PwC ชี้องค์กรชั้นนำทั่วโลกแห่ใช้กลยุทธ์สร้างความไว้วางใจในข้อมูล

          PwC ชี้กระแสของการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การสร้างความไว้วางใจในข้อมูลขององค์กรชั้นนำทั่วโลก กำลังได้รับความนิยม โดยองค์กรที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำ มีการประเมินคุณค่าของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีทีมรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่มีส่วนร่วมในการประเมินข้อมูลลูกค้าก่อนนำไปใช้ แนะองค์กรไทยควรเอาอย่าง พร้อมเร่งจัดการข้อมูลของตนให้สอดรับกับข้อปฏิบัติที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมปีหน้า
          นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงรายงานล่าสุด Digital Trust Insights: Data Trust ที่ทำการวิเคราะห์บริษัทที่เรียกได้ว่า เป็นผู้นำในการสร้างความไว้วางใจในข้อมูล และให้คำเสนอแนะกับองค์กรอื่น ๆ ที่ต้องการปรับปรุงความสามารถในการสกัดคุณค่าของข้อมูลที่มีอยู่อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักจริยธรรมว่า ปัจจุบันองค์กรที่ไม่มีกระบวนการในการประเมินคุณค่าของข้อมูลอย่างเป็นทางการมีอยู่เป็นจำนวนน้อยเท่านั้น โดย 7กลยุทธ์% จากผู้ถูกสำรวจมากกว่า กฎหมาย,5วิไลพร ทวีลาภพันทองวิไลพร ทวีลาภพันทอง คนระบุว่า องค์กรของพวกเขามีกระบวนการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจากกลุ่มผู้ถูกสำรวจที่มีกระบวนการในการกำหนดคุณค่าให้กับข้อมูลอย่างเป็นทางการนี้พบว่า กฎหมาย7% มีการนำทีมงานที่ดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยรายงานเรียกองค์กรเหล่านี้ว่า เป็นผู้นำในการสร้างความไว้วางใจในข้อมูล (Data trust pacesetter)
          ความโดดเด่นของผู้นำในการสร้างความไว้วางใจในข้อมูล
          ทั้งนี้ ผลสำรวจ Digital Trust Insights พบว่า สิ่งหนึ่งที่ผู้นำในการสร้างความไว้วางใจในข้อมูลมีเหมือนกันคือ ความเชี่ยวชาญในการประเมินคุณค่าและใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงาน โดย 6การสร้าง% ขององค์กรในกลุ่มนี้ได้พัฒนาแผนสำหรับการใช้ข้อมูลเพื่อทำให้การปฏิบัติการดำเนินไปอย่างชาญฉลาดและรวดเร็วขึ้นเปรียบเทียบกับเพียง 46% ขององค์กรทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ องค์กรที่เป็นผู้นำเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะเห็นอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าถึง กฎหมาย เท่า (กลยุทธ์4%) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่เหลือ (7%)
          ปัจจัยอีกประการที่ทำให้องค์กรเหล่านี้มีความโดดเด่นคือ ความสามารถในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ เพราะเมื่อข้อมูลมีมากขึ้น แน่นอนว่า การมีกฎระเบียบข้อบังคับในการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลก็ย่อมมีมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งในประเด็นนี้ องค์กรที่เป็นผู้นำในการสร้างความไว้วางใจในข้อมูลมองว่าเป็น "โอกาส" มากกว่า "อุปสรรค" โดยพวกเขาสามารถสร้างความไว้วางใจภายในองค์กรและทำให้เกิดความมั่นใจว่า มีการรวมศูนย์ของข้อมูลซึ่งนำไปสู่การประสานงานร่วมกัน นอกจากนี้ มากกว่า กฎหมาย ใน 4 ขององค์กรกลุ่มผู้นำที่ถูกสำรวจกล่าวว่า กฎระเบียบยังช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย
ทำไม "ทีมรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล" ควรต้องมีส่วนร่วมในการประเมินข้อมูล
          คุณค่าข้อมูลของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ประวัติ การทำธุรกรรม ความชื่นชอบส่วนตัว และพฤติกรรม ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เป็นเจ้าของ และใช้ข้อมูลนั้น ๆ และจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการใช้งาน หรือสิ่งที่พวกเขาต้องการและสามารถทำได้
          ฉะนั้น การกำหนดคุณค่าของข้อมูล ถือเป็นวินัยที่สำคัญที่องค์กรต้องควรมี โดยการมีทีมรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลจะสามารถช่วยสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลขององค์กรได้ ทั้งนี้ การครอบครองและการใช้งานของข้อมูล ยังสร้างให้เกิดความรับผิดชอบที่ในทางกลับกันส่งผลกระทบต่อคุณค่าสูงสุดขององค์กรด้วย
          ในปัจจุบัน กฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ได้กำหนดให้องค์กรต้องมีวิธีการในการจัดการกับข้อมูล (ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการต้องปฏิบัติตาม) ข้อจำกัดในการใช้ข้อมูล (ซึ่งทำให้ศักยภาพในเชิงพาณิชย์ลดลง) และผลลัพธ์ที่ตามมาคือ การสูญเสียข้อมูล หรือเกิดการรั่วไหลของข้อมูลขึ้น (ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง)
คุณสมบัติ 5 ประการของผู้นำเทรนด์การสร้างความไว้วางใจในข้อมูล
          ผลสำรวจของ PwC พบว่า องค์กรผู้นำเทรนด์การสร้างความไว้วางใจในข้อมูลมีคุณสมบัติที่โดดเด่นจากคู่แข่งอย่างชัดเจนใน 5 ประการ ได้แก่
          การสร้าง. ดึงทีมรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินคุณค่าของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง การประยุกต์ใช้โซลูชันใหม่ที่ใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนบ่อยครั้งก่อให้เกิดช่องโหว่ใหม่ ๆ ดังนั้น การผนวกการบริหารความเสี่ยงเข้ากับการพัฒนาข้อมูลจะช่วยให้องค์กรที่เป็นผู้นำทางด้านการสร้างความไว้วางใจในการใช้ข้อมูลสามารถระบุถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและช่วยให้พวกเขาสามารถหาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติ
          กลยุทธ์. ประเมินคุณค่าของข้อมูลเป็นประจำ องค์กรที่เป็นผู้นำทางด้านการสร้างความไว้วางใจในการใช้ข้อมูลไม่เพียงแค่กำหนดคุณค่าของข้อมูล แต่ยังสร้างกระบวนการที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า คุณค่านั้น ๆ ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องทั่วทั้งชุดข้อมูล
          กฎหมาย. นำข้อปฏิบัติในการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรมมาใช้ องค์กรที่เป็นผู้นำทางด้านการใช้ข้อมูลเหล่านี้นำแนวทางการใช้ข้อมูลแบบเน้นคุณค่าของข้อมูลมาใช้ ซึ่งหมายถึงการเก็บเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นและกำจัดส่วนที่เหลือ โดยมีการกำหนดความรับผิดชอบทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่ามีการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรมอย่างแท้จริง
          4. ปฏิบัติตามข้อกำหนดและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิศวกรรมทางด้านข้อมูล องค์กรที่เป็นผู้นำด้านการสร้างความไว้วางใจในข้อมูลมีการสร้างเครื่องมือออกแบบที่ผสมผสานความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเข้าไว้ในระบบ สินค้า และบริการของตน ผู้นำเทรนด์เหล่านี้ยังสร้างแผนที่ข้อมูลสำหรับการประเมินความเสี่ยงและควบคุมการทดสอบ นอกจากนี้ ยังติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และประเมินระดับของการป้องกันที่เหมาะสม โดยมีการควบคุมบุคคลที่ กฎหมาย อย่างแข็งขัน เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่จำเป็นต่อการจัดการข้อมูลความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
          5. จัดตั้งทีมเพื่อประสานงานร่วมกันโดยให้อำนาจในการดำเนินการ องค์กรที่เป็นผู้นำทางด้านข้อมูลมีการสร้างทีมงานกำกับดูแลข้อมูลทั่วทุกสายงาน เพื่อทำความเข้าใจและพัฒนากระบวนการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรม โดยผู้นำกระแสการสร้างความไว้วางใจในข้อมูลนี้ จะนำผู้สร้างคุณค่า (ทางด้านธุรกิจ) และผู้ปกป้องคุณค่า (ให้รอดพ้นจากความเสี่ยงด้านไอที และความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์) มารวมกัน เพื่อพัฒนานโยบายและแนวปฏิบัติทางด้านข้อมูลที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า พนักงาน หน่วยงานกำกับดูแล รวมไปถึงตัวธุรกิจด้วย
          นางสาว วิไลพร กล่าวสรุปว่า "ปัจจุบันองค์กรไทยมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงตามมาคือ องค์กรส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนักถึงการมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ทั้งที่ในเดือนพฤษภาคมปีหน้า กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี เรามองว่า ยังไม่สายเกินไปที่หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จะหันมาวางแผนและมีวิธีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัท นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้าด้วยว่า ข้อมูลของพวกเขาที่ถูกบริษัทจัดเก็บจะมีความปลอดภัย ไม่มีการรั่วไหลจนเกิดเป็นความเสี่ยงและสร้างความเสียหายให้แก่ลูกค้าในภายหลัง"
PwC ชี้องค์กรชั้นนำทั่วโลกแห่ใช้กลยุทธ์สร้างความไว้วางใจในข้อมูล
 

ข่าววิไลพร ทวีลาภพันทอง+การสร้างวันนี้

DigitalCEO8 เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) โดย ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล นำคณะผู้อบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 8 จำนวน 82 คน เรียนรู้ผ่านองค์กรชั้นนำระดับโลก PwC Thailand นายพิสิฐ ทางธนกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC (ประเทศไทย) ให้เกียรติต้อนรับผู้อบรม ก่อนนำเข้าสู่การบรรยายพิเศษ "กรณีศึกษา PwC digital Transformation" โดยคุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) จำกัด และหัวข้อ

PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบ... PwC ประเทศไทย เผยโซลูชัน BaaS จิ๊กซอว์สำคัญพลิกโฉมระบบนิเวศทางการเงินของไทย — PwC ประเทศไทย เผยโซลูชันการธนาคารในรูปแบบบริการ หรือ BaaS จะเป็นส่วนสำคัญในก...

PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่ส... PwC ประเทศไทย ชี้ธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลไม่สำเร็จ — PwC ประเทศไทย เผยธนาคารไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้สำ...

PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปล... PwC แนะธุรกิจไทยวางกลยุทธ์ย้ายโครงสร้างไอทีดั้งเดิมสู่ระบบคลาวด์ — PwC ประเทศไทย แนะธุรกิจวางกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบดั้งเดิมสู่...

PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thai... PwC ประเทศไทย คว้ารางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2565 — PwC ประเทศไทย ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner of the Year ประจำปี 2...