ศบค. โชว์ผลงาน “ไทยชนะ” เปิดตัว 1 สัปดาห์ มียอดผู้ใช้งานมากกว่า 11.7 ล้านคน ร้านค้าลงทะเบียนทะลุหลัก 1 แสนร้าน ยอดเช็คอิน/เช็คเอาท์ 47 ล้านครั้ง ขณะที่ ร้านเสริมความงาม/ร้านเสริมสวย ได้รับคะแนนประเมินนำโด่งใน 5 อันดับแรกของกิจกรรมที่ได้รับคะแนนดีที่สุดจากประชาชน
ผศ.(พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะรองหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์ ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า ภาพรวมการเข้าใช้งานแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ในรอบ 1 สัปดาห์หลังการเปิดตัวเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 63 ล่าสุดข้อมูล ณ วันที่ 24 พ.ค. 63 พบว่ามีจำนวนกิจกรรม/กิจการลงทะเบียน 106,235 ร้าน จำนวนผู้ใช้งาน 11,757,624 คน โดยจำนวนการเข้าใช้งาน จำแนกเป็น เช็คอิน 27,101,565 ครั้ง เช็คเอาท์ 19,204,736 ครั้ง และประเมินร้าน 10,867,125 ครั้ง
โดยมีกิจการที่ได้คะแนนการประเมินดีที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ร้านเสริมความงามร้านเสริมสวย, การถ่ายทำรายการโทรทัศน์,ภาพยนต์และวีดิทัศน์, สถานที่บริหารเด็กหรือผู้สูงอายุหรือผู้มีภาระพึ่งพิง, ที่ทำการหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด ตามลำดับ
“จากข้อมูลการใช้งานดังกล่าว ต้องขอขอบคุณผู้ประกอบการและพี่น้องประชาชนทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการใช้แฟลตฟอร์มไทยชนะ เนื่องจากจะเป็นประโยชน์กับตัวผู้ใช้งานและสังคมรอบข้าง และยังเป็นสัญญาณชี้ว่าคนไทยมีความพร้อมสำหรับการปรับตัวรับชีวิตปกติวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อร่วมแรงร่วมใจผ่านพ้นสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19” นพ.พลวรรธน์กล่าว
ทั้งนี้ ศบค. ขอเน้นย้ำความมั่นใจในการเข้าใช้งาน “ไทยชนะ” ว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งกับประชาชน และสถานประกอบการ โดยสำหรับประชาชน หรือผู้ใช้บริการ จะได้ประโยชน์ คือ ไม่ต้องไปยืนรอ และสามารถเช็คได้ทั้งหมดว่า ร้านค้าที่เราจะไปนั้น มีคนเข้าใช้บริการเต็มหรือยัง / ข้อมูลในแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" สามารถตรวจสอบได้ว่า หากพบผู้ติดเชื้อในบริเวณใด ก็จะสามารถบอกได้ว่าใครมีความเสี่ยงบ้าง ทางกรมควบคุมโรคก็จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการสืบสวนโรคได้ อีกทั้งสามารถนำข้อมูลไปเป็นหลักฐานเพื่อประกอบการรับการตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการฟรี
ขณะที่ ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ คือ ปฏิบัติตามมาตรการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะได้รับการรับรองหรือประเมิน และสามารถนำผลประเมินมาปรับปรุงบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งการให้ผู้มาใช้บริการสแกนคิวอาร์โค้ด “ไทยชนะ” เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูลผู้มาใช้บริการ ในการเข้า-ออก สถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อกำหนดจำนวนผู้เข้ารับบริการให้ไม่แออัดและไม่ต้องยืนรอ พร้อม ทั้งเป็นข้อมูลในการติดตามสอบสวนโรค กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากกิจการร้านค้าต่างๆ นพ.พลวรรธน์ กล่าวว่า ความร่วมมือทั้งในการลงทะเบียน, เช็คอิน-เช็คเอาท์ผ่านไทยชนะ เป็นการแสดงออกถึง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ทั้งจากประชาชนและผู้ประกอบการทุกกลุ่ม และขอเน้นย้ำว่าการลงทะเบียนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการควบคุมโรคเท่านั้น สิ่งที่ต้องการเบื้องต้น คือ เบอร์โทรศัพท์ เพื่อความสะดวกในการติดต่อแจ้งเตือนให้เข้า สู่ระบบการคัดกรองได้อย่างรวดเร็ว สำหรับข้อห่วงกังวลแพลตฟอร์มไทยชนะเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ศบค. ยืนยันว่า ไม่มีข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ อยู่ในชุดข้อมูล ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ดูแลชุดข้อมูลที่ถูกส่งไปกรมควบคุมโรค โดยมีเจตนาเพื่อการควบคุมโรค โดยเฉพาะการติดตามตัวผู้สัมผัสกลุ่มเสี่ยงให้เข้าสู่กระบวนการคัดกรอง และสามารถควบคุมโรคได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ หากไม่พบการติดเชื้อข้อมูลจะถูกลบไปภายใน 60 วัน
พร้อมกันนี้ ได้เตือนประชาชนว่า ปัจจุบันมีเวบไซต์ปลอมไทยชนะ ขอให้อย่าหลงเชื่อ โดยเว็บไซต์ไทยชนะของจริง มีชื่อยูอาร์แอล ดังนี้ www.ไทยชนะ.com และ www.thaichana.com เป็นเว็บไซต์เพื่อใช้ในการควบคุมและป้องกันโรค สามารถเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์ได้ทันที โดยไม่ต้องโหลดแอปใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่ ถ้าเป็นเว็บไซต์ปลอม/หลอกลวง จะให้โหลดผ่านแอปเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล จากข้อมูลที่ตรวจสอบได้ล่าสุด ชื่อเว็บไซต์ปลอม ได้แก่ thaichana.pro, thai-chana.asia และ thaichana.asia หรือชื่อใกล้เคียง
“สำหรับกรณีที่มี SMS ส่งลิงก์ให้ประชาชนเพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันไทยชนะ ทาง ศบค. ขอชี้แจงว่าภาครัฐ ไม่ได้เป็นผู้ส่ง SMS นี้ และเราจะมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้ที่กระทำการดังกล่าว” นพ.พลวรรธน์กล่าว
ปัจจุบัน ช่องทางการสื่อสารของไทยชนะ ประกอบด้วย เว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com และ www.thaichana.com รวมทั้ง ไลน์ทางการ “ไทยชนะ” และโทรสายด่วน 1119 ซึ่งมีไว้สำหรับการติดตามข่าวสารที่ถูกต้อง เที่ยงตรงเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 จากรัฐบาล
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ผนึกกำลัง Meta เปิดตัว DPA Casework Channel ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกละเมิด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในโลกออนไลน์ปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับปัญหาข้อมูลรั่วไหล และเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย ภายในงานมีผู้บริหารระดับสูงจากทั้งสององค์กรเข้าร่วมประชุม ณ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อาทิ นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมด้วยกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นายกฯ แพทองธาร เผย ODOS Summer Camp พร้อมเปิดรับสมัคร 24 มี.ค.นี้
—
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงความคืบหน้าการดำเนินโครงการ ODOS Summer Camp โ...
ETDA ลุยต่อ EDC Pitching Season 3 ชูคอนเซปต์ 'Digital Connect Space' ชิงรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท เปิดรับสมัคร 10 มี.ค.นี้
—
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็ก...
7 กระทรวง ร่วมลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
—
(วันนี้) 25 กุมภาพันธ์ 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมน...
ETDA ลุยโปรเจกต์ 'EDC Trainer Season 4' ปั้นเทรนเนอร์ดิจิทัล สุดเข้มข้น พร้อมโอกาสไปต่อเวที EDC Pitching รีบสมัครก่อน 12 มี.ค. นี้!
—
สำนักงานพัฒนาธุรกรรม...
พีทีที สเตชั่น ร่วมกับ โรงพยาบาลศิริราช เปิดพื้นที่เป็นจุดจอดรถ Mobile Stroke Unit ขยายโอกาสช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ห่างไกล
—
คุณพิมาน พู...
กรุงไทย รับมอบโล่เชิดชูเกียรติ "องค์กรต้นแบบ" ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
—
นายธวัชชัย ชีวานนท์ ประธานผู้บริหาร Product & Business Solutions ธนาคารกรุง...
รองนายกฯ ประเสริฐ ชี้ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคือปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในงาน DATA PRIVACY DAY 2025
—
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมน...
สคส. เร่งติดตามกรณีผับดังบางใหญ่ ชี้ผู้เสียหายสามารถยื่นใช้สิทธิลบข้อมูลได้
—
ตามที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล...