ศบค. เปิดให้ดาวน์โหลด “แอปไทยชนะ” ได้แล้ววันนี้

ศบค. เปิดตัว “แอปไทยชนะ” มาพร้อมประโยชน์ 7 ข้อสำคัญสำหรับผู้ใช้งาน รองรับการเปิดเพิ่มกิจการ/กิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 3 ย้ำผู้ใช้งานเข้าไปดาวน์โหลดผ่าน play store ได้ตั้งแต่วันนี้ (28 พ.ค.63) ส่วนผู้ใช้มือถือระบบ iOS รอดาวน์โหลดผ่าน app store ได้ภายในสิ้นเดือนนี้ เตือนไม่มีการเชิญชวนผ่านเอสเอ็มเอสใดๆ

ศบค. เปิดให้ดาวน์โหลด “แอปไทยชนะ” ได้แล้ววันนี้

ผศ.(พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะรองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า ศบค. ได้มีการเปิดให้ดาวน์โหลด “แอปไทยชนะ” แล้วตั้งแต่วันนี้ สำหรับผู้ใช้มือถือระบบแอนดรอยด์ เข้าไปดาวน์โหลดได้ผ่าน play store และเลือกดาวน์โหลดชื่อแอป Thaichana-ไทยชนะ ส่วนผู้ใช้มือถือระบบ iOS รอดาวน์โหลดได้ผ่าน app store คาดว่าจะไม่เกินวันที่ 31 พ.ค. นี้ โดยช่วงแรกจะรองรับภาษาไทยก่อน ศบค. เปิดให้ดาวน์โหลด “แอปไทยชนะ” ได้แล้ววันนี้

ทั้งนี้ แอปไทยชนะ จะทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มไทยชนะ www.ไทยชนะ.com โดยมีการประมวลความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจำนวนกว่า 14 ล้านคน ตลอดช่วง 10 วันที่ผ่านมาหลังจากเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 63 เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องการใช้งานง่าย การใช้สะดวกเข้ากับชีวิตประจำวัน และสอดคล้องกับการเตรียมเปิดเพิ่มกิจการ/กิจกรรมตามมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 3 ซึ่งจะได้ข้อสรุปในที่ประชุมวันศุกร์นี้ (29 พ.ค.63) ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมกลุ่มมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระดับปานกลาง-สูง ดังนั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อรองรับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดระลอกที่ 2 ในไทย โดยทุกกิจการ/กิจกรรมที่ได้รับอนุญาตให้เปิดตามมาตรการผ่อนคลายทุกระยะ ต้องมีการเข้ามาลงทะเบียนในแพลตฟอร์มไทยชนะ ศบค. เปิดให้ดาวน์โหลด “แอปไทยชนะ” ได้แล้ววันนี้

“ดังนั้น ผู้ประกอบกิจการ/กิจกรรม และที่มีการใช้งานผ่านเว็บไทยชนะ ทั้งในส่วนของร้านค้าที่มีการลงทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม ส่วนประชาชนผู้ใช้บริการก็ใช้คิวอาร์โค้ดเดิม เพียงแต่เราได้เติมเต็ม และเสริมสะดวก ง่ายของผู้ใช้งาน” นพ.พลวรรธน์กล่าว

แนวคิดในการพัฒนาแอปไทยชนะ คือ ใช้งาน สะดวก และปลอดภัยที่สุด โดยจะมีข้อดีสำหรับผู้ใช้งาน 7 ข้อ ได้แก่ 1. ลงทะเบียนง่ายด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือเพียงครั้งเดียว แล้วสามารถใช้บริการได้เลย 2. ลดความยุ่งยากในการใช้บริการ และปกป้องความเป็นส่วนตัวของประชาชน 3. สามารถเช็คเอาท์ หลังจากใช้บริการ (เมื่อไหร่ก็ได้) 4. ป้องกัน QR Code ปลอม 5.เป็นการเช็คความถูกต้องของกิจการ/ร้านค้า/สถานประกอบการณ์ว่าได้ทำตามมาตราการของ ศบค. จริงหรือไม่ 6. ป้องกันการกรอกเบอร์โทรศัพท์ผิด และ 7. ช่วยในการติดตามสอบสวนโรคกรณีที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสถานที่ใดหรือร้านค้าที่ไปใช้บริการ

“ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกติดตามรายละเอียดการเดินทางในชีวิตประจำวัน เพราะระบบนี้เราใช้ในการป้องกันและควบคุมโรค เราไม่ได้สนใจในแง่ตัวคน แต่สนใจ 1.การประเมินร้านค้า/กิจกรรมต่างๆ ว่าได้ปฏิบัติตามมาตรการ 5 ข้อของกรมควบคุมโรคหรือไม่  2.ความหนาแน่น เพราะจะเป็นจุดเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่ระบาด เพื่อจะได้มีการแจ้งเตือนได้ทันทีเมื่อพบความเสี่ยง” นพ.พลวรรธน์กล่าว

นพ.พลวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ไม่สะดวกดาวน์โหลดแอปไทยชนะ ก็ยังสามารถลงทะเบียนและเข้าใช้งานผ่านแพลตฟอร์มไทยชนะได้เหมือนเดิม ซึ่งแอปพลิเคชั่นนี้ปัจจุบันนอกเหนือจากภาษาไทย ยังรองรับภาษาอังกฤษ และกำลังมีภาษาอื่นๆ เพิ่ม ได้แก่ เมียนมาร์ มาเลย์ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น และลาว

ทั้งนี้ จากจำนวนยอดเช็คอินของผู้ใช้งานรวมกว่า 14 ล้านคนแล้ว โดยในส่วนของกรุงเทพ ชาว กทม. มากกกว่า 90% ใช้ไทยชนะแล้ว สะท้อนเสียงขานรับที่ดีจากทุกฝ่ายที่ร่วมมือกัน และมีตัวเลขที่น่าภูมิใจว่า มาตรการคุมเข้มของ ศบค. 5 ข้อตลอดช่วงที่ผ่านมาทุกประเภทกิจกรรม/กิจการมีผลประเมินจากผู้เข้าใช้บริการ โดยรวมพบว่าส่วนใหญ่ทุกคนทำตามมาตรการได้ทั้งหมด มีความเข้าใจทั้งหมด และเห็นว่ามีการปฏิบัติตามมาตรการครบทุกข้อ คิดเป็นร้อยละ 94.9 จากยอดผู้เข้าใช้งาน

“ในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อป้องกันการเกิดระบาดระลอกที่ 2 การประเมินต่างๆ ต้องอาศัยประชาชน ช่วยกันควบคุมการระบาดของโรคให้ได้ เพื่อช่วยให้ประเทศเราดำเนินกิจกรรม/กิจการต่างๆ ต่อไปได้เหมือนเดิมแบบ new normal สมดุลวิถีชีวิตใหม่ ใส่ใจ ปลอดภัย ไทยชนะ” นพ.พลวรรธน์กล่าว


ข่าวกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม+กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจวันนี้

สคส. จับมือ Meta เปิดตัว DPA Casework Channel ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ผนึกกำลัง Meta เปิดตัว DPA Casework Channel ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกละเมิด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในโลกออนไลน์ปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับปัญหาข้อมูลรั่วไหล และเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย ภายในงานมีผู้บริหารระดับสูงจากทั้งสององค์กรเข้าร่วมประชุม ณ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อาทิ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมด้วยกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงค... นายกฯ แพทองธาร เผย ODOS Summer Camp พร้อมเปิดรับสมัคร 24 มี.ค.นี้ — นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงความคืบหน้าการดำเนินโครงการ ODOS Summer Camp โ...

(วันนี้) 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายประเสริฐ จ... 7 กระทรวง ร่วมลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ — (วันนี้) 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมน...

นายธวัชชัย ชีวานนท์ ประธานผู้บริหาร Produ... กรุงไทย รับมอบโล่เชิดชูเกียรติ "องค์กรต้นแบบ" ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล — นายธวัชชัย ชีวานนท์ ประธานผู้บริหาร Product & Business Solutions ธนาคารกรุง...

ตามที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐม... สคส. เร่งติดตามกรณีผับดังบางใหญ่ ชี้ผู้เสียหายสามารถยื่นใช้สิทธิลบข้อมูลได้ — ตามที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล...