นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงบทวิเคราะห์ Seeing is Believing ซึ่งจัดทำโดยนักเศรษฐศาสตร์ของ PwC ประเทศสหราชอาณาจักรว่า เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) มีศักยภาพที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้เติบโตถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2573 จากปัจจุบันที่ 4.64 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะทั้งเทคโนโลยีวีอาร์และเออาร์ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า ไปจนถึงช่วยเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงความปลอดภัยภายในสถานที่ทำงานด้วย
นอกจากนี้ เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทยังเป็นประโยชน์ต่อทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมศักยภาพของการฝึกอบรม และยังนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนให้คนสามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว จะส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจดูแลสุขภาพและค้าปลีก
นาย เจเรมี ดาลตัน หัวหน้าสายงานเทคโนโลยีความจริงเสมือนและความเป็นจริงเสริม PwC ประเทศสหราชณาจักร กล่าวว่า:
"ปัจจุบันภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคม กำลังอยู่ในช่วงเวลาสำคัญของการประยุกต์ใช้วีอาร์และเออาร์ เพราะในขณะที่เทคโนโลยีและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้ถูกพัฒนาไปมาก วีอาร์และเออาร์มีศักยภาพในการช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานขององค์กร ทำให้กระบวนการต่าง ๆ รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเสริมทักษะความรู้ให้แก่ผู้คน และสร้างประสบการณ์ผู้ใช้งานได้อย่างเหลือเชื่อด้วย"
ทั้งนี้ เมื่อศึกษาถึงข้อมูลเป็นรายประเทศ พบว่า:
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภท พบว่า เออาร์จะผลักดันให้จีดีพีโลกเติบโตมากที่สุดในปี 2573 หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่ารวมทั้งสิ้นที่ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
PwC ยังคาดการณ์ด้วยว่า วีอาร์และเออาร์จะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญในทศวรรษหน้า โดยปัจจุบันมีงานจำนวนน้อยกว่า 1 ล้านตำแหน่งที่ได้ผลกระทบจากเทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภท แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 23 ล้านตำแหน่งในปี 2573 โดยจะส่งผลกระทบมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนีนอกจากนี้ รายงานยังได้สำรวจตัวอย่างการใช้งานของเออาร์และวีอาร์ที่จะช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและกำลังผลิตด้วย ดังนี้
ธุรกิจต้องเริ่มนำวีอาร์-เออาร์มาใช้ประโยชน์
นายเจเรมี ดาลตัน กล่าวสรุปว่า:
"สำหรับองค์กรที่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะนำวีอาร์และเออาร์มาใช้กับธุรกิจอย่างไร ควรหันมาพิจารณาหลาย ๆ ตัวอย่างที่มีอยู่และนำเสนอไว้ในบทวิจัยนี้ ต้องเรียนว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการต้องคิดว่า จะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการปรับปรุงผลการดำเนินงานของตนอย่างไร หรือจะยอมเสี่ยงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
"องค์กรต้องมองข้ามเรื่องขั้นตอนของการพัฒนาซอฟต์แวร์และมุ่งเน้นไปที่การออกแบบโซลูชันในการแก้ปัญหาทางธุรกิจเฉพาะด้าน ซึ่งเราสามารถนำทั้งวีอาร์และเออาร์มาใช้เพื่อเร่งกระบวนการ ปรับปรุงความปลอดภัย ลดต้นทุน และเปิดประตูไปสู่ช่องทางการทำรายได้ใหม่ ๆ ได้
"ทั้งนี้ความเข้าใจและข้อเสนอแนะในเชิงบวกของโซลูชันทางด้านวีอาร์หรือเออาร์ จะขึ้นอยู่กับความสะดวกสบายและการนำไปใช้งาน ฉะนั้นการสร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อจะมีความสำคัญมาก องค์กรอาจจะเริ่มต้นด้วยการมีโปรแกรมนำร่องเล็ก ๆ เพื่อให้เห็นภาพของการใช้งานจริงของเทคโนโลยี จากนั้นติดตามผลโดยการเก็บข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป ซึ่งอาจเป็นเรื่องของการลงทุน หรือเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ไปในทิศทางอื่น หรือปรับเปลี่ยนไปใช้วิธีการอื่นโดยสิ้นเชิง ขอให้จำไว้ว่า ไม่มีคำว่าล้มเหลวตราบใดที่เราได้รับข้อมูลที่ดีขึ้น"
นางสาว วิไลพร กล่าวสรุปว่า "สำหรับประเทศไทย เราพบว่าลูกค้าในหลายอุตสาหกรรมมีการนำวีอาร์และเออาร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ โดยบางรายนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในงานที่มีความเสี่ยงสูง งานด้านการฝึกอบรม หรืองานทางด้านการแพทย์ อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า ขอบเขตของการประยุกต์ใช้ยังอยู่ในวงจำกัด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดเรื่องความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่รองรับ อย่างไรก็ดี หากเข้าสู่ยุค 5 จีที่อินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูง ทำให้การรับส่งและการประมวลผลข้อมูลเร็วขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า เราเชื่อว่า จะมีการนำเทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทมาใช้ในแวดวงธุรกิจไทยอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจค้าปลีก บันเทิง และเกม นี่เป็นกระแสที่เราต้องติดตามกันต่อไปในอนาคตอันใกล้ เพราะการเข้ามาของ 5 จีจะช่วยปลดล็อคศักยภาพของวีอาร์และเออาร์ไปอีกขั้นอย่างแน่นอน"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit