แคสเปอร์สกี้ประกาศรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำปี 2019 ซึ่งเป็นรายงานข้อมูลวิเคราะห์เรื่องการโจมตีผ่านเว็บ ภัยคุกคามทั่วไป และแหล่งที่มาของภัยคุกคาม รายงานเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามผู้ใช้ในประเทศไทยได้มากกว่า 20.9 ล้านรายการ
จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network หรือ KSN พบว่าในปี 2019 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดกั้นภัยไซเบอร์ผ่านเว็บที่คุกคามคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในประเทศไทยได้ทั้งสิ้น 20,997,053 รายการ คิดเป็นผู้ใช้จำนวน 29.1% ที่โดนโจมตีโดยภัยคุกคามผ่านเว็บ ทำให้ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 92 ของโลกที่โดนโจมตีขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จัดอยู่ในอันดับที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ฟิลิปปินส์อันดับที่ 4 มาเลเซียอันดับที่ 13 เวียดนามอันดับที่ 17 อินโดนีเซียอันดับที่ 39 และสิงคโปร์อันดับที่ 156
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการตรวจจับการโจมตีผ่านเว็บของผู้ใช้ทั่วไปกับผู้ใช้องค์กร พบว่า ในปี 2019 ประเทศไทยมีตัวเลขการตรวจจับการโจมตีผู้ใช้ทั่วไปผ่านผลิตภัณฑ์คอมซูมเมอร์ 5,670,000 ครั้ง สูงสุดเป็นอันดับที่ 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้ใช้องค์กรผ่านผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กร 840,000 ครั้ง สูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ของภูมิภาคนี้
นายโย เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ภาพรวมปี 2019 ของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีลักษณะที่เหมือนกับภาพรวมทั่วโลก คือมีการเพิ่มจำนวนเว็บไมเนอร์ในช่วงต้นปี จากนั้นก็ลดลง และตัวเลขสกิมเมอร์เพิ่มขึ้น โดยรวมแล้วการมีสุขภาวะทางไซเบอร์ หรือ cyber hygiene ที่ดียังเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรให้ความสำคัญเมื่อต้องออนไลน์ เพื่อป้องกันการโจมตีที่อาจเกิดกับตัวเองและธุรกิจ”
“ผู้ใช้ต้องตระหนักว่า ภัยคุกคามทางเว็บนั้นไม่ใช่กระทบต่อผู้ใช้ทั่วไปเท่าไป อาชญากรไซเบอร์ต้องการเพียงแค่คลิกเดียวของพนักงานในองค์กรเพื่อไปยังเว็บอันตรายหรือดาวน์โหลดมัลแวร์ที่ซุกซ่อนอยู่ไฟล์ องค์กรจึงจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พนักงาน สร้างระบบการรักษาความปลอดภัยองค์กรและคลังข้อมูลภัยคุกคามอัจฉริยะ เพื่อเป็นเกราะป้องกันองค์กรจากภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนได้” นายโยกล่าวเสริม
5 อันดับการโจมตีผ่านเว็บสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตัวเลขสถิติปี 2019 ของประเทศไทยที่น่าสนใจ
ภัยคุกคามผ่านเว็บ
ภัยคุกคามทั่วไป
แหล่งที่มาของภัยคุกคาม
ข้อมูลนี้ แคสเปอร์สกี้ได้รับจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ที่อนุญาตให้ KSN ด้วยความสมัครใจ ผู้ใช้จำนวนหลายล้านคนจากทั่วโลกได้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวิเคราะห์กิจกรรมมุ่งร้ายทางไซเบอร์
ตลอดปี 2024 แคสเปอร์สกี้ได้เข้าร่วมการทดสอบและรีวิวอิสระจำนวน 95 ครั้ง โดยผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ได้รับรางวัลอันดับ 1 จำนวน 91 ครั้งและได้รับรางวัล TOP3 จำนวน 92 ครั้ง ทำให้แคสเปอร์สกี้มีผลงานสูงสุดในบรรดาคู่แข่งทั้งหมดเป็นครั้งที่ 12 ติดต่อกัน แคสเปอร์สกี้ผ่านการทดสอบ 1,000 ครั้งนับตั้งแต่เริ่มติดตามประสิทธิภาพ TOP3 ปี 2013 2024และทำสถิติคะแนนรวมของตำแหน่ง TOP3 ด้วยคะแนน 97% ตัวชี้วัด TOP3 สะท้อนถึงความสำเร็จของผู้จำหน่ายในการทดสอบเปรียบเทียบอิสระภายในหนึ่งปีปฏิทิน
แคสเปอร์สกี้ระบุ ปี 2024 จำนวนเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้ก่อเหตุโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 125.91%
—
รายงานความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุดประจำปี 2024 ระบุว่าผลิ...
สถิติแคสเปอร์สกี้ ปี 2024 ไทยพบภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน
—
รายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ประจำปีล่าสุดสำหรับประเทศไทยปี 2024 ระบุว่าผลิตภัณฑ...
Kaspersky และ TSplus ลงนามความร่วมมือสร้างโซลูชัน Cyber Immune สำหรับการทำงานระยะไกล
—
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก แ...
Kaspersky ร่วมงาน GITEX Asia 2025 ในฐานะพันธมิตรด้านภูมิคุ้มกันไซเบอร์
—
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดตัวในฐานะพันธมิตรด้านภูมิคุ้มกันไซเบอร์รายแรก (Cyber...
กระแสรูปภาพสร้างโดย AI: แคสเปอร์สกี้เสนอตระหนักรู้คู่ความปลอดภัย
—
นายวลาดิสลาฟ ทุชคานอฟ ผู้จัดการกลุ่ม Kaspersky AI Technology Research Center กล่าวถึงกร...
บริษัทวิจัยตลาดระบุ Kaspersky โดดเด่นในตลาดความปลอดภัยไซเบอร์ของ OT
—
แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ได้รับการยอมรับจาก VDC Research ว่าเป็นบริษัทที่สามารถสร้าง...
แคสเปอร์สกี้เผย ธุรกิจอาเซียนถูกโจมตีด้วยฟิชชิงมากกว่า 5 แสนครั้งในปี 2024 - ไทยอันดับหนึ่ง 2.4 แสน
—
แคสเปอร์สกี้ บริษัทระดับโลกด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์...
Kaspersky รายงานการขโมยข้อมูลธนาคารบนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 3 เท่าในปี 2024
—
ในปี 2024 จำนวนการโจมตีด้วยโทรจันแบงเกอร์บนสมาร์ทโฟนพุ่งสูงขึ้น 196% เมื่อเทียบก...
Kaspersky เผย มัลแวร์ขโมยข้อมูลบัตรธนาคาร ปล่อยรั่วไหล 2.3 ล้านใบ
—
รายงาน Kaspersky Digital Footprint Intelligence เปิดเผยการประมาณการว่าตั้งแต่ปี 2023-2...