วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมการฝึก “COBRA GOLD 2วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย2วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย การฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย (HADR DEMO)” เพื่อประโยชน์ต่อประชาคมและความปลอดภัยของประชาชนในภูมิภาค
ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า การฝึกคอบร้าโกลด์ (Cobra Gold 2020) นับเป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโด – แปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ เป็นครั้งที่ 39 ในการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR DEMO) แบ่งเป็น 3 ฐาน คือ สถานีฝึกดินโคลนถล่ม สถานีฝึกตึกถล่ม สถานีน้ำท่วม โดย วสท. มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการฝึก (EXCON) สถานีฝึกดินโคลนถล่ม (Landslide Station) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึก พัฒนาขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธร่วม-ผสมประยุกต์ใช้กำลังรบในสถานการณ์วิกฤตต่างๆ รวมทั้งการฝึกใช้ระเบียบปฏิบัติประจำกองกำลังผสมนานาชาติและฝ่ายพลเรือน เพื่อให้นานาประเทศมีความเข้าใจตรงกันและมีความพร้อมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหากสถานการณ์สาธารณภัยเกิดขึ้นจริง
นายสิทธิโชค เหลาโชติ ประธาน วสท. สาขาภาคตะวันตก กล่าวว่า ในการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งนี้จัดขึ้นที่ศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศเข้าร่วมการฝึก แบ่งเป็นฝ่ายทหารจำนวน 7 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย จีน และมาเลเซีย ส่วนฝ่ายพลเรือนจากเครือข่ายภาคี หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมจาก 28 หน่วยงาน นับว่าประสบผลสำเร็จด้วยดีจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ในการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย
หนึ่งในกิจกรรมการฝึกของประเทศไทยที่สร้างความประทับใจให้แก่ทหารนานาชาติและผู้ที่เข้าร่วมโครงการ HADR DEMO เป็นอย่างมาก คือการนำ “สุนัขกู้ภัย” และ “ช้างกู้ภัย” ของมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มาเข้าร่วมการฝึกช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้วยการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างลงตัว ช้างกู้ภัย ที่ได้รับการฝึกฝนจะเป็นทีมแรกที่เข้าทำการเคลียร์พื้นที่ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา ทุรกันดาร หรือยากต่อการเข้าถึงด้วยรถยนต์ ช้างกู้ภัยที่ได้รับการฝึกจึงเปรียบเสมือนเครื่องจักรและยานพาหนะที่สามารถเดินไปในเส้นทางที่มีความยากลำบาก และมีอุปสรรคขวางกั้นได้ดี โดยช้างกู้ภัย 1 ทีมจะประกอบด้วย 1. คนเดินนำช้าง 2 คน ทำหน้าที่ดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการลากจูงหรือจัดการสิ่งที่กีดขวาง รวมถึงการตรวจสอบเส้นทางให้ช้างเดินได้อย่างปลอดภัย 2. จตุลังคบาท ทั้ง 4 คน คอยดูแลและระวังเท้าช้าง 3. ควาญช้าง ผู้ที่นั่งบนคอช้างคอยทำหน้าที่ควบคุมออกคำสั่งช้าง และ4. ตำแหน่งท้ายช้าง เป็นผู้ช่วยระวังด้านหลังช้าง และช่วยลำเลียงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นบนหลังช้าง เนื่องจากสุนัขนั้นมีประสาทการรับรู้กลิ่นได้ดีและสามารถเข้าถึงพื้นที่แคบได้เร็วกว่ามนุษย์ เมื่อพบผู้ประสบภัยสุนัขจะเห่าเพื่อส่งสัญญาณระบุถึงตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ จึงถูกนำมาใช้ในปฏิบัติการร่วมกับทีมค้นหาเมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น ตึกถล่ม แผ่นดินไหว หรือดินโคลนถล่ม ฯลฯ รวมทั้งการค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่กว้าง ยิ่งการช่วยเหลือเป็นไปอย่างรวดเร็ว ก็จะสามารถเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้มากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ยังได้รับมอบหมายให้ออกแบบพัฒนาโครงสร้างอุปกรณ์กู้ภัยและลำเลียงผู้ประสบภัยบนหลังช้างให้มีความเหมาะสมและถูกต้องตามห ลักวิศวกรรมศาสตร์ด้วย ซึ่งแต่เดิมจะใช้เป็นโครงสร้างที่ทำจากเหล็ก มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ช้างได้ ทั้งนี้เพื่อให้การเคลื่อนย้ายอพยพผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยสูงสุด
สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ หรือ MOU กับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สภาวิศวกร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล ประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ (คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม) คนขวา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ วีระศิรินายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ
สภาวิศวกร จับมือ วสท. และ สควท. ลงนามวิชาการ มุ่งพัฒนาทักษะวิศวกรไทยตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม
—
รศ. ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกรสมัยที่ 7 (คนที่ ...
"สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข STI" สวมหมวกคอลัมนิสต์ "คลินิกช่าง" รับมอบโล่ขอบคุณจาก วสท.
—
นายสมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข กรรมการบริหาร บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำ...
SYS ร่วมจัดแสดงสินค้าในงาน "วิศวกรรมแห่งชาติ 2563"
—
บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS ผู้ผลิตเหล็กเอชบีม ไวด์แฟรงค์ มานานมากกว่า 25 ปี โดย นายสยมภู...
กลุ่มสโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2563
—
นายสมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข (ซ้าย) กรรมการบริหาร บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์...
"กลุ่มสโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์" จัดอบรมหลักสูตรพิเศษ ผลักดันบุคลากรสู่มืออาชีพ ขอรับระดับภาคีวิศกรพิเศษ และสามัญวิศวกรโยธา
—
ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถาน...
วสท. ผนึกพลัง 21 องค์กร หนุนมาตรการทดแทนปูนเม็ดในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย...มุ่งลดก๊าซเรือนกระจก
—
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดย ดร...
เหล็กสยามยามาโตะ หรือ SYS สนับสนุนโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปอาคารวิศวกรรมสถานอุปถัมภ์ 5
—
นายเฉลิมเกียรติ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการธุรกิจสินค้าและบริการคร...
วสท. พบรอยร้าวสะพานถล่มจ.น่าน อันตรายให้เร่งเสริมความแข็งแรงโครงสร้างก่อนวางตัวสะพานใหม่
—
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นำโดย ดร.ธเ...
APP-วสท.เซ็น MOU ผนึกความร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
—
บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) หรือ APP โดย นายสมศักดิ์ วรรักษา (ที่2 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่าย...