"ภายในงานประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ จัดฉายภาพยนตร์จากชาติในทวีปเอเชีย จัดประชุมสัมมนาด้านภาพยนตร์ มอบรางวัลด้านภาพยนตร์ และจัดเวทีเจรจาธุรกิจ เชื่อว่าการจัดเทศกาลภาพยนตร์เอเชียครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเท่านั้น แต่จะเกิดประโยชน์ต่อทุกประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย สร้างมิติใหม่แก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเอเชีย เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการรวมตัวของบุคลากร ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วเอเชียที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมอง ความรู้ ประสบการณ์ ที่สำคัญเป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในยุคดิจิตอลพัฒนาสร้างเนื้อหาผ่านโลกออนไลน์ ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เอเชียเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก" นายกฤษศญพงษ์ กล่าว
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า งานดังกล่าวถือเป็นการส่งเสริมงานด้านภาพยนตร์ระหว่างไทยและจีน ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมของประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) การผลักดันให้มีการเจรจาความร่วมมือเพื่อการร่วมลงทุนผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระดับทวิภาคีกับรัฐบาลจีนอย่างต่อเนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ผ่านมามีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมบูรณาการดำเนินกิจกรรม/โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมและเผยแพร่ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้วทั้งสิ้นจำนวน 13 กิจกรรม โดยมีการเจรจาธุรกิจ 1,663 ครั้ง สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 9,200 ล้านบาท