หลังจากเปิดตัวเวเฟอร์แบบโดปด้วยแกลเลียมแก่บริษัททั่วโลกไปเมื่อไม่นานมานี้
JA Solar ได้กลายมาเป็นบริษัทแห่งแรกในโลกที่สามารถผลิตเซลล์และโมดูล
Mono PERC แบบ MBB ประสิทธิภาพสูงปริมาณมากโดยใช้เวเฟอร์แบบโดปด้วยแกลเลียมได้
JA Solar ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงชั้นนำระดับโลก ประกาศว่า สายการผลิตเซลล์ Mono PERC แบบ MBB และโมดูลที่เกี่ยวข้อง สามารถเปลี่ยนไปผลิตโมดูลและเซลล์ที่ใช้เวเฟอร์ซิลิคอนโดปด้วยแกลเลียมได้แล้ว การผสมเทคโนโลยี PERC-SE เข้ากับเวเฟอร์ขนาดใหญ่นี้ จะช่วยให้เทคโนโลยีการโดปด้วยแกลเลียมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเซลล์และโมดูลได้อย่างต่อเนื่อง
ในปี 2562 บริษัท Shin-Etsu Chemical อนุญาตให้ JA Solar ใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา
ในการใช้เวเฟอร์ซิลิคอนโดปด้วยแกลเลียมสำหรับการทำโซลาร์เซลล์ ซึ่งปูทางให้ JA Solar สามารถใช้เวเฟอร์โดปด้วยแกลเลียมได้ทั่วโลก
และการนำเอาเวเฟอร์ซิลิคอนโดปด้วยแกลเลียมมาประยุกต์ใช้กับโซลาร์เซลล์นี้ก็ได้เข้าไปช่วยลดผลกระทบของการเสื่อมสภาพเพราะแสง
(LID) ในเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่ยังรักษาประสิทธิภาพของโมดูลแสงอาทิตย์ให้สอดคล้องกับเวเฟอร์ซิลิคอนแบบเดิมเอาไว้
เทคโนโลยีเวเฟอร์ซิลิคอนโดปด้วยแกลเลียม
ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในด้านการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ให้ความเสถียรขึ้นอย่างมาก จึงทำให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะได้รับประโยชน์ระยะยาว
คุณจิน เป๋าฟาง ประธานคณะกรรมการบริษัทและซีอีโอของ JA Solar กล่าวว่า “JA Solar มุ่งมั่นที่จะสร้างความตระหนักและความเคารพในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการวิจัยและนวัตกรรมไปพร้อม ๆ กัน เราได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยของบริษัทอื่น ๆ มาใช้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ของเรา ตัวอย่างเช่น การประยุกต์ใช้เวเฟอร์โดปด้วยแกลเลียมในการผลิตเซลล์และโมดูล mono PERC แบบ MBB ในครั้งนี้ ซึ่งได้ช่วยให้เราสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์โซลาร์ที่ดีกว่าให้กับลูกค้าทั่วโลกและสร้างรายได้จากไฟฟ้าจากสายส่ง (Grid Parity)”
บริษัท ลอนจี กรีน เอเนอร์จี เทคโนโลยี จำกัด (LONGi Green Energy Technology Co., Ltd) บริษัทเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำระดับโลก ประกาศว่า บริษัทได้สร้างสถิติใหม่ของโลกด้วยการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน-เพอรอฟสไกต์ (Crystalline Silicon-Perovskite Tandem Solar Cell) ที่มีค่าประสิทธิภาพ 33.9% ทำลายสถิติโลกก่อนหน้านี้ที่ระดับ 33.7% ซึ่งทำไว้โดยมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคิงอับดุลลาห์ (KAUST) เมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้ รายงานการรับรองล่าสุดของห้องปฏิบัติการพลังงานหมุนเวียน
เอวอร์นิค ขยายเครือข่ายผลิตเปอร์ออกไซด์ ด้วยการเข้าซื้อหุ้น TPL - บริษัท ไทยเปอร์อ๊อกไซด์ จำกัด ทั้งหมด
—
การเข้าซื้อหุ้น 50% จากบริษัท Aditya Birla Group...
GPSC คว้ารางวัล Thailand Energy Awards 2023 โครงการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน เซลล์แสงอาทิตย์-ดีเซล สำหรับ รพ. สต. บ้านแม่หลองหลวง
—
คุณปริญดา มาอิ่มใจ รักษา...
เจเอ โซลาร์ ได้คะแนน 100% ในการสำรวจความมั่นคงทางการเงินของแบรนด์โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์โดยบีเอ็นอีเอฟ ประจำปี 2566
—
ในการสำรวจความมั่นคงทางการเงินของผู้ผลิ...
"ซันโกร" ร่วมกับ วสท. พัฒนาตลาดพลังงานหมุนเวียนไทยอย่างมั่นคงและปลอดภัย
—
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซันโกร (Sungrow) ผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์เซลล์แสงอาทิตย์ (PV) และระบ...
"รูเนอร์จี" ได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้ผลิตโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ระดับ 1 โดยบลูมเบิร์กเอ็นอีเอฟ
—
รูเนอร์จี (Runergy) บรรลุความสำเร็จครั้งสำคัญหลังถูกจัดให...
เจเอ โซลาร์ เผยโมดูลเอ็นไทป์ผ่านการประเมิน EPD ในนอร์เวย์และอิตาลี
—
เจเอ โซลาร์ (JA Solar) ผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูงชั้นนำ ได้รับการยกย่องจากค...