึ่งย้อนหลังไปถึง 7000 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสมัยมีการก่อตั้งหมู่บ้านเกษตรกรรมแห่งแรกของโลก โดยเมื่อช่วงปี 2546 และช่วงที่กลุ่ม ISIS เข้ายึดครองเมืองโมซูลระหว่างปี 2557-2560 ศิลปวัตถุเช่นนี้ถูกปล้นจากพิพิธภัณฑ์อยู่บ่อยครั้ง และหลังจากนั้นก็ปรากฏตัวตามตลาดของเก่าทั่วโลก

การขโมยศิลปวัตถุจากพิพิธภัณฑ์ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ กลายเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวัดหลายแห่งของอินเดียกำลังตกเป็นเป้าหมาย รวมถึงแหล่งโบราณคดีในอเมริกาใต้ ส่วนในสหรัฐอเมริกา พื้นที่ของชาวพื้นเมืองอเมริกันตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะบริเวณฝังศพที่อยู่ห่างไกลซึ่งอาจเป็นเป้าหมายที่ง่ายต่อการขโมย

Colette Loll ที่ปรึกษาระดับอาวุโสของมูลนิธิ SmartWater Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของกลุ่ม SmartWater Group กล่าวว่า “ลายเซ็นทางนิติวิทยาศาสตร์ของ SmartWater ทำให้คอลเลกชันของพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญเหล่านี้ สามารถสืบประวัติย้อนและสามารถส่งกลับคืน หากถูกขโมยหรือลักลอบ โดยเรากำลังแจ้งเตือนตลาดศิลปะว่า เครื่องหมายทางนิติวิทยาศาสตร์เหล่านี้สร้างความเสี่ยงที่แท้จริงแก่ผู้ขายและผู้ซื้อศิลปวัตถุที่ถูกขโมย”

Phil Cleary ซีอีโอของกลุ่ม SmartWater Group กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่เราสามารถส่งเสริมการดำเนินการตามโครงการริเริ่มที่สำคัญเช่นนี้ในอิรัก เพราะสิ่งนี้สอดคล้องกับภารกิจทั้งหมดของเรา เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตาม”

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1164929/SmartWater.jpg

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1164930/SmartWater_Foundation_Logo.jpg


ข่าวบริติช เคานซิล+วิทยาศาสตร์วันนี้

ทำความรู้จัก 4 ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักร เจ้าของรางวัล ศิษย์เก่า UK ดีเด่น ของบริติช เคานซิล ปีล่าสุด ผู้ส่งต่อแรงบันดาลใจด้วยพลังแห่งการศึกษา

ในโอกาสพิเศษที่ประเทศไทย และสหราชอาณาจักรเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 170 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต บริติช เคานซิล ขอเชิญชวนทุกคนมารู้จักกับสี่ผู้ชนะรางวัล Study UK Alumni Awards ประจำปี 2025 รางวัลอันทรงเกียรติซึ่งมอบให้แก่ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรทั่วโลกที่ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย 4 สาขา ได้แก่ สาขาธุรกิจและนวัตกรรม (Business and Innovation) สาขาศิลปวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ (Culture and Creativity) สาขาวิทยาศาสตร์และความยั่งยืน (Science and Sustainability)

นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช ... บริติช เคานซิล ร่วมฉลอง 7 ปีแห่งความสำเร็จ 'กองทุนนิวตัน' ประเทศไทย — นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย (ลำดับที่ 6 จากซ้าย) และศ...

นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช ... บริติช เคานซิล เปิดตัวแพลตฟอร์ม Alumni UK ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ — นางเฮลก้า สเตลมาเกอร์ ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย (ลำดับที่ 4 จากซ้าย) และ...

บริติช เคานซิล จัดการประชุม สคูลส์ นาว! ประจำปี 2566 ดึงดูดตัวแทนเข้าร่วมกว่า 2,000 คนจาก 30 ประเทศทั่วโลก เพื่อสำรวจอนาคตของการศึกษาระดับนานาชาติ

เมื่อไม่นานมานี้ บริติช เคานซิล (British Council) ได้จัดการประชุม สคูลส์ นาว (School Now!) ประจำปี 2566 ที่ดูไบ โดยบรรดาผู้นำด้านการศึกษาและผู้...