วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ณ ห้องวทัญญู ณ ถลาง ชั้น 2 การเคหะแห่งชาติ สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน และ นายวิญญา สิงห์อินทร์ รักษาการผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงาน และสร้างอาชีพให้แก่ช่างชุมชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นการบริการซ่อมแซมที่พักอาศัยในชุมชน ยกระดับทักษะ เพิ่มโอกาสการประกอบอาชีพ เน้น 4 สาขา ประเดิมฝึกในเขตกรุงเทพฯ 80 คน
นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดี กพร. เปิดเผยหลังจากลงนามความร่วมมือดังกล่าวว่า กพร.ได้ร่วมกับการเคหะแห่งชาติจัดฝึกอบรมให้แก่ช่างในชุมชนที่อาศัยอยู่ในการเคหะฯ เพื่อให้บริการซ่อมแซมที่พักอาศัยในชุมชนได้ โดยจัดฝึกอบรมใน 4 สาขา ได้แก่ ช่างก่ออิฐ ช่างฉาบปูน ช่างปูกระเบื้อง และช่างผนังและฝ้าเพดาน ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง นำร่องจัดฝึกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร (สพร.13 กทม) จำนวน 80 คน ทั้งนี้ ผู้ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อเป็นการการันตีความสามารถ โดยผู้ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติจะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เช่น สาขาช่างก่ออิฐ ระดับ 1 จะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไม่ต่ำกว่าวันละ 380 บาท ระดับ 2 จะได้รับอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าวันละ 515 บาท ระดับ 3 จะได้รับอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าวันละ 645 บาท และ สาขาช่างฉาบปูน ระดับ 1 จะได้รับอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าวันละ 425 ระดับ 2 จะได้รับอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าวันละ 545 ระดับ 3 จะได้รับอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าวันละ 670 บาท เป็นต้น
“การบูรณาการความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล) ซึ่งกพร.ได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาแรงงานให้มีทักษะฝีมือและเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพสามารถมีรายได้พึ่งพาตนเอง เลี้ยงดูครอบครัวยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นชุมชนเข้มแข็งได้ ทั้งนี้ จะดำเนินการฝึกอบรมหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง สำหรับผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมสอบถามได้ที่ สพร.13 กทม. 0-2392-4790-4 หรือ สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” อธิบดีกพร. กล่าว
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ชลบุรี เปิดฝึกอบรมด้านหุ่นยนต์ ตลอดเดือนเมษายน ถึงมิถุนายน 2568 11 หลักสูตร นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันแรงงานที่มีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ เครื่องจักรกลยังขาดแคลนอยู่ แรงงานจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและยกระดับทักษะดังกล่าวโดยด่วนเพื่อรองรับยุคสมัยของเทคโนโลยีที่พัฒนาล้ำสมัยขึ้นทุกวัน นายเดชา กล่าวต่อไปว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึง
นักศึกษามทร.กรุงเทพคว้าเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมสาขาไม้เครื่องเรือน ในการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30
—
รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทค...
นักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานีคว้าเหรียญทอง การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 ระดับประเทศ
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้จัดการแข่งขันฝีมือแรงง...
โฮมโปร ร่วมสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 มุ่งยกระดับมาตรฐานแรงงานไทยสู่ระดับสากล
—
โฮมโปร ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน...
"พิพัฒน์" เปิดศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานด้าน EV สงขลา พร้อมดัน "เครดิตแบงค์" ยกระดับช่างซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า
—
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เดินหน้าพัฒ...
การเคหะแห่งชาติเดินหน้าชู "บ้านเอื้ออาทรเมืองใหม่บางพลี" ต้นแบบพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพผู้อยู่อาศัย ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
—
การเคหะแห่งชาติ ก...
กรมพัฒน์ จัดเต็ม คิกออฟ "อ่างทองโมเดล" เปิดศูนย์เรียนรู้ ปลูกเมล่อนไฮโดรฯ เพิ่มมูลค่าสินค้า หนุนเศรษฐกิจไทย
—
นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแร...
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ยกระดับทักษะพนักงานนวดและสปา มุ่งตอบโจทย์ตลาดต่างประเทศ
—
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรม-ทดสอบฯ พนักงานนวดและสปา การันตีฝีมือตอบโจทย์ตลาดต่า...
สจล. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มุ่งยกระดับฝีมือแรงงาน สอดคล้องความต้องการในอนาคต
—
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน...