บริษัท
เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (
สวทช.) และกลุ่ม
เมกเกอร์ในประเทศไทย ขอเชิญร่วมงาน "Maker Faire Bangkok 2020: The Future We Make" มหกรรมแสดงผลงานของสุดยอดเมกเกอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างวันที่ 18 – 19 มกราคม 2563 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 20.00 น. ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา ภายในงานจะได้พบกับบูธแสดงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม จากไอเดียความคิดของเหล่าเมกเกอร์ทั้งไทยและต่างประเทศที่ยกทัพมาให้ชมกันกว่า 60 บูธ อาทิ การแข่งขันรถจิ๋ว AI การประลองหุ่นเห่ย HEBOCON ดาบอัศวินเจได หุ่นยนต์แปลงร่าง และโดรนดำน้ำ เป็นต้น และพลาดไม่ได้!!! ขบวนอิเลคทริคพาเหรด ไฮไลท์สำคัญประจำงาน Maker Faire Bangkok ซึ่งหาชมจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว!! พร้อมชมผลงานของเยาวชนผู้เข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ในโครงการ Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 4 ภายใต้หัวข้อ "Social Innovations: นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน" ทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ และเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมเวิร์คช็อปอีกมากมายที่จะทำให้คุณได้เห็นถึงอนาคตที่ก้าวไกลของโลกใบนี้ไปพร้อมกัน เข้าชมฟรีตลอดงาน ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น!!
ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมของงาน Maker Faire Bangkok 2020 ได้ที่ www.makerfairebangkok.com และ https://www.facebook.com/makerfairebangkok
เกี่ยวกับโครงการ "Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต"
โครงการระยะยาว 5 ปี ด้วยงบประมาณรวมกว่า 1,000 ล้านบาท ที่บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ริเริ่มขึ้นในปี 2558 เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศไทย ผ่านการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม (STEM) รวมถึงการศึกษาสายอาชีพหรืออาชีวศึกษาครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ การศึกษา สังคม และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีสถาบันคีนันแห่งเอเซียเป็นผู้ดูแลโครงการ